สมเด็จครูแห่งช่างทั้งปวง!! ๑๐ มีนาคม วันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ "สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์" ผู้ออกแบบพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท !!

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

                สมเด็จครูแห่งช่างทั้งปวง!! ๑๐ มีนาคม วันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ "สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์" ผู้ออกแบบพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท !!

 

                 เนื่องในวันที่ ๑๐ มีนาคม เป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นพระราชโอรสลำดับที่ ๖๒ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระมารดาคือ พระสัมพันธวงศ์เธอพระองค์เจ้าหญิงพรรณราย ประสูติเมื่อวันอังคารที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๐๖ และทรงเป็นต้นราชสกุล “จิตรพงศ์” 

                  ในด้านหนึ่ง ทรงเป็นเจ้าฟ้าฯผู้เชี่ยวชาญศิลปะแขนงต่างๆ ทั้งวิจิตรศิลป์ สถาปัตยศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และวรรณศิลป์ ในช่วงเวลาที่กระแสอารยธรรมตะวันตกถาโถมเข้าใส่สยาม ศิลปะของเราซึ่งมีระเบียบแบบแผนขนบธรรมเนียมเคร่งครัด ต้องเผชิญหน้ากับการท้าทายจากอิทธิพลของศิลปะตะวันตก พระองค์ทรงประยุกต์ปรับปรุงวิจิตรศิลป์ซึ่งเป็นศิลปะประจำชาติไทยด้วยการศึกษาเชิงลึกถึงรากเหง้า และคลี่คลายรูปแบบทางศิลปะให้มีความเป็นสากลจนเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก อันเป็นการประกาศถึงความเป็นอารยประเทศที่มีรากฐานทางศิลปวัฒนธรรมอันงดงามไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าชาติใดในโลก 

                  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นเจ้าฟ้าผู้ทรงพระปรีชาสามารถในวิชาการหลายแขนง ทรงเป็นปราชญ์ทางอักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ดนตรี และงานช่าง พระองค์มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าจิตรเจริญ ทรงได้รับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนคะเด็ตทหาร จากนั้นผนวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร หลังจากนั้นทรงศึกษาวิชาการต่าง ๆ และราชประเพณี ตลอดพระชนม์ชีพทรงอุทิศเวลาให้แก่การสร้างสรรค์ “งานช่าง” หลากสาขา ผลงานที่ทรงรังสรรค์ไว้นับเป็นต้นแบบและแรงบันดาลใจที่สำคัญให้แก่ช่างและศิลปินในยุคหลัง ทรงเป็นกำลังสำคัญในการอนุรักษ์มรดกศิลปกรรมไทย และทรงส่งเสริมผู้มีความรู้ความสามารถให้เป็นกำลังสำคัญในการสืบทอดมรดกงานช่างศิลป์ไทยจนได้รับยกย่องให้เป็น

"สมเด็จครู" ของช่างทั้งปวง

สมเด็จครูแห่งช่างทั้งปวง!! ๑๐ มีนาคม วันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ "สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์" ผู้ออกแบบพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท !!

 

                ตราประจำพระองค์ รูปราชสีห์ถือดาบ บริเวณขอบมีอักษรภาษาบาลี “กตัสส นัตถิ ปฎิการํ ปเควตํปริกันตํ”แปลว่า สิ่งที่ทำแล้ว จะทำคืนมิได้ จงพิจารณาสิ่งที่จะทำนั้นก่อน ตราดวงนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้ และทรงยืดเป็นหลักธรรมประจำพระองค์มาตลอดพระชนม์ชีพ อักษรพระนาม "น ในดวงใจ" อักษร "น" ย่อมาจากพระนาม "นริศ" ส่วนรูปหัวใจหมายถึงพระนามเดิม "พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าจิตรเจริญ" ซึ่งได้รับพระราชทานจากพระราชบิดา (รัชกาลที่ ๔) อีกด้านหนึ่ง ทรงเป็นเสนาบดีสี่กระทรวง ผู้นำทางทหาร ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ฯ และรัฐบุรุษผู้ทรงพระปรีชา และมีคุณูปการต่อประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง ดังจะเห็นได้จากเมื่อครั้งที่มีการจัดตั้งกรมโยธาธิการขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๒

               พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นเจ้ากรมหรืออธิบดีกรมฯ พระองค์แรก ด้วยทรงมีคุณสมบัติเหมาะสมในการทำหน้าที่สนองพระบรมราโชบาย และเมื่อกรมฯแห่งนี้ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวง ก็ทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ ทำหน้าที่ควบคุมดูแลงานโยธาและงานก่อสร้างทั่วประเทศ พระองค์ทรงอุตสาหะศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมทั้งงานช่างแผนเก่าและแผนใหม่ทั้งวิทยาการด้านการก่อสร้าง การรถไฟ และการสื่อสารโทรคมนาคม จนได้รับพระสมัญญานามว่า “นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม” อีกทั้งยังได้บริหารงานราชาการโดยทรงกำหนดนโยบายการทำงานที่ว่า  “...กิจการของรัฐบาล ควรแบ่ง เป็น 3 ข้อ คือปกครองฝ่ายหนึ่ง ป้องกันฝ่ายหนึ่ง ทะนุบำรุงฝ่ายหนึ่ง...” และวางรากฐานงานใหม่ๆ อันเป็นต้นแบบให้หน่วยงานอื่นปฏิบัติสืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน

 

 

      สมเด็จครูแห่งช่างทั้งปวง!! ๑๐ มีนาคม วันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ "สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์" ผู้ออกแบบพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท !!

 

           นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมีผลงานออกแบบซ่อมสร้างอีกมากมาย อาทิ หมู่พระที่นั่งในพระบรมมหาราชวัง โดยเฉพาะพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และปราสาทเทพบิดร ออกแบบพระที่นั่งราชฤดี ประตูและกำแพงวังท่าพระ รวมถึงงานสถาปัตยกรรมชิ้นเอกอีกหลายแห่ง อาทิ วัดเบญจมบพิตร อุโบสถวัดราชาธิวาส ออกแบบพระเมรุมาศในงานพระศพของพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ และทรงทูลขอปรับปรุงพื้นที่สนามหลวงให้เป็นพื้นที่ประกอบพระราชพิธีต่างๆ จัดงานสำคัญ รวมถึงเป็นศูนย์รวมให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ ร่วมชุมชน จัดกิจกรรม การแสดง และการละเล่นมหรสพต่างๆ ดังที่ได้เห็นกันอยู่ในทุกวันนี้
       

          สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ ๒ วาระ ครั้งแรกเมื่อกรมฯ ยกฐานะเป็นกระทรวงในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ และทรงกลับมาบริหารกระทรวงแห่งนี้อีกครั้งในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๔๒-๒๔๔๘   ส่วนมูลเหตุที่ต้องทรงเปลี่ยนไปบริหารส่วนราชการหลายกระทรวงนั้น สะท้อนให้เห็นได้จากความในพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ว่า

"...การที่ต้องทรงย้ายรับราชการเป็นหลายกระทรวงนั้น เพราะทรงพระปรีชาสามารถอาจวางเนติแบบอย่างในราชการให้เป็นบรรทัดฐานมั่นคง ดำเนินในทางที่ควรที่ชอบได้มีพระอัธยาศรัยมั่นคงองอาจมิได้หวาดไหว ดำรงอยู่ในความสัตย์สุจริตเป็นที่ตั้ง..."

สมเด็จครูแห่งช่างทั้งปวง!! ๑๐ มีนาคม วันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ "สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์" ผู้ออกแบบพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท !!

 

พระราชกรณียกิจ  ด้านราชการ

          พระองค์ทรงเป็นเสนาบดีหลายกระทรวงทั้งกระทรวงโยธาธิการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงกลาโหม กระทรวงวัง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรีที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน อุปนายกราชบัณฑิตยสภา แผนกศิลปากร และพระองค์ยังได้รับการแต่งให้ให้ดำรงตำแหน่งผู้กำกับการพระราชวงศ์ มีหน้าที่สนองพระเดชพระคุณในพระราชกรณียกิจส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระราชวงศ์พระองค์ใดที่มีกิจที่ไม่ต้องกราบบังคมทูลพระกรุณาก็ให้ติดต่อกราบบังคมทูลต่อพระองค์แทน  นอกจากนี้ ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จยังต่างประเทศ พระองค์ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๖ จนกระทั่ง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ พระองค์จึงพ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

 ด้านศิลปกรรม

            งานสถาปัตยกรรมที่โปรดทำมากคือ แบบพระเมรุ โดยตรัสว่า "เป็นงานที่ทำขึ้นใช้ชั่วคราวแล้วรื้อทิ้งไป เป็นโอกาสได้ทดลองใช้ปัญญาความคิดแผลงได้เต็มที่ จะผิดพลาดไปบ้างก็ไม่สู้กระไร ระวังเพียงอย่างเดียวคือเรื่องทุนเท่านั้น"

ด้านสถาปัตยกรรม

           งานด้านสถาปัตยกรรมเป็นงานที่พระองค์ทรงพิถีพิถันอย่างมาก เพราะตรัสว่า "ต้องระวังเพราะสร้างขึ้นก็เพื่อความพอใจ ความเพลิดเพลินตา ไม่ใช่สร้างขึ้นเพื่ออยากจะรื้อทิ้ง ทุนรอนที่เสียไปก็ใช่จะเอาคืนมาได้ ผลที่สุดก็ต้องทิ้งไว้เป็นอนุสาวรีย์สำหรับขายความอาย"การออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ การออกแบบก่อสร้างอาคารเรียนโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร เริ่มก่อสร้างเมื่อ วันที่ ๔ มิถุนายน รัตนโกสินทรศก ๑๒๑(พ.ศ. ๒๔๔๕)หรือ ร.ศ. ๑๒๑

ด้านภาพจิตรกรรม

          ภาพเขียนสีน้ำมันประกอบพระราชพงศาวดาร แผ่นดินพระเจ้าท้ายสระครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นภาพช้างทรงพระมหาอุปราชแทงช้างพระที่นั่ง ภาพเขียนรถพระอาทิตย์ที่เพดานพระที่นั่งภานุมาศจำรูญ (พระที่นั่งบรมพิมาน) ภาพประกอบเรื่องธรรมาธรรมะสงคราม ภาพแบบพัดต่างๆ ฯลฯ

 

งานออกแบบ

           ออกแบบตรากระทรวงต่างๆ, อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1, องค์พระธรณีบีบมวยผมที่เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา พระบรมรูปหล่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชที่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า และทรงออกแบบพระเมรุมาศ และพระเมรุของพระบรมวงศ์หลายพระองค์

 

สมเด็จครูแห่งช่างทั้งปวง!! ๑๐ มีนาคม วันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ "สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์" ผู้ออกแบบพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท !!

 

              นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมีผลงานออกแบบซ่อมสร้างอีกมากมาย อาทิ หมู่พระที่นั่งในพระบรมมหาราชวัง โดยเฉพาะพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และปราสาทเทพบิดร ออกแบบพระที่นั่งราชฤดี ประตูและกำแพงวังท่าพระ รวมถึงงานสถาปัตยกรรมชิ้นเอกอีกหลายแห่ง อาทิ วัดเบญจมบพิตร อุโบสถวัดราชาธิวาส ออกแบบพระเมรุมาศในงานพระศพของพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ และทรงทูลขอปรับปรุงพื้นที่สนามหลวงให้เป็นพื้นที่ประกอบพระราชพิธีต่างๆ จัดงานสำคัญ รวมถึงเป็นศูนย์รวมให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ ร่วมชุมชน จัดกิจกรรม การแสดง และการละเล่นมหรสพต่างๆ  ดังที่ได้เห็นกันอยู่ในทุกวันนี้

               ตลอดพระชนม์ชีพของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงสร้างคุณูปการต่อประเทศชาติ ทั้งในงานด้านช่างและศิลปะทุกแขนง การพัฒนาเพื่อความเจริญมั่นคงของชาติและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน มีผลงานเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของผู้คน แม้พระองค์จะสิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ด้วยพระชันษา ๘๓ ปี ๑๐ เดือน ๑๒ วัน แต่ในวาระ ๑๐๐ ปีพระชาตกาลของพระองค์ ทรงได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(UNESCO) ในฐานะที่เป็น “ บุคคลสำคัญของโลก” และได้จัดตั้ง “ทุนนริศรานุวัดติวงศ์” สำหรับบำรุงและสนับสนุนการศึกษาด้านศิลปะ

 

              

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ_เจ้าฟ้าจิตรเจริญ_กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์