ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.partiharn.com

เขย่าตำนาน ให้ตื่นอีกครั้ง!! แม่นาคพระโขนง เดอะมิวสิคัล สุดยอดละครเวทีแห่งยุค "นัท มีเรีย" ลั่น...นี่คือ บทบาทที่สำคัญที่สุดในชีวิต!! (คลิป)

 

             เรื่องราวของแม่นาคพระโขนงได้กลายเป็นบทประพันธ์ในรูปแบบการแสดงเป็นครั้งแรก เป็นบทละครร้องในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ ในชื่อ "อีนากพระโขนง" โดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ แสดงที่โรงละครปรีดาลัย (โรงเรียนตะละภัฏศึกษาในปัจจุบัน) ได้รับความนิยมอย่างมากจนต้องเปิดการแสดงติดต่อกันถึง ๒๔ คืนต่อมาในทางบันเทิง เรื่องราวของแม่นาคพระโขนงได้ถูกสร้างเป็นละครโทรทัศน์ ละครวิทยุ และภาพยนตร์หลายครั้ง โดยเรื่องราวของแม่นาคพระโขนงได้นำมาสร้างภาพยนตร์ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ โดยหม่อมราชวงศ์อนุศักดิ์ หัสดินทร์ แต่พอสร้างแล้วฉายจนฟิล์มเปื่อย ฟิล์มก็หล่นหายสาบสูญไปอย่างน่าเสียดาย อีกทั้งยังสร้างเป็นละครหรือภาพยนตร์ตลกล้อเลียนก็เคยมาแล้ว เช่น ละครเวทีโอเปร่าอำนวยการแสดงโดย สมเถา สุจริตกุล ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕

 

เขย่าตำนาน ให้ตื่นอีกครั้ง!! แม่นาคพระโขนง เดอะมิวสิคัล สุดยอดละครเวทีแห่งยุค "นัท มีเรีย" ลั่น...นี่คือ บทบาทที่สำคัญที่สุดในชีวิต!! (คลิป)
 

เขย่าตำนาน ให้ตื่นอีกครั้ง!! แม่นาคพระโขนง เดอะมิวสิคัล สุดยอดละครเวทีแห่งยุค "นัท มีเรีย" ลั่น...นี่คือ บทบาทที่สำคัญที่สุดในชีวิต!! (คลิป)

 

            หลังจากนั้นก็มีการใช้บทประพันธ์เรื่องแม่นาคพระโขนงก็ได้มีการนำมาเป็นละครโทรทัศน์ ละครวิทยุ ตลอดจนเป็นภาพยนตร์ และรวมไปถึงการนำไปแสดงเป็นละครเวที หลายครั้ง โดยครั้งล่าสุดของการนำเรื่องแม่นาคพระโขนงไปทำเป็นละครเวที เมื่อปี ๒๕๕๒ ซึ่งได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ในครั้งนั้นนำแสดงโดย ธีรนัยน์ ณ หนองคาย และ วรฤทธิ์ เฟื่องอารมย์ จนล่าสุดทาง ซีเนริโอ ได้นำ ละครเวที เรื่อง แม่นาคพระโขนง เดอะมิวสิคัล ซึ่งเคยเป็นปรากฏการณ์แห่งความสำเร็จเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๕๒ 

           นับว่านี่คือละครเวทีที่ถูกกล่าวขวัญว่าตื่นเต้นและตื่นตาตื่นใจมากที่สุดด้วยเทคนิคพิเศษต่างๆ มากมายในการเนรมิตบ้านผีสิงลอยได้ สังเวียนหมอผีและภูตพราย ฉากลอยกระทง ณ คลองพระโขนง และสุดยอดแห่งความทรงจำก็คือ ฉากที่แม่นาคเหาะข้ามหัวคนดูทั้งโรงละคร ปรากฏการณ์เหล่านี้กำลังจะกลับมาสู่เมืองไทยรัชดาลัยเธียเตอร์อีกครั้งในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยมีการปรับปรุงให้ทุกอย่างสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น มีลีลาการนำเสนอที่แปลกใหม่มากขึ้น แต่อรรถรสของการรับชมยังคงอยู่อย่างครบถ้วนเช่นเดิม โดยในการแสดงครั้งนี้ ได้นักแสดงอย่าง "นัท มีเรีย" กับบทบาทที่สำคัญที่สุดในชีวิตการแสดง และครั้งแรกบนเวทีเมืองไทยรัชดาลัยเธียเตอร์ของ "ตู่ ภพธร" พร้อมด้วยนักแสดงอีกคับคั่ง โดยเปิดแสดงที่เมืองไทยรัชดาลัยเธียเตอร์ ๑๖ พฤษภาคม ซื้อบัตรได้ที่ที่ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ทุกสาขา

เขย่าตำนาน ให้ตื่นอีกครั้ง!! แม่นาคพระโขนง เดอะมิวสิคัล สุดยอดละครเวทีแห่งยุค "นัท มีเรีย" ลั่น...นี่คือ บทบาทที่สำคัญที่สุดในชีวิต!! (คลิป)

 

            เรื่องราวของแม่นากพระโขนงปรากฏอยู่ทั่วไปตามความเชื่อของคนไทยร่วมสมัยและตราบจนปัจจุบัน เช่น เชื่อว่าชื่อสี่แยกมหานาค ที่เขตดุสิตในปัจจุบัน มาจากการที่แม่นากอาละวาดขยายตัวให้ใหญ่ และล้นเกล้ารัชกาลที่ ๔ ก็ยังเคยเสด็จทอดพระเนตรด้วย หรือ เชื่อว่าพระรูปที่มาปราบแม่นากได้นั้นคือสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นต้น อีกทั้งยังเชื่อว่าท่านเป็นคนเจาะกะโหลกที่หน้าผากของแม่นากทำเป็นปั้นเหน่ง เพื่อสะกดวิญญาณแม่นาก และได้สร้างห้องเพื่อเก็บปั้นเหน่งชิ้นนี้ไว้ต่างหาก หรือหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็ยังได้เขียนบันทึกเอาไว้ว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ ซึ่งเป็นสมัยที่ท่านยังเป็นเด็ก ท่านเคยเห็นเรือนของแม่นากด้วย เป็นเรือนลักษณะเหมือนเรือนไทยภาคกลางทั่วไปอยู่ติดริมคลองพระโขนง มีเสาเรือนสูง มีห้องครัวอยู่ด้านหลัง ซึ่งปัจจุบันนี้ได้ถูกรื้อถอนไปแล้ว  และยังเคยขึ้นไปบนศาลาการเปรียญของวัดมหาบุศย์ด้วย ในขณะนั้นศาลาการเปรียญหลังใหม่ บนฝ้าเพดานมีรอยเท้าเปื้อนโคลนคล้ายรอยเท้าคนเหยียบย่ำไปมาหลายรอย สมภารบอกว่าเป็นรอยเท้าของแม่นาก

            ถึงอย่างไร ความเชื่อเรื่องแม่นากพระโขนง ก็ยังปรากฏอยู่ในความเชื่อของคนไทย ณ วัดมหาบุศย์ ภายในซอยสุขุมวิท ๗๗ (ถนนอ่อนนุช) เขตสวนหลวง ปัจจุบันนี้ มีศาลแม่นากตั้งอยู่ ซึ่งเป็นที่สักการบูชาอย่างมากของบุคคลในและนอกพื้นที่ โดยบุคคลเหล่านี้จะเรียกแม่นากด้วยความเคารพว่า "ย่านาก" บ้างก็เชื่อว่าร่างของแม่นากถูกฝังอยู่ระหว่างต้นตะเคียนคู่ภายในศาล โดยมีผู้มาบนบานขอในสิ่งที่ตนต้องการเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเรื่องความรัก และเชื่อว่ายังมีผู้สืบเชื้อสายจากแม่นากมาจนถึงปัจจุบัน หนึ่งในนั้น คือ พีท ทองเจือ ดารานักแสดงชื่อดัง และสิ่งที่เชื่อว่าเป็นปั้นเหน่งที่ทำจากหน้าผากกะโหลกแม่นาก ปัจจุบันถูกครอบครองโดยนักสะสมพระเครื่องผู้หนึ่ง

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก :  เพจ Rachadalai

https://th.wikipedia.org/wiki/แม่นากพระโขนง