ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

"ในหลวงรัชกาลที่ 9" ทรงเล่าถึงแรงบันดาลใจในความสนพระราชหฤทัย เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง ป่า น้ำดิน ตั้งแต่เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์

เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ (รัชกาลที่ 9) ทรงเล่าถึงแรงบันดาลใจในความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง ป่า น้ำดิน ซึ่งโยงใยมีผลกระทบต่อกัน ตั้งแต่เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ ว่า

“.....อาจมีบางคนเข้าใจว่า ทำไมถึงสนใจเรื่องชลประทาน หรือเรื่องป่าไม้ จำได้เมื่ออายุ 10 ขวบ ที่โรงเรียนมีครูคนหนึ่ง ซึ่งเดี๋ยวนี้ตายไปแล้ว

สอนเรื่องวิทยาศาสตร์ เรื่องการอนุรักษ์ดิน แล้วให้เขียน ว่า ภูเขาต้องมีป่า อย่างนั้น เม็ดฝนลงมาแล้วจะชะดินลงมาเร็วทำให้ไหลตามน้ำไป ไปทำความเสียหายดินหมดจากภูเขา เพราะไหลตามสายน้ำไป

ก็เป็นหลักของป่าไม้ เรื่องการอนุรักษ์ดิน และเป็นหลักของชลประทาน ที่ว่า ถ้าเราไม่รักษาป่าไม้ข้างบน จะทำให้เดือดร้อนตลอด

ตั้งแต่ดินภูเขาจะหมด ไปกระทั่งการที่จะมีตะกอนลงมาในเขื่อน มีตะกอนลงมาในแม่น้ำ ทำให้น้ำท่วม นี่นะเรียนมาตั้งแต่อายุ 10 ขวบ.....”

การที่ทรงเห็นความสำคัญของปัญหาป่าเสื่อมโทรม ซึ่งส่งผลกระทบต่อปัญหาด้านอื่นๆ ไม่เฉพาะแต่ปัญหาเรื่องดิน เรื่องน้ำเท่านั้น

หากโยงใยถึงปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองคุณธรรมและระบบนิเวศน์ ด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้แนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาป่า มิได้เป็นกิจกรรมที่ดำเนินไป อย่างโดดๆ

หากแต่รวมเอางานพัฒนาที่เกี่ยวเนื่องทั้งหมดเข้าไปทำงานในพื้นที่อย่าง ประสานสัมพันธ์กันแนวพระราชดำริด้านการป่าไม้ ณ หน่วยงานพัฒนาต้นน้ำทุ่งจ๊อ ในปี พ.ศ. 2519

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) ได้พระราชทานพระราชดำริให้มีการปลูกต้นไม้ 3 ชนิด.. 3 ชนิด ที่แตกต่างกัน

คือ ไม้ผลไม้โตเร็ว และไม้เศรษฐกิจ เพื่อจะทำให้เกิดป่าไม้แบบผสมผสาน และสร้างความสมดุลแก่ธรรมชาติอย่างยั่งยืน

สามารถตอบสนองความต้องการของรัฐ และวิถีประชาในชุมชน

ประการสำคัญนั้น มีพระราชดำริที่ยึดเป็นทฤษฎีการพัฒนาด้านป่าไม้โดยปลูกฝังจิตสำนึกแก่ประชาชนว่า

เจ้าหน้าที่ป่าไม้ควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน แล้ว คนเหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดิน และรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง...

นับเป็นทฤษฎีที่เป็นปรัชญาในด้านการพัฒนาป่าไม้ที่ยิ่งใหญ่โดยแท้

ทฤษฎีการปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ตามหลักการฟื้นฟูสภาพป่าด้วยวัฏธรรมชาติ (Natural Reforestation)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยในปัญหาปริมาณป่าไม้ลดลงเป็นอย่างมาก จึงทรงพยายามค้นหาวิธีนานาประการที่จะเพิ่มปริมาณของป่าไม้ในประเทศไทยให้ เพิ่มมากขึ้นอย่างมั่นคงและถาวร

โดยมีวิธีการที่เรียบง่ายและประหยัดในการดำเนินงานตลอดจนเป็นการส่งเสริม ระบบวงจรป่าไม้ในลักษณะอันเป็นธรรมชาติดั้งเดิม ซึ่งได้พระราชทานพระราชดำริหลายวิธีการ

คือ กลยุทธ์การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกเป็นไปตามหลักการกฎธรรมชาติ (Natural Reforestation) อาศัยระบบวงจรป่าไม้

"ในหลวงรัชกาลที่ 9" ทรงเล่าถึงแรงบันดาลใจในความสนพระราชหฤทัย เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง ป่า น้ำดิน ตั้งแต่เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์

และการทดแทนตามธรรมชาติ (Natural Reforestation) คือ การปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเติบโตของต้นไม้และควบคุมไม่ให้มีคนเข้าไป ตัดไม้ไม่มีการรบกวนเหยียบย่ำต้นไม้เล็กๆ เมื่อทิ้งไว้ช่วงระยะเวลา การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก

“...ทิ้งป่าไม้นั้นไว้ 4 ปี ตรงนั้น ไม่ต้องทำอะไรเลย แต่ป่าเจริญเติบโตเป็นป่าสมบูรณ์ โดยไม่ต้องปลูกสักต้นเดียว... คือว่า การปลูกนั้น สำหรับอยู่ที่ปล่อยให้เขาขึ้นเอง...พระราชดำรัส วันที่ 4 ธันวาคม 2537

"ในหลวงรัชกาลที่ 9" ทรงเล่าถึงแรงบันดาลใจในความสนพระราชหฤทัย เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง ป่า น้ำดิน ตั้งแต่เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์

"ในหลวงรัชกาลที่ 9" ทรงเล่าถึงแรงบันดาลใจในความสนพระราชหฤทัย เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง ป่า น้ำดิน ตั้งแต่เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์

 

ที่มา : สำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ กรมป่าไม้ 

http://www.forest.go.th/orip/index.php และ เพจ องค์กรเก็บขยะแผ่นดิน / welovethaiking.com