จำไว้ให้ขึ้นใจ! สพฉ.เปิดวิธีเอาตัวรอดจาก "ภัยเรือล่ม" เทคนิคใส่เสื้อชูชีพแบบถูกต้อง สังเกต เตรียมพร้อม วิธีออกจากเรือ!! (รายละเอียด)

สืบเนื่องจากกรณีเหตุเรือท่องเที่ยว ฟีนิกซ์ พีซีไดฟ์วิ่ง ถูกมรสุมซัดล่มกลางทะเล จ.ภูเก็ต เพราะคลื่นลมแรง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากนั้น สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ จึงได้แนะนำวิธีเอาตัวรอดจากภัยเรือล่ม ดังนี้

สืบเนื่องจากกรณีเหตุเรือท่องเที่ยว ฟีนิกซ์ พีซีไดฟ์วิ่ง ถูกมรสุมซัดล่มกลางทะเล จ.ภูเก็ต เพราะคลื่นลมแรง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากนั้น สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ จึงได้แนะนำวิธีเอาตัวรอดจากภัยเรือล่ม ดังนี้

จำไว้ให้ขึ้นใจ! สพฉ.เปิดวิธีเอาตัวรอดจาก "ภัยเรือล่ม" เทคนิคใส่เสื้อชูชีพแบบถูกต้อง สังเกต เตรียมพร้อม วิธีออกจากเรือ!! (รายละเอียด)

จำไว้ให้ขึ้นใจ! สพฉ.เปิดวิธีเอาตัวรอดจาก "ภัยเรือล่ม" เทคนิคใส่เสื้อชูชีพแบบถูกต้อง สังเกต เตรียมพร้อม วิธีออกจากเรือ!! (รายละเอียด)
 

จำไว้ให้ขึ้นใจ! สพฉ.เปิดวิธีเอาตัวรอดจาก "ภัยเรือล่ม" เทคนิคใส่เสื้อชูชีพแบบถูกต้อง สังเกต เตรียมพร้อม วิธีออกจากเรือ!! (รายละเอียด)

1. ก่อนเดินทาง เลือกโดยสารเรือที่มีสภาพปลอดภัย ไม่มีผู้โดยสารจำนวนมากหรือบรรทุกน้ำหนักเกิน และมีอุปกรณ์ช่วยชีวิตทางน้ำ อาทิ เสื้อชูชีพ ห่วงยาง ไว้บริการผู้โดยสาร หากว่ายน้ำไม่เป็น ควรแจ้งนายท้ายเรือและผู้ควบคุมเรือทราบ จะได้รับการช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน แต่งกายให้เหมาะสมกับการโดยสารเรือ สวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่อุ้มน้ำและถอดง่าย ไม่สวมรองเท้าหุ้มส้นหรือชนิดผูกเชือก หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หากเกิดเหตุฉุกเฉิน จะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้อย่างปลอดภัย

ขณะเดินทางให้ยืนรอเรือบนฝั่งหรือท่าเทียบเรือ ไม่ยืนรอบนโป๊ะที่มีคนจำนวนมาก เพราะเสี่ยงต่อการเกิดโป๊ะพลิกคว่ำ รวมถึงไม่หยอกล้อเล่นกันระหว่างรอเรือ เพราะอาจพลัดตกน้ำได้ การขึ้น – ลงเรือ ควรรอให้เรือจอดเทียบท่าให้เรียบร้อย จึงเดินขึ้น – ลงเรืออย่างเป็นระเบียบ ไม่ลุกขึ้นยืนพร้อมกัน เพราะเรือจะรับน้ำหนักข้างเดียวมากเกินไป ส่งผลให้เรือล่มได้ หากเรือมีคนจำนวนมาก ควรใช้บริการเรือลำอื่น

 

จำไว้ให้ขึ้นใจ! สพฉ.เปิดวิธีเอาตัวรอดจาก "ภัยเรือล่ม" เทคนิคใส่เสื้อชูชีพแบบถูกต้อง สังเกต เตรียมพร้อม วิธีออกจากเรือ!! (รายละเอียด)

2. การโดยสารเรือควรกระจายการนั่งให้เกิดความสมดุล ไม่ยืนบริเวณท้ายเรือ ไม่นั่งบริเวณกราบเรือหรือหลังคาเรือ ไม่นั่งรวมกลุ่มบริเวณข้างใดข้างหนึ่งของเรือ รวมถึงสวมเสื้อชูชีพตลอดเวลาที่โดยสารเรือ หากเกิดเหตุฉุกเฉินเรือล่มหรือพลัดตกเรือ จะได้พยุงตัวลอยน้ำ รอการช่วยเหลือ กรณีเรือเอียงหรือโคลงให้ยึดจับพนักที่นั่งให้มั่น พร้อมขืนอาการเอียงของเรือไม่ให้น้ำหนักไปรวมอยู่ทางกราบเรือด้านที่เอียง เพราะจะทำให้เรือล่มได้

 

จำไว้ให้ขึ้นใจ! สพฉ.เปิดวิธีเอาตัวรอดจาก "ภัยเรือล่ม" เทคนิคใส่เสื้อชูชีพแบบถูกต้อง สังเกต เตรียมพร้อม วิธีออกจากเรือ!! (รายละเอียด)

3. หากพลัดตกน้ำหรือเรือล่ม ให้รีบว่ายน้ำออกห่างจากเรือ ไม่เกาะกราบเรือที่กำลังแล่น ป้องกันกระแสน้ำดูดเข้าไปใต้ท้องเรือและได้รับอันตรายจากใบพัดเรือ ถอดสิ่งของที่ถ่วงน้ำหนักออก และหาที่ยึดเกาะซึ่งลอยน้ำได้ เพื่อพยุงตัวรอการช่วยเหลือ และลอยไปตามกระแสน้ำ ไม่ว่ายน้ำเข้าฝั่งด้วยตนเอง เพราะเสี่ยงต่อการเป็นตะคริวจมน้ำเสียชีวิตได้

 

4. กรณีโดยสารเรือและพบผู้โดยสารพลัดตกน้ำให้ตะโกนบอกนายท้ายเรือ พร้อมบอกตำแหน่งที่คนพลัดตกน้ำ จะได้ควบคุมเรือไปทางอื่น ป้องกันอันตรายจากใบพัดเรือ โยนอุปกรณ์ช่วยชีวิตที่อยู่ใกล้ตัวให้คนตกน้ำใช้ยึดเกาะพยุงตัวรอการช่วยเหลือ

จำไว้ให้ขึ้นใจ! สพฉ.เปิดวิธีเอาตัวรอดจาก "ภัยเรือล่ม" เทคนิคใส่เสื้อชูชีพแบบถูกต้อง สังเกต เตรียมพร้อม วิธีออกจากเรือ!! (รายละเอียด)

5. การช่วยเหลือคนพลัดตกน้ำ ตะโกนให้ผู้ที่ว่ายน้ำเป็นและแข็งแรงลงไปช่วยเหลือคนตกน้ำ หากไม่มีทักษะไม่ควรลงไปช่วยเหลือคนตกน้ำด้วยตนเอง เพราะจะทำให้จมน้ำเสียชีวิต โยนอุปกรณ์ชูชีพหรือสิ่งของที่สามารถลอยน้ำได้ให้ผู้ตกน้ำยึดเกาะพยุงตัวรอการช่วยเหลือ หรือใช้เชือกผูกและดึงตัวคนตกน้ำกลับเข้าฝั่ง ยื่นวัสดุใกล้ตัวให้ผู้ตกน้ำยึดเกาะ โดยผู้ช่วยเหลือควรใช้มืออีกข้างยึดเหนี่ยวกับฝั่งไว้ให้มั่นคง เพื่อป้องกันการพลัดตกน้ำ ทั้งนี้ การช่วยเหลือคนตกน้ำ ต้องให้คนตกน้ำอยู่ในลักษณะหงายหน้าขึ้นแล้วดึงคอเสื้อพยุงคนตกน้ำ หากไม่มีที่ดึง ให้กอดหน้าอกคนตกน้ำแล้วพยุงตัวคนตกน้ำ ห้ามช่วยเหลือคนตกน้ำ โดยให้คนตกน้ำกอดคอ และเกาะหลังผู้ช่วยเหลือ เพราะอาจถูกกอดรัด ทำให้จมน้ำเสียชีวิตทั้งสองคน

 

6. เสื้อชูชีพที่ใช้ตามเรือท่องเที่ยว ส่วนใหญ่ ยังเป็นแบบเสื้อพยุงตัว ไม่ใช่เสื้อชูชีพแท้ ที่ออกแบบไว้ให้นอนหงายตลอดเวลา และการใส่เสื้อชูชีพจะต้องใส่ให้ถูกต้อง รัดตัวล็อคทุกจุด มิเช่นนั้นเสื้อชูชีพอาจหลุดได้ ทั้งนี้ เสื้อชูชีพจะสามารถพยุงตัวผู้ประสบเหตุได้ 3-6 ชั่วโมง แต่หากเป็นเสื้อชูชีพคุณภาพดีจะสามารถลอยตัวได้นานเป็นวัน แต่ที่สำคัญคือต้องมีสติ พยายามช่วยตัวเองให้ลอยตามน้ำให้ได้ อย่าพยายามว่ายเข้าฝั่งอาจทำให้หมดแรง ควรตะโกนให้คนช่วย หรือเป่านกหวีดที่ติดมากับชูชีพ