ติดตามเรื่องราวดีๆอีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th/

ที่โรงละครแห่งชาติ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กทม. สำนักการสังคีต กรมศิลปากร และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จัดซ้อมการแสดงละครหุ่นหลวง และหุ่นกระบอก โดยการแสดงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงมหรสพ ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ทั้งนี้การแสดงเวทีที่ ๒ ประกอบด้วย การแสดงละคร หุ่นกระบอก และหุ่นหลวง ตามโบราณราชประเพณี

ที่สุดแห่งความยิ่งใหญ่ และหาชมยาก !!! ซ้อมการแสดงละครหุ่นหลวง ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ รัชกาลที่ ๙ !!!

มีรายละเอียดพอสังเขป เรียงตามลำดับการแสดง ดังนี้

๑. ละคร เรื่องพระมหาชนก เป็นการแสดงที่นำบทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาจัดทำในรูปแบบการแสดงละครรำ เนื้อเรื่องจะเน้นให้เห็นความสำเร็จในความเพียรอย่างมีสติ และความเสียหายที่เกิดจากการขาดสติไตร่ตรอง

๒. การแสดงหุ่นหลวง ตอนหนุมานเข้าห้องนางวานรินทร์ หุ่นหลวงเป็นหุ่นในราชสำนักต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ตัวหุ่นจะบังคับ การเคลื่อนไหวด้วยเส้นใยโยงที่ร้อยเรียงกันอย่างพิถีพิถันอย่างอัศจรรย์ ในจดหมายเหตุปรากฏว่ามีการแสดงหุ่นหลวง ในงานพระราชพิธีที่สำคัญๆ อยู่บ่อยครั้ง แต่ก็ขาดการสืบเนื่องไปอย่างสิ้นเชิง จนกรมศิลปากรได้มารื้อฟื้นศึกษาแล้วจัดทำขึ้นใหม่ ในพ.ศ.๒๕๕๙ ซึ่งกระบวนการสร้างและการเชิดหุ่นมีความประณีตตามลักษณะงานช่างศิลป์ไทยอย่างอลังการ

ที่สุดแห่งความยิ่งใหญ่ และหาชมยาก !!! ซ้อมการแสดงละครหุ่นหลวง ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ รัชกาลที่ ๙ !!!

๓. การแสดงหุ่นกระบอก เรื่องพระอภัยมณี ตอนสุดสาครจับม้ามังกร เนื้อเรื่องตอนนี้เป็นที่นิยม ตอนหนึ่ง ด้วยมีตัวหุ่นที่หลากหลายทั้งคน สัตว์น้ำ สัตว์ในตำนานและสัตว์ประหลาด มีกระบวนการแสดงวิจิตรบันเทิงชวนติดตาม ที่สำคัญมีการสอดแทรกคติธรรมสอนใจอย่างเด่นชัด

๔. รำกิ่งไม้เงินทอง เป็นรำเบิกโรงละครในชุดหนึ่ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้ประดิษฐ์ขึ้นใหม่แทนรำประเลง ผู้รำแต่งกายยืนเครื่องพระ ศีรษะจะสวมชฎาแทนการสวมหัวเทวดาโล้น สมมติว่าเป็นเทวดา มือข้างขวากำกิ่งไม้ทอง ส่วนมือข้างซ้ายกำกิ่งไม้เงิน ลีลาท่ารำดำเนินไปตามบทขับร้องที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น โดยมีพระราชประสงค์ให้เกิดความสวัสดิมงคลแก่การแสดง และผู้แสดง ตลอดจนผู้ชมโดยทั่วกัน

ที่สุดแห่งความยิ่งใหญ่ และหาชมยาก !!! ซ้อมการแสดงละครหุ่นหลวง ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ รัชกาลที่ ๙ !!!

๕. ละครใน เรื่องอิเหนา ตอนบุษบาชมศาล – อิเหนาตัดดอกไม้ – ฉายกริช – ท้าวดาหาบวงสรวง เป็นการแสดงที่เพิ่มเติมขึ้นจากเดิมที่เคยจัดเฉพาะละครนอก เนื่องจาก ละครใน เป็นละครที่เกิดขึ้นในเขตพระราชฐาน สำหรับบำเรอพระมหากษัตริย์ การแสดงมุ่งเน้นกระบวนลีลาท่ารำ ที่มีความประณีต งดงาม อีกทั้งเพลงร้อง ทำนองดนตรีก็มีความไพเราะ ขนบจารีตในการแสดงตอนนี้ และกระบวนท่ารำได้รับการถ่ายทอดมาจากราชสำนักโดยตรง ซึ่งกรมศิลปากรคงอนุรักษ์ และสืบทอดไว้ได้อย่างสมบูรณ์

๖. ละคร เรื่องมโนห์รา เป็นการแสดงที่กรมศิลปากรได้สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ในปี ๒๔๙๘ โดยปรับปรุงจาก การแสดงละครโนรา และละครชาตรี ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบละครรำของไทย กระบวนการแสดงและกระบวนท่ารำมี ความวิจิตรตระการตา เป็นต้นกำเนิดของการรำที่นิยมนำมาใช้แสดงอยู่หลากหลายจนถึงปัจจุบัน ได้แก่รำกินรีร่อน รำมโนห์ราบูชายัญ รำซัดชาตรี รำไกรลาศสำเริง รำซัดเลือกคู่ เป็นต้น

ที่สุดแห่งความยิ่งใหญ่ และหาชมยาก !!! ซ้อมการแสดงละครหุ่นหลวง ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ รัชกาลที่ ๙ !!!

ผู้แสดง และผู้บรรเลง ขับร้อง ประกอบด้วย นาฏศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร คณาจารย์ นักเรียน นักศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และวิทยาลัยนาฏศิลป ๑๒ แห่งทั่วประเทศ ดังนี้

​ผู้แสดง ​

​๑. ละคร เรื่องพระมหาชนก สำนักการสังคีต กรมศิลปากร และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จำนวน ๙๔ คน​
​๒. รำกิ่งไม้เงินทอง สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จำนวน ๒๐ คน
​๓. ละครใน เรื่องอิเหนา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จำนวน ๓๗ คน
​๔. ละคร เรื่องมโนห์รา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จำนวน ๑๒๑ คน
​๕. หุ่นกระบอก และหุ่นหลวง สำนักการสังคีต กรมศิลปากร จำนวน ๕๐ คน

ผู้บรรเลง ขับร้อง และผู้ปฏิบัติงานอื่น ​ประมาณ ๑๐๐ คน รวมทั้งสิ้น ๔๒๒ คน

ที่สุดแห่งความยิ่งใหญ่ และหาชมยาก !!! ซ้อมการแสดงละครหุ่นหลวง ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ รัชกาลที่ ๙ !!!

อ้างอิงข้อมูลจาก - news.mthai.com