บุญญาธิการแห่งแผ่นดิน!! เมื่อกษัตริย์สองพระองค์ บิณฑบาตรร่วมกัน เปิดคำทำนายซินแส ผู้รู้ชะตากรรม "พระสินและพระทองด้วง" แม่นยำราวกับตาเห็น!!

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

บุญญาธิการแห่งแผ่นดิน!! เมื่อกษัตริย์สองพระองค์ บิณฑบาตรร่วมกัน เปิดคำทำนายซินแส ผู้รู้ชะตากรรม "พระสินและพระทองด้วง" แม่นยำราวกับตาเห็น!!

 

             จากกระแสละครชื่อดังแห่งยุคอย่าง บุพเพสันนิวาส ที่เป็นละครพิเรียดย้อนยุค โดยเนื้อเรื่องเป็นเรื่องราวในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยละครเรื่องนี้เป็นละครที่มีเนื้อเรื่องสนุกสนานและแฝงไปด้วยความรู้ในเรื่องของประวัติศาสตร์ ความน่าสนใจของละครเรื่องนี้เป็นตัวละครที่มีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์ นอกจากนี้สถานที่ที่ละครได้ไปถ่ายทำก้เป็นวัดที่มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะเป็นโบราณสถานที่สำคัญ จากกระแสนี้เองทำให้มีคนหลั่งไหลเข้าไปเที่ยวตามรอยละคร บุพเพสันนิวาสกันเป็นจำนวนมาก 

 

บุญญาธิการแห่งแผ่นดิน!! เมื่อกษัตริย์สองพระองค์ บิณฑบาตรร่วมกัน เปิดคำทำนายซินแส ผู้รู้ชะตากรรม "พระสินและพระทองด้วง" แม่นยำราวกับตาเห็น!!

บุญญาธิการแห่งแผ่นดิน!! เมื่อกษัตริย์สองพระองค์ บิณฑบาตรร่วมกัน เปิดคำทำนายซินแส ผู้รู้ชะตากรรม "พระสินและพระทองด้วง" แม่นยำราวกับตาเห็น!!

 

            คงจำกันได้ว่า ... ละครบุพเพสันนิวาส จะมีตอนที่เกศสุรางค์ (ในร่างการะเกด) ไปทำบุญกรวดน้ำให้การะเกดที่วัด วัดที่เกศสุรางค์ไปทำบุญนี้ มีอยู่จริง ... วัดนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น วัดคอยท่า วัดตีนท่า วัดโกษาวาสน์ วัดติณ และ วัดเชิงท่า เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง แต่ไม่ปรากฏชื่อของผู้สร้าง

            มีเรื่องเล่าว่า เศรษฐีผู้หนึ่งปลูกเรือนหอเตรียมไว้ให้ลูกสาวแต่งงาน แต่ลูกหนีไปกับผู้ชาย ทำให้สร้างเรือนหอรอคอยเก้อ ต่อมาเศรษฐีได้รื้อเรือนหอมาถวายวัด จึงเรียก "วัดคอยท่า" และด้วยวัดนี้ตั้งอยู่ใกล้ท่าเรือปากคลองท่อ ชาวบ้านบางคนจึงเรียกว่า วัดตีนท่า (ท่าน้ำ) และในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ การเดินทางไกลข้ามทวีปถือเป็นเรื่องอันตรายมาก คณะทูตชุดแรกที่ส่งไปฝรั่งเศสนั้น เรือแตกระหว่างทาง เกือบเอาชีวิตไม่รอด ดังนั้นเมื่อโกษาปานเป็นทูต (ชุดที่ ๒) ที่จะไปฝรั่งเศส และกลับมาพร้อมผลงาน นับเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ จึงได้มีการบูรณะวัดนี้เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง และได้ให้ชื่อว่า วัดโกษาวาสน์

            ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเพทราชาขึ้นครองราชย์ (ในเรื่องคือ ออกพระเพทราชา พ่อของ หลวงสรศักดิ์) ได้ใช้วัดนี้เป็นจุดพักรวบรวมหญ้า รอขนหญ้าเข้าวัง ซึ่งสมัยนั้นต้องใช้หญ้าจำนวนมาก เพราะมีช้างและม้ามากมาย จนต้องมีกรมคชบาล คอยดูแลช้าง ชาวบ้านบางคนจึงเรียกวัดนี้ว่า วัดติณ (ติณ แปลว่า หญ้า) ต่อมาในสมัยพระเจ้าบรมโกศ (โอรสของพระเจ้าเสือหรือหลวงสรศักดิ์) เจ้าพระยาจักรีได้นำบุตรบุญธรรมชื่อสิน มาฝากที่วัดนี้เพื่อศึกษาเล่าเรียน

 

บุญญาธิการแห่งแผ่นดิน!! เมื่อกษัตริย์สองพระองค์ บิณฑบาตรร่วมกัน เปิดคำทำนายซินแส ผู้รู้ชะตากรรม "พระสินและพระทองด้วง" แม่นยำราวกับตาเห็น!!

 

             เด็กชายสินเป็นเด็กแก่นกล้าถึงขั้นเล่นพนันในวัด พระอาจารย์จึงลงโทษด้วยการจับเด็กชายสินมัดกับบันไดท่าน้ำ จากนั้นพระอาจารย์ได้ไปทำงานอื่น ๆ จนลืมเรื่องนี้ จน ๓ ทุ่มกว่า จึงนึกได้ว่ามัดเด็กติดไว้กับบันไดท่าน้ำ และช่วงเย็นเป็นเวลาน้ำขึ้น เด็กคงจมน้ำตายแน่ๆ พระอาจารย์รีบกลับไปที่บันไดท่าน้ำ แต่หาเด็กชายสินไม่พบ จนให้คนช่วยกันหา และได้พบว่า ตัวบันไดไม้ได้หลุดออก และลอยไปอยู่ฝั่งตรงข้าม โดยเด็กชายสินยังถูกมัดติดกับบันไดอยู่ พระอาจารย์จึงรีบแก้มัดพาเด็กชายสินไปในโบสถ์ แล้วพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายสวดพระพุทธมนต์ชัยมงคลคาถาให้เด็กชายสินเป็นการรับขวัญ

บุญญาธิการแห่งแผ่นดิน!! เมื่อกษัตริย์สองพระองค์ บิณฑบาตรร่วมกัน เปิดคำทำนายซินแส ผู้รู้ชะตากรรม "พระสินและพระทองด้วง" แม่นยำราวกับตาเห็น!!

 

            ต่อมาเด็กชายสินได้เข้ารับราชการ จนอายุครบ ๒๐ ปี จึงกลับมาบวชที่วัดนี้อยู่นานถึง ๓ พรรษา ที่วัดนี้พระภิกษุสินได้พบพระภิกษุอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน ชื่อ ทองด้วง วันหนึ่ง พระสินและพระทองด้วง ออกเดินบิณฑบาตพร้อมกัน เมื่อเดินไปถึงมุมโบสถ์พราหมณ์ ถนนชีกุญ และได้พบซินแส (หมอดูชาวจีน) ท่านหนึ่ง ... ซินแสเห็นพระสองรูปแล้วหัวเราะ พร้อมพูดว่า ไม่น่าเชื่อเลยที่ได้เห็นกษัตริย์สององค์ มาเดินบิณฑบาตด้วยกันอย่างนี้ ต่อไปภายหน้า ท่านทั้งสองจะต้องได้เป็นกษัตริย์อย่างแน่นอน ซึ่งต่อมาพระทั้งสองรูปต่างรับราชการจนก้าวหน้าในการงาน ซึ่ง พระสิน คือ พระเจ้าตากสิน และ พระทองด้วง คือ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) นั่นเองและในช่วงที่พระสินบวชอยู่นี้ พระเจ้าบรมโกศได้โปรดให้บูรณะวัดนี้อีกครั้ง และให้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดเชิงท่า ปัจจุบันอยู่ใน ต.ท่าวาสุกรี อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : เพจ เรารักอยุธยา, อภินิหารบรรพบุรุษ