รู้แล้วถึงบางอ้อ! สงสัยมานาน เพราะเหตุใด จึงเรียกเงินไทย ว่า “บาท” ? ...เกร็ดความรู้เล็กๆ ในประวัติศาสตร์

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

เงินบาท เป็นสกุลเงินตราประจำชาติของประเทศไทย

มีที่มาว่าเดิมคำว่า "บาท" เป็นหนึ่งในคำใช้เรียกหน่วยการชั่งน้ำหนักของไทย ปัจจุบันยังมีใช้ในความหมายเดิมอยู่บ้าง โดยเฉพาะในการซื้อขายทองคำ เช่น "ทองคำวันนี้ราคาขายบาทละ 15,000 บาท" หมายถึงทองคำหนักหนึ่งบาทสามารถขายได้ 15,000 บาท ในสมัยที่เริ่มใช้เหรียญครั้งแรก เงินเหรียญหนึ่งบาทนั้นเป็นเงินที่มีน้ำหนักหนึ่งบาทจริง ๆ ไม่ได้ทำด้วยทองแดงนิกเกิลเช่นในปัจจุบัน

ระบบสกุลเงินไทยในปัจจุบัน ซึ่งเงิน หนึ่งบาท มีค่าเท่ากับ 100 สตางค์ เริ่มใช้ปี พ.ศ. 2440 ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยก่อนหน้านั้นเงินตราไทยใช้ระบบดังนี้

1 หาบ 80 ชั่ง = 6,400 บาท

1 ชั่ง 20 ตำลึง = 80 บาท

1 ตำลึง 4 บาท

1 บาท 1 บาท = 100 สตางค์ (ใช้ค่าเงินนี้อยู่).

1 มายน หรือ 1 มะยง มีค่า = 50 สตางค์

ทว่าในปัจจุบันก็ยังมีการเรียกเหรียญมูลค่านี้ว่า เหรียญสลึง

เฟื้อง = 12.5 สตางค์

ซีก หรือ 1 สิ้ก = 6.25 สตางค์

เสี้ยว 1 เซี่ยว หรือ 1 ไพ = 3.125 สตางค์

อัฐ = 1.5625 สตางค์ .

โสฬส หรือ โสฬศ = 0.78125 สตางค์

ที่มา : th.wikipedia.org