สตรีที่มีบุญอย่างยิ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์!! เปิดประวัติ "เจ้าจอมมารดาเปี่ยม" พระชนนีของพระอัครมเหสี ๓ พระองค์ ในพระพุทธเจ้าหลวง #น้อมรำลึก

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

สตรีที่มีบุญอย่างยิ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์!! เปิดประวัติ "เจ้าจอมมารดาเปี่ยม" พระชนนีของพระอัครมเหสี ๓ พระองค์ ในพระพุทธเจ้าหลวง #น้อมรำลึก

 

         วันที่ ๕ มีนาคม เป็นวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา หรือเจ้าจอมมารดาเปี่ยม พระสนมเอก ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมารดาของพระอัครมเหสีไทยถึงสามพระองค์คือ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี, สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ถือเป็นพระสัสสุ (แม่ยาย) ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระอัยยิกา (ยาย) ของพระมหากษัตริย์ไทยสองพระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ยังเป็นพระปัยยิกา (ย่าทวด) ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

          นับว่าพระองค์ทรงเป็นสตรีที่มีบุญอย่างยิ่งท่านหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย เกิดมาในครอบครัวที่มีเชื้อสายจีน ต่อมาได้รับราชการเป็นเจ้าจอมมารดา พระสนมของพระเจ้าแผ่นดิน มีธิดาได้เป็นพระอัครมเหสีถึง ๓ พระองค์ เป็นพระอัยยิกา (ยาย) ของพระเจ้าแผ่นดิน ๒ พระองค์ และเป็นพระปัยยิกา (ย่าทวด) ของพระเจ้าแผ่นดินอีก ๒ พระองค์

สตรีที่มีบุญอย่างยิ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์!! เปิดประวัติ "เจ้าจอมมารดาเปี่ยม" พระชนนีของพระอัครมเหสี ๓ พระองค์ ในพระพุทธเจ้าหลวง #น้อมรำลึก

(เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ-เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช-เจ้าจอมมารดาเปี่ยม)

 

            นามเดิมของท่านคือ คุณเปี่ยม เกิดในรัชกาลที่๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นธิดาของหลวงอาสาสำแดง (แตง) และท้าวสุจริตธำรง (นาค) ซึ่งทั้งทางฝ่ายบิดาและมารดาของคุณเปี่ยมนั้นมีเชื้อสายจีน ท่านได้เข้ารับราชการฝ่ายในเป็นพระสนมในรัชกาลที่ ๔ ประสูติโอรส ๓ พระองค์และธิดา ๓ พระองค์ จึงเป็นที่รู้จักกันในนามเจ้าจอมมารดาเปี่ยม

            เมื่อผลัดแผ่นดินเข้าสู่รัชกาลที่ ๕ ธิดาทั้ง ๓ พระองค์ของท่านซึ่งก็นับเป็นพระน้องนางต่างพระมารดาของรัชกาลที่ ๕ ด้วยนั้น ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอัครมเหสีทั้งสามพระองค์ แต่ต่างวาระกัน ก็คือสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ธิดาพระองค์ใหญ่นั้นได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอัครมเหสีภายหลังการสวรรคต จากเหตุการณ์เรือพระประเทียบล่ม ทำให้สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯ สวรรคตพร้อมด้วยพระธิดาและพระโอรสในพระครรภ์

           ส่วนธิดาพระองค์ที่๒ นั้นคือสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี นั้นได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอัครมเหสีภายหลังการสวรรคตของพระพี่นาง เพราะทรงเป็นพระราชชนนีของเจ้าฟ้าพระราชกุมารพระองค์ใหญ่ในรัชกาลที่๕

           ธิดาพระองค์ที่ ๓ พระองค์เล็กสุดคือสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถนั้นได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอัครมเหสีทีหลังพระพี่นางทั้งสองพระองค์ ภายหลังการสวรรคตของสยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกซึ่งเป็นพระโอรสของสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาฯ นั้น ตำแหน่งสยามมกุฎราชกุมารได้ตกแก่พระโอรสพระองค์ใหญ่ที่ประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีฯ เมื่อพระโอรสเป็นรัชทายาท ฐานะของพระราชชนนีจึงสูงขึ้นโดยปริยาย แต่รัชกาลที่๕ก็มิได้ลดตำแหน่งพระอัครมเหสีพระองค์เดิม แต่ตั้งตำแหน่งใหม่ขึ้นมาแทนคือตำแหน่งพระบรมราชินีนาถ ตำแหน่งพระบรมราชเทวีก็ยังทรงอิสริยยศดังเดิม เป็นพระอัครมเหสีคู่กันทั้งสองพระองค์
 

สตรีที่มีบุญอย่างยิ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์!! เปิดประวัติ "เจ้าจอมมารดาเปี่ยม" พระชนนีของพระอัครมเหสี ๓ พระองค์ ในพระพุทธเจ้าหลวง #น้อมรำลึก

 

           พระชนนีของพระอัครมเหสีทั้งสาม จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม ท่านมีหลานๆเป็นเจ้าฟ้าชั้นทูลกระหม่อมหลายพระองค์ ซึ่งเป็นพระราชโอรสธิดาในรัชกาลที่ ๕ ที่ประสูติจากพระอัครมเหสีทั้ง ๓ พระองค์ เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยมถึงแก่พิราลัยในปลายรัชกาลที่๕ เมื่อขึ้นรัชกาลที่๖ นั้นท่านมีฐานะเป็นพระอัยยิกา (ยาย) ของพระเจ้าแผ่นดิน รัชกาลที่ ๖ จึงโปรดให้สถาปนาอัฐิของพระอัยยิกาขึ้นเป็นเจ้านายในพระราชวงศ์จักรีด้วยพระองค์หนึ่ง มีพระนามว่า สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา

สตรีที่มีบุญอย่างยิ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์!! เปิดประวัติ "เจ้าจอมมารดาเปี่ยม" พระชนนีของพระอัครมเหสี ๓ พระองค์ ในพระพุทธเจ้าหลวง #น้อมรำลึก

 

          อนึ่งเมื่อคนไทยมีนามสกุลใช้เป็นครั้งแรกในรัชกาลที่๖ ก็ได้พระราชทานนามสกุลแก่ผู้สืบเชื้อสายจากหลวงอาสาสำแดง (แตง) และท้าวสุจริตธำรง(นาค) ซึ่งเป็นราชินิกุลในรัชกาลนั้นว่า สุจริตกุล ตามราชทินนามของท้าวสุจริตธำรง (นาค) ผู้มีอายุยืนยาวกว่าหลวงอาสาสำแดงผู้สามี ได้มีชีวิตอยู่จนทันได้เห็นเหลนท่านเป็นเจ้าฟ้าหลายพระองค์นั่นเอง

          ในรัชกาลที่ ๗ สมเด็จพระปิยมาวดีฯ ก็ยังคงมีพระฐานะเป็นพระอัยยิกา (ยาย) ในรัชกาลที่ ๗ อยู่และนอกจากนี้ก็ยังทรงเป็นพระอัยยิกา (ย่า) ของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลนั้นอีกด้วย ต่อมาในรัชกาลที่ ๘ และรัชกาลปัจจุบันนั้นทรงมีพระฐานะเป็นพระปัยยิกา (ทวด,แม่ของย่า) นอกจากนี้ในส่วนของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลปัจจุบันนั้น สมเด็จพระปิยมาวดีฯ ก็นับเป็นพระบุพการีสายตรงของสมเด็จพระนางเจ้าฯ ด้วยเช่นกัน เนื่องจากหม่อมเจ้าหญิงอัปษรสมาน กิติยากร พระอัยยิกา (ย่า) ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถนั้น ประสูติเป็นหม่อมเจ้าหญิงในราชสกุลเทวกุล และเป็นนัดดา (หลานย่า) ของสมเด็จพระปิยมาวดีฯ ด้วยเช่นกัน นับว่าเป็นสตรีที่มีบุญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ไทยยุคใกล้ ยากที่จะหาผู้ใดมาเทียบได้

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก :