ติดตามเรื่องราวดีๆ ได้ที่ www.tnews.co.th

หลวงพ่อใช้ ธรรมโชติ ท่านเป็นพระที่บวชมาพร้อมกับหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค จำพรรษามาที่วัดเดียวกัน ภายหลังเจ้าอาวาสองค์เดิมมรณภาพลง ชาวบ้านก็แตกออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งจะให้หลวงพ่อพรหม เป็นเจ้าอาวาส อีกฝ่ายให้หลวงพ่อใช้เป็น ภายหลังหลวงพ่อพรหมไม่ได้เป็นเจ้าอาวาสจึงออกธุดงค์ไปอยู่ที่วัดช่องแค
สอดคล้องกับประวัติของหลวงพ่อพรหม ถาวโร ที่ระบุว่ากำเนิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ ปี มะแม ตรงกับวันที่ ๑๒ เมษายน พศ. ๒๔๒๖ ณ.ตำบลบ้านแพรก อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอุปสมบทที่วัดเขียนลาย ต.บ้านแพรก อ.บ้านแพรก จ.อยุธยา เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๗ ได้รับฉายาว่า "ถาวโร" โดยมีหลวงพ่อถม วัดเขียนลาย เป็นพระอุปัชฌาย์

หลวงพ่อใช้ ธรรมโชติ วัดโบสถ์ บ้านแพรก เดิมชื่อ “วัดบ้านแพรกตะวันตก” เพราะตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำลพบุรี เป็นวัดที่ตั้งอยู่คู่กับวัดบ้านแพรกตะวันออก หรือวัดเขียนลาย ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “วัดโบสถ์โพธิ์หอม” มีเจ้าอาวาสดำรงตำแหน่งหลายองค์สืบทอดกันมา จนถึงสมัยของหลวงพ่อใช้ ธรรมโชติ (ใช้ ชูผกา) ท่านเป็นชาวอำเภอบ้านแพรกโดยกำเนิด เป็นบุตรของนายสงค์ นางชื้น ชูผกา เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๕ ในตลาดบ้านแพรก พออายุได้ ๑๒ ปี ได้บวชเป็นสามเณรที่วัดเชิงท่า อำเภอมหาราช ศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรมที่วัดมหาธาตุกรุงเทพมหานคร เมื่ออายุครบบวชได้กลับมาอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่บ้านเกิดของท่าน ในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ ญาติโยมจากอำเภอบ้านแพรก มีนายบุญเป็นหัวหน้านิมนต์ท่านกลับมาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดโบสถ์บ้านแพรก หลวงพ่อใช้ได้เริ่มปฏิสังขรณ์โบสถ์ กุฏิ และสร้างศาลาการเปรียญคอนกรีตหลังแรกของอำเภอบ้านแพรก ท่านเป็นคนรักต้นไม้ ป่าไม้ธรรมชาติ ภายในบริเวณวัดมีต้นตะเคียน ต้นยาง ป่าไผ่ ท่านหวงแหนอนุรักษ์ให้เป็นที่อยู่อาศัยของนกและสัตว์ป่านานาชนิด หลวงพ่อเป็นพระนักเทศน์ ท่านจะลงเรือแจวซึ่งเป็นเรือแจว ๔ แจวที่หน้าวัดเดินทางไปเทศน์ตามวัดต่าง ๆ มีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือโดยเฉพาะกัณฑ์มหาราช นอกจากนั้นท่านยังเป็นพระวิปัสสนาบำเพ็ญเพียรทางจิตอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ท่านรู้ทางใน สามารถทำนายเหตุการณ์และทายใจผู้คนที่มาหาท่านได้ ท่านเคยใช้คนไปทำธุระยังต่างจังหวัด คนนั้นเดินเลยบ้านที่ท่านต้องไปไกล ต้องเสียเวลาย้อนกลับมา พอมาถึงวัดท่านก็ถามว่าทำไมเจอคนที่หน้าบ้านแล้วไม่ถาม เดินเลยไปตั้งไกลกว่าจะย้อนมาใหม่ ท่านเล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เหมือนท่านเดินทางไปด้วย นอกจากนั้นท่านยังรู้ว่าหวย กข จะออกหมวดอะไรแต่ท่านไม่ให้ใครเพราะเห็นเป็นเรื่องการพนัน มอมเมา ให้ชาวบ้านมุ่งประกอบอาชีพทำมาหากินดีกว่า ท่านเคยเขียนหวยใส่กระดาษไว้ล่วงหน้า พอหวยออก ให้ชาวบ้านที่นั่งอยู่บริเวณนั้นเปิดดู ปรากฏว่าตรงกันกับที่ท่านเขียนไว้ทุก

ต้นตำรับพระสมเด็จปรกโพธิ์หลังยันต์ ๕...สหายธรรมหลวงพ่อกบ "หลวงพ่อใช้ วัดโบสถ์" นั่งกรรมฐาน ๗ เดือน ๗ ปี ๗ วัน ไม่สรงน้ำเลย..

หลวงพ่อใช้ ธรรมโชติ ท่านเป็นพระที่มุ่งเน้นให้คนที่เดินทางมาติดต่อกับท่าน อยู่ในศีลในธรรม รู้จักครองตนครองคนและครองงาน ท่านเป็นที่พึ่งทางใจของชาวบ้าน ยามเมื่อชาวบ้านเจ็บป่วย ท่านเป็นหมอรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยสมุนไพร และมีอาคม รักษาพวกที่ถูกคุณไสยโดยใช้ปูน แป้ง และน้ำมัน ชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธาตัวท่านมาก เมื่อสร้างศาลาการเปรียญเสร็จแล้วท่านก็ไม่รับกิจนิมนต์ปฏิบัติตามวินัยสงฆ์อย่างเคร่งครัด ฉันจังหันเพียงวันละมื้อ และนั่งกรรมฐานบริเวณป่าช้า เป็นป่าที่ท่านรักและหวงแหนมากใครจะมาตัดโค่นทำลายไม่ได้

ท่านนั่งกรรมฐานเป็นเวลานานถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน โดยไม่รับกิจนิมนต์ใดๆ ที่สำคัญตลอดระยะเวลาที่ท่านนั่งกรรมฐานท่านไม่ได้สรงน้ำเลย จนถึงวันที่ท่านอาพาธท่านทำน้ำมนต์อาบเอง และมรณภาพด้วยอาการอันสงบ เมื่อปี พ.ศ ๒๕๐๕ รวม  สิริอายุ ๗๐ ปี หลวงพ่อใช้เป็นพระอีกองค์ที่มรณภาพในท่าพระพุทธไสยาสน์เช่นเดียวกับหลวงพ่อเนียม วัดน้อย  สมเด็จปรกโพธิ์หลังเลข ๕ ของท่านมีศิลปเฉพาะ อีกทั้งมวลสารล้วนเป็นเอกลักษณ์ จากการสอบถามคนเฒ่าคนแก่ใน  ท้องถิ่นทราบมาว่า มวลสารสำคัญในการสร้างพระได้แก่ใบโพธิ์ที่ท่านปลูกไว้ในบริเวณกุฏิ และยังได้ผงวิเศษมาจากสำนักสงฆ์เขาสาริกา อำเภอบ้านหมี่จังหวัดลพบุรีเพราะท่านเป็นสหายธรรมกับหลวงพ่อกบ

ต้นตำรับพระสมเด็จปรกโพธิ์หลังยันต์ ๕...สหายธรรมหลวงพ่อกบ "หลวงพ่อใช้ วัดโบสถ์" นั่งกรรมฐาน ๗ เดือน ๗ ปี ๗ วัน ไม่สรงน้ำเลย..

ต้นตำรับพระสมเด็จปรกโพธิ์หลังยันต์ ๕...สหายธรรมหลวงพ่อกบ "หลวงพ่อใช้ วัดโบสถ์" นั่งกรรมฐาน ๗ เดือน ๗ ปี ๗ วัน ไม่สรงน้ำเลย..

ต้นตำรับพระสมเด็จปรกโพธิ์หลังยันต์ ๕...สหายธรรมหลวงพ่อกบ "หลวงพ่อใช้ วัดโบสถ์" นั่งกรรมฐาน ๗ เดือน ๗ ปี ๗ วัน ไม่สรงน้ำเลย..

ที่มาของนาม “ หลวงพ่อกบ ”
หลวงพ่อกบ เป็นพระภิกษุสงฆ์ที่พุทธศาสนิกชนทั่วไปได้ให้ความเคารพ และเลื่อมใสศรัทธา ชีวประวัติของท่านไม่ได้บันทึกไว้ชัดเจน เป็นแต่เพียงการเล่าขานสืบต่อกันมาว่า ท่านธุดงค์มาปักกลดอยู่ที่ชายป่าด้านเขาสาริกา เมื่อประมาณปลายปี ๒๕๓๐ โดยที่ไม่มีใครทราบวาท่านมาจากไหน ท่านมีชื่อว่าอะไร และท่านเป็นคนจังหวัดใดหลายคนอยากทราบ ได้พยายามถามท่าน ท่านมักจะตอบว่า “ กูจะไปรู้ได้อย่างไร แม้แต่มึงเอง มึงยังไม่รู้ว่ามึงเป็นใครมาจากไหน และมึงจะไปไหนต่อ ” ซึ่งเป็นคำตอบที่นอกจากจะไม่เข้าใจแล้วยังสร้าง ความงุนงงให้กับผู้ถามเพิ่มขึ้นไปอีก จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีใครทราบประวัติที่แท้จริงของท่าน

หลวงพ่อกบ จำพรรษาอยู่ที่วัดเขาสาริกา ผ่านไปหลายปี ชื่อเสียงของท่านโด่งดังมาก ครั้งหนึ่งช่วงออกพรรษาปี พ.ศ.ใดไม่ชัดเจน มีกฐินจากกรุงเทพฯ มาทอดที่วัดภายหลังเสร็จสิ้น จากพิธีถวายกฐิน ญาติโยมจากกรุงเทพฯ จำนวนหนึ่งจำเป็นต้องค้างแรมที่วัด หลวงพ่อท่านเมตตาให้ค้างแรมในกุฏิ คืนนั้นหลายคนนอนไม่หลับ เพราะไม่ได้ทานข้าวเย็น เนื่องจากที่วัดจัดให้มีไม่พอ เวลาผ่านไปประมาณ ๓ ทุ่ม ก็บังเกิดปรากฏการณ์แปลกประหลาด ท้องฟ้าที่เคยแจ่มใส พลันก็เกิดเมฆดำทะมึนก่อตัวขึ้น สักครู่เสียงฟ้าร้อง ฟ้าผ่า พร้อมฝนห่าใหญ่ก็เทลงมา สายน้ำไหลเจิ่งนอง ประสานเสียงร้องของกบดังไปทั่ว มองลงไปที่ลานหน้ากุฏิ เต็มไปด้วยกบตัวใหญ่ๆ กระโดดโลดเต้นไปมา “ พวกเอ็งหิวไหมว๊ะ ” เสียงเอ่ยถามของหลวงพ่อ ทุกคนตอบเป็นเสียงเดียวกัน ” หิวขอรับ ” “ ถ้างั้นเอ็งรอเดี๋ยว กูจะลงไปแทงกบมาให้พวกเอ็งทำต้มยำกิน ” ว่าแล้วท่านก็คว้าฉมวกลงกุฏิไปอย่างรวดเร็ว พวกเขามองตามลงไปเห็นหลวงพ่อกำลังใช้ฉมวกทิ่มแทงกบตัวแล้วตัวเล่า อนิจจา!!! ศรัทธาของพวกเขาเริ่มเหือดหายไป แต่ด้วยความหิว คืนนั้นต้มยำกบหม้อใหญ่ก็ถูกกินจนเกือบหมดเช้าวันรุ่งขึ้น มีคนหนึ่งสงสัยว่า ต้มยำกบที่เขากินเมื่อคืนเป็นกบจริงๆ หรือเปล่า เขาจึงย่องเข้าไปดูในโรงครัว เมื่อเปิดฝาหม้อดู เขาก็ต้องผงะ ตกตลึงด้วยความอัศจรรย์ใจ ด้วยว่า สิ่งที่เห็นอยู่ในหม้อหาใช่กบไม่ แต่เป็นยอดกระถิน และใบมะขามอยู่เกือบครึ่งค่อนหม้อ เหตุการณ์นี้ถูกนำมาเล่าต่อๆ กันมาว่า หลวงพ่อท่านสร้างปาฏิหาริย์เสกใบไม้ให้กลายเป็นกบ จนกลายมาเป็นที่มาของนามท่าน “ หลวงพ่อกบ ”

ต้นตำรับพระสมเด็จปรกโพธิ์หลังยันต์ ๕...สหายธรรมหลวงพ่อกบ "หลวงพ่อใช้ วัดโบสถ์" นั่งกรรมฐาน ๗ เดือน ๗ ปี ๗ วัน ไม่สรงน้ำเลย..

หลวงพ่อกบ วัดเขาสาลิกา

ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ เจ้าของบทความ และที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้

 WISONIN.COM

เพื่อเผยแผ่กิตติคุณเป็นสังฆบูชา