๓ ก.ค. วันคล้ายวันประสูติ “พระนางเธอลักษมีลาวัณ” พระมเหสีในรัชกาลที่๖ ผู้ถูกลอบปลงพระชนม์!! ย้อนรอยคดีสะเทือนขวัญ การฆาตกรรมภายในพระตำหนัก

www.tnews.co.th

พระนางเธอลักษมีลาวัณ (3 กรกฎาคม พ.ศ. 244229 สิงหาคม พ.ศ. 2504) มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าวรรณพิมล วรวรรณ เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ กับหม่อมหลวงตาด วรวรรณ (สกุลเดิม มนตรีกุล)

พระองค์ได้รับการศึกษาและมีวิถีชีวิตเยี่ยงสตรีสมัยใหม่ ทรงมีความคิดอ่านอิสระเสรี ซึ่งพระบิดา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เป็นผู้ที่มีความสามารถ มีความรู้และความคิดที่กว้างไกลทันสมัย แม้กระทั่งการอบรมเลี้ยงดูพระโอรส-ธิดา ก็ทรงให้ได้รับการศึกษาสมัยใหม่ ไม่เข้มงวดดังการประพฤติปฏิบัติอย่างกุลสตรีโบราณ  ทำให้เหล่าพระธิดาในกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์มีความคิดเห็นกว้างขวาง และกล้าที่จะแสดงออกในวัตรปฏิบัติผิดแผกแตกต่างไปสตรีส่วนใหญ่ในสมัยนั้นที่อยู่ในกรอบของม่านประเพณีโบราณ

๓ ก.ค. วันคล้ายวันประสูติ “พระนางเธอลักษมีลาวัณ” พระมเหสีในรัชกาลที่๖ ผู้ถูกลอบปลงพระชนม์!! ย้อนรอยคดีสะเทือนขวัญ การฆาตกรรมภายในพระตำหนัก

หม่อมเจ้าวรรณพิมลทรงเปิดพระองค์อยู่ในสังคมชั้นสูงที่มีกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสังคมและความบันเทิง ทำให้หลายคนต่างมองเห็นภาพความสนุกสดใสของบรรดาพระธิดาในกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ได้ไม่ยากนัก ซึ่งในเรื่องนี้

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์ ทรงเล่าไว้ใน เกิดวังปารุสก์ ตอนหนึ่งว่า

 "... ไม่มีผู้หญิงคนไทยครอบครัวใดที่จะช่างคุยสนุกสนานเท่าองค์หญิงตระกูลวรวรรณ เท่าที่ข้าพเจ้าเคยรู้จักพบมา..."

พระนางเธอลักษมีลาวัณทรงมีพระสิริโฉมงดงาม ดังปรากฏในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพรรณนาไว้ว่า

 

รูปน้องประกอบเบญจาง                     คะลักษณะอย่าง

พิเศษพิสุทธิ์สตรี                   

ประภัสสรพรรณฉวี                               เกศางามมี

ละเลื่อมสลับแดงปน                            

เนตรแม้นดาราน่ายล                            ระยับอยู่บน

นภางคะเวหา

 

หม่อมเจ้าหญิงวรรณพิมล ทรงเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นครั้งแรกที่ห้องทรงไพ่บริดจ์ในงานประกวดภาพเขียน ณ โรงละครวังพญาไทซึ่งต่อมาได้ต้องพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอันมาก

๓ ก.ค. วันคล้ายวันประสูติ “พระนางเธอลักษมีลาวัณ” พระมเหสีในรัชกาลที่๖ ผู้ถูกลอบปลงพระชนม์!! ย้อนรอยคดีสะเทือนขวัญ การฆาตกรรมภายในพระตำหนัก

ทรงสถาปนาหม่อมเจ้าลักษมีลาวัณ ขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2464 ขณะพระชันษาได้ 22 ปี และในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2464 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ พร้อมกับทรงหมั้น และมีพระราชวินิจฉัยว่า จะได้ทรงทำการราชาภิเษกสมรส

๓ ก.ค. วันคล้ายวันประสูติ “พระนางเธอลักษมีลาวัณ” พระมเหสีในรัชกาลที่๖ ผู้ถูกลอบปลงพระชนม์!! ย้อนรอยคดีสะเทือนขวัญ การฆาตกรรมภายในพระตำหนัก

หลังจากการเฉลิมพระยศได้เพียงหนึ่งเดือนสิบเก้าวัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงอภิเษกสมรสกับ พระสุจริตสุดา ธิดาของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล) เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2464  และทรงตัดสินพระราชหฤทัย "แยกกันอยู่" กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณซึ่งยังมิได้อภิเษกสมรสกัน ต่อมาพระองค์เจ้าลักษมีลาวัณก็ได้รับโปรดเกล้าสถาปนาขึ้นเป็น พระนางเธอลักษมีลาวัณ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2465  เสมือนรางวัลปลอบพระทัย

หลังจากนั้นพระนางเธอลักษมีลาวัณก็ทรงพอพระทัยที่จะแยกพระตำหนักไปประทับอยู่ห่างจากเจ้าพี่เจ้าน้อง ทรงประทับอยู่อย่างสันโดษ และเพื่อเลี่ยงความเงียบเหงาพระนางจึงทุ่มเทไปกับงานพระนิพนธ์

เมื่อทรงพระชรา พระองค์ก็ทรงมีพระจริยาวัตรหงุดหงิดง่าย ใครเข้าพระพักตร์ไม่ใคร่จะได้ พระประยูรญาติจึงมิใคร่สามารถทนอยู่ถวายปรนนิบัติได้ ประกอบกับพระนางเธอฯ ปรารถนาจะประทับโดยสันโดษ ทรงโปรดความวิเวก ทำสวน และเพื่อประโยชน์ในการทรงงานประพันธ์ ซึ่งบรรดาข้ารับใช้ในพระนางเธอไม่มีผู้ใดจะทนอยู่ได้นานนัก

๓ ก.ค. วันคล้ายวันประสูติ “พระนางเธอลักษมีลาวัณ” พระมเหสีในรัชกาลที่๖ ผู้ถูกลอบปลงพระชนม์!! ย้อนรอยคดีสะเทือนขวัญ การฆาตกรรมภายในพระตำหนัก

ในงานฉลองพระชนมายุครบ 5 รอบเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2503 ทรงระบายความรู้สึกเกี่ยวกับข้าราชบริพารไว้ในหนังสือกวีนิพนธ์ที่ทรงแจกในงาน มีข้อความตอนหนึ่งว่า

       

       “ลักษมีปางกาลีนี้ร้ายนัก

       ถูกพวกยักษ์รุมฟัดประหัตประหาร

       ข่มขู่ขวัญทุกวันหมั่นรังควาน

       เหลือร้าวรานรุมรวนกวนรังแก

       ตัวคนเดียวโดดเดี่ยวอยู่เปลี่ยวเปล่า

       ไม่มีบ่าวโจษจันฉันกริ้วแหว

       ขืนมีบ่าวเข้ามาพันตอแย

       ยั่วยุแหย่ยุ่งขโมยโอยรำคาญ

       บ้างเข้ามาทำท่าเป็นบ้างั่ง

       เรียกจะสั่งทำใดไม่ขอขาน

       สั่งทำโง้นทำอย่างงี้เลี่ยงลี้งาน

       ใช่ฉันพาลเป็นดั่งนี้ทุกวี่วัน

       พอไล่ไปมาใหม่อยู่ไม่ช้า

       แรกทำท่าดีเด่นเป็นขยัน

       พอใช้เพลินไม่เกินสิบห้าวัน

       คนขยันโกงยับเห็นกับตา

       เบื่อเต็มทนเบื่อคนสุดทนสู้

       เลยยอมอยู่ผู้เดียวเลิกเที่ยวหา

       มีคนใช้ประสาทเสียเพลียอุรา

       เรารู้ว่าข่มเหงเพลงทารุณ

 

 

 

ในการพอพระทัยแบบสันโดษนี้เอง ได้เคยมีพระประยูรญาติที่หวังดีเตือนพระสติว่าไม่เป็นการปลอดภัยและเสี่ยงต่อภยันตรายยิ่งนัก แต่ทุกองค์ที่หวังดีกลับได้รับสั่งจากพระนางเธอฯ ว่า ก็ให้มันรู้ไป ใครจะมาทำพระนางเธอลักษมีลาวัณ บ้านก็อยู่ใกล้กรมทหาร ติดถนนใกล้โรงพักอย่างนี้พระนางเธอฯ ทรงกล้าหาญเด็ดเดี่ยวไม่ทรงกลัว ทรงพระแสงปืนเป็นประจำ และได้ชื่อว่าทรงแม่นปืน ทรงปรุงพระกระยาหารเสวยเองเพราะกลัวถูกวางยาพิษ จึงยิ่งเป็นการเปิดโอกาสให้คนร้ายวางแผนชิงพระราชทรัพย์ได้ และแล้วเหตุการณ์สะเทือนขวัญนั้นก็มาถึง

วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2504 นายแสง หรือ เสงี่ยม หอมจันทร์ กับนายวิรัช หรือเจริญ กาญจนาภัย อดีตคนสวนที่ถูกพระนางเธอลักษมีลาวัณไล่ออกไปเห็นว่าพระนางเธอทรงเป็นเพียงเจ้านายสตรีทั้งยังชรา และอาศัยเพียงลำพัง กับทั้งเคยสังเกตว่าในตู้ชั้นล่างพระตำหนักลักษมีวิลาศมีเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เข้าใจว่าเป็นของมีราคาทั้งสองจึงกลับเข้ามายังพระตำหนักลักษมีวิลาศ

 

๓ ก.ค. วันคล้ายวันประสูติ “พระนางเธอลักษมีลาวัณ” พระมเหสีในรัชกาลที่๖ ผู้ถูกลอบปลงพระชนม์!! ย้อนรอยคดีสะเทือนขวัญ การฆาตกรรมภายในพระตำหนัก

ทั้งคู่ได้ลอบทำร้ายพระนางด้วยย่องเข้ามาทางข้างหลังใช้ชะแลงและสันขวานทำร้ายที่พระเศียรจนสิ้นพระชนม์ที่ห้องพระบรรทม  โดยที่พระวรกายบริเวณพระอุระ (หน้าอก) พบบาดแผลฉกรรจ์คล้ายถูกแทงอย่างโหดเหี้ยม 4 แผล ที่พระศอ (คอ) อีกแผลหนึ่ง ที่พระเศียร (ศีรษะ) ด้านหลังนั้นถูกตีจนน่วมมีพระโลหิตไหล ทั้งสองได้ลากพระศพไปไว้ในโรงจอดรถหลังพระตำหนักเพื่ออำพราง แล้วค้นทรัพย์สินเท่าที่หาได้หนีไป ได้ไปแต่เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเงินพระราชสมบัติทั้งหมดไม่เหลือแม้แต่บาทเดียว ขณะที่ตู้เซฟที่เก็บฉลองพระองค์และเครื่องประดับของราชวงศ์จักรีมูลค่านับล้านบาทยังอยู่ในสภาพปกติ

๓ ก.ค. วันคล้ายวันประสูติ “พระนางเธอลักษมีลาวัณ” พระมเหสีในรัชกาลที่๖ ผู้ถูกลอบปลงพระชนม์!! ย้อนรอยคดีสะเทือนขวัญ การฆาตกรรมภายในพระตำหนัก

(ทำแผนประกอบคำรับสารภาพ)

ภายหลังผู้ต้องหาทั้งสองถูกจับได้ และถูกพิพากษาให้ประหารชีวิต แต่ทั้งสองได้รับสารภาพ จึงได้รับการหย่อนโทษหนึ่งในสามคือให้จำคุกตลอดชีวิต เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อไป ด้วยพระนางเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า

 

สำนักพระราชวัง มีประกาศเรื่อง พระนางเธอลักษมีลาวัณ ในรัชกาลที่ 6 สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2504 มีใจความว่า

 

               

พระนางเธอลักษมีลาวัณ ได้เสด็จสิ้นพระชนม์จากการถูกคนร้ายลอบปลงพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทด้วยความสลดพระราชหฤทัยยิ่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ไว้ทุกข์ในพระราชสำนักมีกำหนด 15 วัน ประดิษฐานพระศพ ณ ศาลามรุพงศ์ ในวัดมกุฎกษัตริยาราม

 

สำนักพระราชวัง

 

3 กันยายน พ.ศ. 2504

 

ที่มา : wikipedia.org /  ฆาตกรรม “พระนางเธอลักษมีลาวัณ” มเหสี ร.6 บุบพระเศียรด้วยชะแลง!!! โดย โรมบุนนาค / postjung.com