สัมพันธไมตรี!! กองทัพเรือไทย จับมือ กองทัพเรือสหรัฐฯ ร่วม..ซ้อมรบทางทะเล ในการฝึกผสม CARAT 2017 ไทย-สหรัฐฯ !!

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

สัมพันธไมตรี!! กองทัพเรือไทย จับมือ กองทัพเรือสหรัฐฯ ร่วม..ซ้อมรบทางทะเล ในการฝึกผสม CARAT 2017 ไทย-สหรัฐฯ !!

           กองอำนวยการฝึกผสม CARAT 2017 ทำการฝึกในทะเล โดยมี น.อ.พิชัย ล้อชูสกุล รองผู้บัญชาการกองเรือฟริเกตที่ 2 กองเรือยุทธการ เป็นผู้บังคับหมู่เรือฝึกฯ ทำการฝึก เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความชำนาญ และขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางยุทธวิธี เทคนิคและการเรียนรู้การใช้อาวุธสมัยใหม่ของกองทัพเรือสหรัฐฯ

          รวมทั้งพัฒนาหลักนิยมที่ใช้ในการรบตามสาขาปฏิบัติการทางเรือจากการฝึกเพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาองค์บุคคล และองค์วัตถุต่อไป รวมทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ และความเข้าใจในการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างกองทัพเรือไทยและสหรัฐฯให้เพิ่มมากขึ้น

 

สัมพันธไมตรี!! กองทัพเรือไทย จับมือ กองทัพเรือสหรัฐฯ ร่วม..ซ้อมรบทางทะเล ในการฝึกผสม CARAT 2017 ไทย-สหรัฐฯ !!

          สำหรับเรือหลวงนเรศวรทภายหลังจากที่ได้ติดตั้งระบบอำนวยการรบ , อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ (Evolved SeaSparrow Missile) แล้วเสร็จเมื่อเดือนตุลาคม 2558 มีความพร้อมในการปฏิบัติราชการ ได้รับภารกิจอย่างต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณ 2560 ได้รับภารกิจทัพเรือภาคที่ 1 , ฝึกกองทัพเรือประจำปี 2560 , สวนสนามในกิจกรรมนิทรรศการทางเรือนานาชาติ ณ ประเทศสิงคโปร์ (IMDEX) , การฝึก Guardian Sea 2017 พื้นที่ทะเลอันดามัน และ การฝึก CARAT 2017 นับเป็นเรือที่มีความพร้อมในการปฏิบัติราชการ และการรบสามมิติ รวมถึงเรือหลวงสุโขทัยที่มีอายุ 32 ปี แต่ยังมีความพร้อมในการปฏิบัติราชการ โดยได้รับภารกิจอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับเรือหลวงนเรศวรอีกด้วย

สัมพันธไมตรี!! กองทัพเรือไทย จับมือ กองทัพเรือสหรัฐฯ ร่วม..ซ้อมรบทางทะเล ในการฝึกผสม CARAT 2017 ไทย-สหรัฐฯ !!

           การฝึกที่สำคัญประกอบด้วย การฝึกปราบเรือดำน้ำด้วยเป้า EMATT , การฝึกการโจมตีเรือผิวน้ำ , การฝึกป้องกันภัยทางอากาศ , การฝึกยิงอาวุธในทะเล , การฝึกแปรกระบวน , การฝึกถ่ายภาพกระบวนเรือ , การฝึกแล่นขนานในทะเล , การฝึกประลองยุทธ์แบ่งฝ่าย ,การฝึกตรวจค้นในทะเล และการฝึกเปิดบรรณสาร

กำลังที่ร่วมฝึกประกอบด้วยฝ่ายไทย ประกอบด้วย
- เรือฟริเกต 1 ลำ คือ เรือหลวงนเรศวร
- เรือคอร์เวต 1 ลำ คือ เรือหลวงสุโขทัย 
 - เรือยกพลขึ้นบก 1 ลำ คือ เรือหลวงอ่างทอง
- เรือเร็วโจมตีอาวุธปล่อยนำวิถี 1 ลำ คือ เรือหลวงราชฤทธิ์
- เรือตรวจการณ์ปืน 1 ลำ คือ เรือหลวงเทพา
- เครื่องบินตรวจการณ์ 1 ลำ (DO-228)

ฝ่ายสหรัฐฯ ประกอบด้วย
- เรือโจมตีชายฝั่ง USS Coronado (LCS-4)
- เครื่องบิน P-3C Orion
- เฮลิคอปเตอร์ 1 ลำ (MH-60 R/S)
รายละเอียดการฝึกในทะเล
การจัดรูปกระบวนป้องกันเรือดำน้ำ (SCREENEX)
          วัตถุประสงค์ เพื่อฝึกการวางแผนการป้องกันภัยจากเรือดำน้ำ ในกรณีที่ต้องคุ้มกันกระบวนเรือผ่านพื้นที่ที่คาดว่าจะมีเรือดำน้ำซ่อนตัวอยู่ โดยจะทำให้เพิ่มทักษะความชำนาญเรื่องการนำเรือตามรูปกระบวน และการใช้อุปกรณ์เพื่อตรวจจับสัญญาณใต้น้ำที่คาดว่าจะเป็นภัยคุกคามต่างๆ การเรียนรู้แนวคิด และวิธีการปฏิบัติจากกองทัพเรือสหรัฐฯ การฝึกปฏิบัติ จะให้เรือที่มีความสามารถในการตรวจจับเสียงใต้น้ำได้ในระยะไกล อยู่ทางด้านหน้ากระบวนเรือ (เรือหลวงนเรศวร) และจะให้เรือที่มีขีดความสามารถในการตรวจจับรองลงมาป้องกันทางด้านขวา (USS CORONADO) และซ้ายของกระบวนเรือ (เรือหลวงสุโขทัย) โดยจะให้ครอบคลุมพื้นที่โดยรอบของเรือหรือ กระบวนเรือที่ต้องการจะคุ้มกัน (เรือหลวงอ่างทอง) โดยเรือคุ้มกันกระบวนเรือทุกลำ

 

สัมพันธไมตรี!! กองทัพเรือไทย จับมือ กองทัพเรือสหรัฐฯ ร่วม..ซ้อมรบทางทะเล ในการฝึกผสม CARAT 2017 ไทย-สหรัฐฯ !!

         การฝึกป้องกันภัยทางอากาศ (ADEX : Air Defence Exercise) เพื่อฝึกการตรวจจับเป้าอากาศยาน และ สามารถแยกแยะเป้าหมายได้ว่า เป้าหมายใดที่คาดว่าจะเป็นภัยคุกคามทางอากาศ ฝึกการจำลองการใช้อาวุธต่อเป้าหมายที่คาดว่าจะเป็นภัยคุกคาม โดยใช้การแลกเปลี่ยนค่าเป้าอากาศยานระหว่างเรือแต่ละลำ เพื่อช่วยพิสูจน์/ตรวจสอบอย่างแน่ชัดว่าเป็นข้าศึก แล้วจึงจำลองการใช้อาวุธเข้าโจมตี
การฝึก รับ – ส่ง อากาศยาน กลางวัน และ กลางคืน(DLQ / NDLQ : Deck Landing Qualify/Night Deck Landing Qualify)

 

สัมพันธไมตรี!! กองทัพเรือไทย จับมือ กองทัพเรือสหรัฐฯ ร่วม..ซ้อมรบทางทะเล ในการฝึกผสม CARAT 2017 ไทย-สหรัฐฯ !!

         การฝึกนี้ กองทัพเรือสหรัฐฯ นำเฮลิคอปเตอร์แบบ MH-60 R/S และ กองทัพเรือไทยนำเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ ครื่อง ฮ.S – 70B เข้าร่วมการฝึกนี้ เพื่อเพิ่มพูนทักษะ/ประสบการณ์ให้กับนักบิน ในการปฏิบัติภารกิจร่วมกับหน่วยเรือในทางทะเล การปฏิบัติ/การติดต่อสื่อสารร่วมกับกองทัพเรือสหรัฐฯ ซึ่งการลงจอดบนดาดฟ้าเฮลิคอปเตอร์อยู่ท้ายเรือ นักบินต้องมีความชำนาญมากกว่าปกติ เนื่องจากสภาพคลื่นลม ทำให้ยากในการนำเครื่องลงจอด ทั้งนี้นักบิน และเจ้าหน้าที่ของหน่วยเรือ ต้องมีความเข้าใจกัน เพื่อลดข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด โดยเฉพาะการขึ้น - ลง จอดในเวลากลางคืนยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น

สัมพันธไมตรี!! กองทัพเรือไทย จับมือ กองทัพเรือสหรัฐฯ ร่วม..ซ้อมรบทางทะเล ในการฝึกผสม CARAT 2017 ไทย-สหรัฐฯ !!

            การฝึกแปรกระบวนทางยุทธวิธี (DIVTAC : Division Tactic) เป็นการแปรกระบวนเรือในรูปแบบต่างๆ ที่ใช้ในการฝึก และทางยุทธวิธี ด้วยเรือที่ประกอบกำลัง โดยมีฝึกการสื่อสารทั้งทางทางวิทยุควบคู่กับทางทัศนสัญญาณ ให้เกิดความชำนาญ ความเข้าใจที่ตรงกัน เนื่องจากการติดต่อสื่อสารกันกลางทะเลมีอุปสรรคจากสภาพอากาศ และคลื่นลม เพื่อลดข้อจำกัดนี้ จึงใช้รูปแบบคำสั่งการที่ถูกกำหนดขึ้นมาเป็นบรรณสารกลางสำหรับใช้ในการติดต่อสื่อสารที่เป็นสากลระหว่างกองทัพเรือเพื่อให้เรือทุกลำทราบและเข้าใจทันทีเมื่อสั่งปฏิบัติ เป็นกาลลดขั้นตอน และเวลาในการปฏิบัติ แทนการใช้ข้อความยาวๆ ในการสั่งการตาม อีกทั้งเป็นการวัดขีดความสามารถของการนำเรือในการแปรกระบวนของเรือแต่ละลำอีกด้วย ซึ่งการแปรกระบวนทางเรือจะมีรูปแบบที่หลากหลาย

            โดยมีวัตถุประสงค์ในแต่ละรูปกระบวน ทั้งนี้ขณะแปรกระบวนจะเกิดภาพที่แสดงออกถึงความมีวินัย ความสง่างาม และความสวยงาม จึงมีการบันทึกภาพกระบวนเรือ (Photo Exercise) ขณะทำการฝึกไปด้วยโดยกองทัพเรือสหรัฐฯ ส่งเฮลิคอปเตอร์บันทึกภาพขณะทำการฝึกแปรกระบวนในรูปแบบต่างๆ การยิงปืนใหญ่เรือต่อเป้าลอยน้ำ (GUNEX : Gunner Exercise) on killer tomatoเป็นการฝึกยิงปืนใหญ่เรือต่อเป้าจำลอง ซึ่งมีลักษณะเป็นลูกโป่งสีแดงขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายผลของมะเขือเทศสุก ซึ่งติดแผ่นสะท้อนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อให้เรดาร์สามารถตรวจจับได้ โดยเป้าจำลองจะถูกปล่อยจาก USS CORONADO และใช้เป็นเป้ายิงด้วยปืนเรือในระยะต่างๆ

 

สัมพันธไมตรี!! กองทัพเรือไทย จับมือ กองทัพเรือสหรัฐฯ ร่วม..ซ้อมรบทางทะเล ในการฝึกผสม CARAT 2017 ไทย-สหรัฐฯ !!

           การฝึกตรวจค้นในทะเล (VBSS : Vessel Boarding search and seizure)
เป็นการจำลองสถานการณ์ขึ้นตรวจค้นเรือต้องสงสัย โดยจะเป็นการฝึกร่วมระหว่างชุดตรวจคันของทั้งสองฝ่าย เพื่อเพิ่มทักษะและแลกเปลี่ยนความรู้ ในการปฏิบัติ ตั้งแต่ขั้นการเตรียมการวางแผน จนถึงขึ้นตอนการปฏิบัติ เป็นการเพิ่มทักษะให้กับกำลังพล และ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ตามสถานการณ์ เช่นการตรวจค้นเรือสินค้า , เรือประมงต้องสงสัย ซึ่งจะมีรายละเอียดในการปฏิบัติที่แตกต่างกัน

EMATTEX การฝึกปราบเรือดำน้ำด้วยเป้า EMATTเป็นการฝึกการตรวจจับเรือดำน้ำ โดยการใช้เป้า EMATT ซึ่งมีรูปแบบการเดินทางใต้น้ำในรูปแบบต่างๆ โดยเป้า EMATT จะมีทั้งโหมด PASSIVE และ โหมด ACTIVE ทำให้เราสามารถฝึกการตรวจจับเสียงใต้น้ำได้หลายลักษณะ

           และเป็นการทดสอบสมรรถภาพ ของอุปกรณ์ตรวจจับเสียงใต้น้ำว่าสามารถตรวจจับได้ระยะเท่าใด ในสภาพอากาศ และ คลื่นลมในช่วงทำการฝึก ซึ่งค่าที่ได้สามารถเก็บบันทึกไว้เป็นข้อมูลในการฝึก และสามารถนำไปใช้ได้ต่อไป ทั้งการวางแผนวางสกัดกั้นเรือดำน้ำของข้าศึก หรือ การวางแผนการใช้เรือดำน้ำของเราเองที่จะมีในอนาคต ซึ่งการฝึกร่วมกับ USS CORONADO ทำให้เราทราบถึงขีดความสามารถในการลดการเกิดเสียงจากเครื่องยนต์ที่เป็น WATER JET ยากต่อการแยกแยะว่าเป็นเรือชนิดใด ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้จากการฝึกเป็นอย่างดี

 

ที่มาจาก : Wassana Nanuam