ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

 

 

           กำลังเป็นประเด็นร้อนในโลกโซเชียล ประเด็นที่ว่า บาปหรือไม่ ตามหลักพุทธศาสนากับหน้าที่ของเพชฌฆาต สืบดูตามตำราแล้ว ในสมัยพุทธกาลก็มีประเด็นนี้เช่นกัน เรื่องมีอยู่ว่า  พระภิกษุรูปหนึ่ง เดินไปเห็นนักโทษกำลังจะถูกประหาร ก็เกิดความรู้สึกสงสาร เลยไปบอกเพชฌฆาตว่าให้ช่วยลงมือไวๆ เอาแบบดาบเดียวจบไปเลย เพชฌฆาตก็รับคำ แล้วจัดการประหารจนสำเร็จ ภิกษุก็นำความไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านก็ตัดสินให้ภิกษุนั้น “ปราชิก”

 

กฏแห่งกรรมยุติธรรมเสมอ!! ฆ่าคนตายเพราะหน้าที่บาปหรือไม่ ?!! ย้อนเล่าเรื่องวิญญาณระลึกชาติ บทพิสูจน์ กรรมเก่า..ทรมานนักโทษ!! (คลิป)

 

 

 

 ๒๒๕]  ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปสู่ตะแลงแกง ได้พูดกะนายเพชฌฆาตว่า

         อาวุโส ท่านอย่าให้นักโทษคนนี้ลำบากเลย จงปลงชีวิตด้วยการฟันทีเดียวตายเถิด เพชฌฆาต รับคำว่า ดีละ ขอรับ แล้วปลงชีวิตด้วยการฟันทีเดียวตาย ภิกษุนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า

ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว

 

           อย่างไรก็ดี นั่นเป็นที่มาของวินัยในพระภิกษุสงฆ์  (ซึ่งความเห็นผู้เขียนเอง พระพุทธองค์ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วจึงได้ตัดสินพระทัยแบบนั้น) ส่วนอาชีพเพชฌฆาตเป็นอาชีพของฆราวาส และก็เป็นอาชีพที่สุจริต ซึ่งหากเราพิจารณา ให้ตรงตามหลักพุทธศาสนา การที่ “ใจ” เป็นประธานของทุกสิ่ง นั่นหมายถึง “เจตนา” นั่นเอง เจตนาฆ่าเพราะหน้าที่  แต่ใจ ไม่ได้มีความโกรธแค้น ไม่ได้ฆ่าด้วยอาฆาต พยาบาท อยากล้างแค้นเอาคืน กล่าวโดยสรุปคือไม่ได้มีความเกลียดชังกันในเรื่องส่วนตัว ไม่ได้ฆ่าด้วยความโลภอยากได้ทรัพย์สินของผู้อื่น  ถึงแม้ว่าจะต้องลงมือไปทาง “กายกรรม” แต่ “วจีกรรม” (ไม่ได้ใส่ร้ายป้ายสีให้ถึงแก่ความตาย ) และ “มโนกรรม”  ยังบริสุทธิ์ ซึ่งมโนกรรมนี้เอง ว่าจะรักษาใจอันบริสุทธิ์ไม่มีกิเลสเข้ามาเกี่ยวข้องได้หรือไม่ 

 

       ซึ่งจากข่าวที่นำเสนอ เจ้าหน้าที่ทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง ยังมีความปรารถนาดี มีเมตตา ต้องการให้ผู้วายชนม์ ไปสู่ภพภูมิที่ดีตามศาสนาของตน (รายละเอียดตามที่ “ยุทธ บางขวาง” โพสต์เล่าไว้ที่เฟซบุ๊ค)

 

กฏแห่งกรรมยุติธรรมเสมอ!! ฆ่าคนตายเพราะหน้าที่บาปหรือไม่ ?!! ย้อนเล่าเรื่องวิญญาณระลึกชาติ บทพิสูจน์ กรรมเก่า..ทรมานนักโทษ!! (คลิป)

 

          ซึ่งเรื่องของกรรมในลักษณะนี้ ก็เคยมีบันทึกไว้ ในเรื่อง  “พิมพวดี” เด็กหญิงระลึกชาย โดย "นายแพทย์อาจินต์ บุณยเกตุ" อดีตแพทย์ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลวชิระ จังหวัดภูเก็ต บิดาของ เด็กหญิงพิมพวดี โหสกุล ในอดีตชาติ และได้กลับมาเกิดใหม่ในชาตินี้และได้เสียชีวิตตั้งแต่เยาว์ แต่วิญญาณของ พิมพวดี โหสกุล ไม่ได้ไปเกิดในภพใหม่ ยังคงเฝ้าวนเวียนอยู่ในโลกทิพย์ และวิญญาณของเธอได้มาช่วย "นายแพทย์อาจินต์ บุณยเกตุ"  บิดาเมื่อชาติที่แล้ว เมื่อครั้งต้องผ่าตัดประสาทสมอง ซึ่งต้องทนทุกข์ทรมานมานานกว่า 10 ปี เนื่องจากผลกรรมที่เคยทรมานนักโทษไว้ ซึ่งครั้งหนึ่งเรื่องนี้เคยเผยแพร่ในรายการตี 10 แขกในรายการคือ ภรรยาและลูกของคุณหมออาจินต์ก็มาออกรายการด้วย

 

กฏแห่งกรรมยุติธรรมเสมอ!! ฆ่าคนตายเพราะหน้าที่บาปหรือไม่ ?!! ย้อนเล่าเรื่องวิญญาณระลึกชาติ บทพิสูจน์ กรรมเก่า..ทรมานนักโทษ!! (คลิป)

 

 

 

          นอกจากนี้ผู้ร่วมรายการอีกท่านก็เป็นนายแพทย์นักพูดชื่อดัง ที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องจิตวิญญาณ ชาติภพ และการปฏิบัติสมาธิกรรมฐาน  คือ “พงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา”  นายแพทย์ ได้ออกมายืนยันว่า การการต้องลงโทษกระทำตามหน้าที่นั้นไม่บาป แต่กรณีของคุณหมออาจินต์นั้น ได้ทรมานคนที่เขาไม่มีความผิด จึงได้รับผลกรรมนั้น ส่วนความดีที่ทำไว้มากก็ส่งผลมาด้วยเช่นเดียวกัน

 

กฏแห่งกรรมยุติธรรมเสมอ!! ฆ่าคนตายเพราะหน้าที่บาปหรือไม่ ?!! ย้อนเล่าเรื่องวิญญาณระลึกชาติ บทพิสูจน์ กรรมเก่า..ทรมานนักโทษ!! (คลิป)

 

         ทั้งนี้ แม้เรื่องของกรรมออกจะเป็นเรื่องซับซ้อน แต่เรื่องกฎแห่งกรรมเป็นเรื่องที่ตรงไปตรงมาเสมอ เป็นกฎที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติและส่งผลยุติธรรม เที่ยงตรง ด้วยเหตุว่า กฎแห่งกรรม คือ กฎธรรมชาติ ข้อหนึ่ง ที่ว่าด้วยการกระทำ และผลแห่งการกระทำ ซึ่ง การกระทำและ ผลแห่งการกระทำนั้น ย่อมสมเหตุ สมผลกัน เช่น ทำดี ย่อมได้รับผลดี ทำชั่ว ย่อมได้รับผลชั่ว เป็นต้น

กรรมใดใครก่อ ตนเองเท่านั้นที่จะได้รับผลของสิ่งที่กระทำ

กรรมในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการกระทำในอดีต และกรรมที่ก่อไว้ในปัจจุบันเป็นเหตุที่จะส่งผลสืบเนื่องต่อไปยังอนาคต

 

กฏแห่งกรรมยุติธรรมเสมอ!! ฆ่าคนตายเพราะหน้าที่บาปหรือไม่ ?!! ย้อนเล่าเรื่องวิญญาณระลึกชาติ บทพิสูจน์ กรรมเก่า..ทรมานนักโทษ!! (คลิป)

 

กรรมดี-กรรมชั่ว ลบล้างซึ่งกันและกันไม่ได้

         ถึงแม้ว่าการทำกรรมดีจะลบล้างกรรมชั่วเก่าที่มีอยู่เดิมไม่ได้ แต่มีส่วนช่วยให้ผลจากกรรมชั่วที่มีอยู่เดิมผ่อนลง คือ การผ่อนหนักให้เป็นเบา (ข้อนี้ อุปมาได้กับ การที่เรามีน้ำขุ่นข้นอยู่แก้วหนึ่ง หากเติมน้ำบริสุทธิ์ลงไปแล้ว มิสามารถทำให้น้ำขุ่นกลับบริสุทธิ์ได้ แต่ทำให้น้ำขุ่นข้นนั้นกลับเจือจางลงและใสยิ่งขึ้นกว่าเดิม) สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้ 

 

 

ขอบคุณบทความจาก อ.ทิพย์วารี เมืองจำนงค์

ขอบคุณคลิปจาก : Youtube Chatchay Bunbal