ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

ตำนานยุทธหัตถีเกียรติยศแห่งแผ่นดิน!! เผยสัญญาณกลศึก \"แพนหางนกยูง\" ความลับแห่งความเป็นความตาย ที่ต้องปกปิดมิให้ข้าศึกรู้เป็นอันขาด !!

                 สงครามยุทธหัตถี เป็นสงครามที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๑๓๕ ระหว่างอยุธยากับพม่า ผลของสงครามครั้งนั้นปรากฏว่าอยุธยาเป็นฝ่ายชนะถึงแม้จะมีกำลังพลน้อยกว่า และการทำสงครามยุทธหัตถีครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์เกิดขึ้นเมื่อครั้งพระเจ้านันทบุเรง โปรดให้พระมหาอุปราชา นำกองทัพทหารสองแสนสี่หมื่นคน มาตีกรุงศรีอยุธยาหมายจะชนะศึกในครั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวร ทรงทราบว่า พม่าจะยกทัพใหญ่มาตี จึงทรงเตรียมไพร่พล มีกำลังหนึ่งแสนคนเดินทางออกจากบ้านป่าโมกไปสุพรรณบุรี ข้ามน้ำตรงท่าท้าวอู่ทอง และตั้งค่ายหลวงบริเวณหนองสาหร่าย

               ในเหตุการณ์ครั้งนั้นเมื่อสมเด็จพระนเรศวรทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชาทรงพระคชสารอยู่ในร่มไม้กับเหล่าท้าว พระยา จึงทราบได้ว่าช้างทรงของสองพระองค์หลงถลำเข้ามาถึงกลางกองทัพ และตกอยู่ในวงล้อมข้าศึกแล้ว แต่ด้วยพระปฏิภาณไหวพริบของสมเด็จพระนเรศวร ทรงเห็นว่าเป็นการเสียเปรียบข้าศึกจึงไสช้างเข้าไปใกล้ แล้วตรัสถามด้วยคุ้นเคยมาก่อนแต่วัยเยาว์ว่า "พระเจ้าพี่ เราจะยืนอยู่ใยในร่มไม้เล่า เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้เป็นเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด ภายหน้าไปไม่มีพระเจ้าแผ่นดินที่จะได้ยุทธหัตถีแล้ว"

              พระมหาอุปราชาได้ยินดังนั้น จึงไสช้างนามว่า พลายพัทธกอเข้าชนเจ้าพระยาไชยานุภาพเสียหลัก พระมหาอุปราชาทรงฟันสมเด็จพระนเรศวรด้วยพระแสงของ้าว แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงเบี่ยงหลบทัน จึงฟันถูกพระมาลาหนังขาด จากนั้นเจ้าพระยาไชยานุภาพชนพลายพัทธกอเสียหลัก สมเด็จพระนเรศวรทรงฟันด้วยพระแสงของ้าวถูกพระมหาอุปราชาเข้าที่อังสะขวา สิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง

ตำนานยุทธหัตถีเกียรติยศแห่งแผ่นดิน!! เผยสัญญาณกลศึก \"แพนหางนกยูง\" ความลับแห่งความเป็นความตาย ที่ต้องปกปิดมิให้ข้าศึกรู้เป็นอันขาด !!

             ในตำนานยุทธหัตถีครั้งนี้หลายคนอาจเคยสังเกตว่าพระบรมราชานุสาวรีย์พระนเรศวรมหาราช ก่อนหน้านี้หลายคนคิดว่า ทหารกลางช้างที่นั่งบนสัปคับ ถือแพนหางนกยูง คือสมเด็จพระนเรศวร ต่อมาโตขึ้นจึงทราบว่า ยามศึกพระนเรศ จะนั่งตำแหน่งควาญช้าง สมรภูมิรบกลางแจ้งแบบตะลุมบอน ช้างมีส่วนสำคัญยิ่งนักในกลศึก เพราะเป็น"จุดที่สูงที่สุดในสนามรบ" มองภาพรวมการปะทะกันได้ชัดเจน

 

ตำนานยุทธหัตถีเกียรติยศแห่งแผ่นดิน!! เผยสัญญาณกลศึก \"แพนหางนกยูง\" ความลับแห่งความเป็นความตาย ที่ต้องปกปิดมิให้ข้าศึกรู้เป็นอันขาด !!

            ทหารกลางช้างที่ถือ "แพนหางนกยูง"นั่งบนกูบกลางช้าง จะเป็น "ผู้ให้สัญญานไปตามกลศึก ที่ขุนทัพหรือแม่ทัพนั้นได้วางแผนไว้ก่อน หรือแก้ไขปัญหาล่วงหน้าตามที่แม่ทัพบอกโดยการ "ชี้ โบก แพนหางนกยูง" ไป ข้างหน้า หรือ ข้างหลัง ชี้ออกข้าง ซ้าย ขวา หรือ ยกสูงขึ้น ล้วนแล้วแต่มีความหมาย ทางกลศึกรุก รับ ถอย หนี ซึ่งขุนทหาร ในสมรภูมิหรือผู้รับผิดชอบ ต้องสังเกตมอง ที่กลางช้าง เพื่อดูการปรับขบวนทัพ ไปตามที่แม่ทัพกำหนดให้ในสัญญาน"แพนหางนกยูง"

 

ตำนานยุทธหัตถีเกียรติยศแห่งแผ่นดิน!! เผยสัญญาณกลศึก \"แพนหางนกยูง\" ความลับแห่งความเป็นความตาย ที่ต้องปกปิดมิให้ข้าศึกรู้เป็นอันขาด !!

           ซึ่งถือว่า "เป็นความลับ" แห่งความเป็นความตาย ที่ต้องปกปิดไม่ให้ข้าศึกรู้ได้ว่าการชี้ โบก "แพนหางนกยูง" นั้น มีรหัส หมายถึง. ยกแบบใด กลศึกใด

ตำนานยุทธหัตถีเกียรติยศแห่งแผ่นดิน!! เผยสัญญาณกลศึก \"แพนหางนกยูง\" ความลับแห่งความเป็นความตาย ที่ต้องปกปิดมิให้ข้าศึกรู้เป็นอันขาด !!

ตำแหน่งบนช้างที่ทรงของพระมหากษัติย์เวลาทำสงครามยุทธหัตถี

พระมหากษัตย์ - นั้นจะทรงนั่งอยู่บนคอช้างเพื่อทำการสัปยุทธ

กลางช้าง - นั้นจะนั่งอยู่บน สัปคับพระคชาธาร คือ เป็นพระที่นั่งบนหลังช้าง กลางช้างจะมีหน้าทีในกรโบกแพนหางนกยูงเพื่อให้สัญญาน และทำหน้าที่ส่งอาวุธให้กับพระมหากษัติย์ เช่นส่งปืนไฟเป็นต้น

หลังช้าง - นั้นจะเป็นผู้ที่คอยบังคับทิศทางช้าง ส่วนมากแล้วจะเป็นควาญประจำช้างเชือกนั้นๆ

จาตุลังคบาท - คือ เสนาประจำทั้งสี่เท้าของช้างทรงของพระเจ้าแผ่นดิน พระบรมวงศานุวงค์หรือเหล่าแม่ทัพ ไม่ให้เป็นอันตรายจากข้าศึก เพราะจุดอ่อนของช้างนั้นจะอยุ่ที่ เท้าและงา ซึ่งเหล่าจัตุลังคบาทนั้น ต่างมีกองกำลังของตนติดตามมาอย่างใกล้ชิด เพราะเป็นนายพระตำรวโดย ๒ เท้าหน้านั้นกินยศ ออกหลวง และ ๒ เท้าหลังกินยศออกขุน ท่านเหล่านี้เชี่ยวชาญอาวุธยาวและสั้น และคงถืออาวุธยาวในเบื้องต้น

 

 

 

ที่มาจาก : เพจ เกร็ดความรู้ประวัติศาสตร์ / อ้างอิงมาจาก อาจารย์ถนัด ยันต์ทอง

              https://th.wikipedia.org/wiki/สงครามยุทธหัตถี

ภาพจาก : ภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช