อธิบดีกรมอนามัย เตือน ฟู้ดไรเดอร์รวมกลุ่ม-ไม่ใส่หน้ากาก มีความผิด ปรับ 1 พัน- 2 หมื่น

อธิบดีกรมอนามัย เตือน ฟู้ดไรเดอร์รวมกลุ่ม-ไม่ใส่หน้ากาก มีความผิด ตามข้อกำหนด ที่ออกตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินและมีการลงโทษปรับกำหนดไว้ชัดเจนในมาตรา 34(6)

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญ อธิบดีกรมอนามัย ให้คำตอบหลังมีประชาชนสอบถามกรณีพบเห็น ฟู้ดไรเดอร์ หรือพนักงานรับส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ มักรวมกลุ่มกัน และบางคนไม่ใส่หน้ากากอนามัยระหว่างรอรับอาหาร ว่าการกระทำเช่นนี้จะมีความผิดหรือไม่นั้น นพ.สุวรรณชัยกล่าวว่าสำหรับส่วนนี้ก็มักจะเป็นสาเหตุของโอกาสในการแพร่เชื้อและก็เกิดกลุ่มก้อนของการระบาดของโรคโควิด-19 เช่นกัน และผิดตามข้อกำหนด ที่ออกตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินและมีการลงโทษปรับกำหนดไว้ชัดเจนในมาตรา 34

 

โปรโมชั่นลาซาด้า

 

ทั้งนี้พนักงานส่งอาหาร โดยปกติจะแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ full time กับกลุ่ม part time ซึ่งในส่วนของfull time นั้น ผู้ประกอบการจะมีการเข้มงวด และมีการกำกับเป็นอย่างดี และบางรายได้รับการฉีดวัคซีนไปแล้ว ปัญหาส่วนใหญ่จะเกิดในส่วนของกลุ่ม Part time เป็นส่วนใหญ่  ในส่วนของประเด็นที่ได้รับการร้องเรียน กรณีที่พนักงานส่งอาหารรอรับอาหาร จะขอแยกเป็น 2 กรณี  

 

ไรเดอร์

 

กรณีแรกในเรื่องของตัวร้านอาหารภายนอกห้าง หรือร้านอาหารที่เป็นแบบ stand alone ต่าง ๆเหล่านี้ ก็ต้องขอความร่วมมือแต่ละร้าน ต้องควบคุม และจัดระบบจุดรับส่งอาหาร ซึ่งอันนี้ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ เพราะจะเป็นประโยชน์ในเรื่องของการลดการแพร่ระบาดมาสู่ร้านเอง และเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดในส่วนของร้านอาหารที่อยู่ในตัวห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า หรือ community Mall มีการกำหนดในข้อกำหนดฉบับที่ 30 ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 3 ส.ค นี้ ว่าห้างสรรพสินค้ามีหน้าที่และความผิดชอบ ที่จะต้องจัดระบบควบคุม กำกับให้มีในส่วนของจุดรอรับอาหาร

 

ทั้งนี้หากพนักงานส่งอาหาร หรือ ฟู๊ดไรเดอร์ ที่มารวมกลุ่มมีการแออัดและก็ไม่มีการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนด ในส่วนนี้มีข้อกำหนด ที่ออกตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ร่วมกับพรบ.โรคติดต่อ ว่ากรณีที่อยู่นอกเคหะสถานถ้าไม่สวมหน้ากากมีความผิดและคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติได้มีการออกระเบียบตามมาตรา 34(6) มีการกำหนดความผิด ในเรื่องของการรวมกลุ่ม และไม่สวมหน้ากากอนามัย ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยกัน การสูบบุหรี่ หรือมีกิจกรรมนันทนาการใดๆก็ตามมีความผิด

 

อธิบดีกรมอนามัย

 

หากพบว่าเป็นการกระทำครั้งแรกจะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท หากเป็นครั้งที่ 2 ปรับระหว่าง 1,000 บาท - 10,000 บาท และหากมีการกระทำซ้ำเป็นครั้งที่ 3 มีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 - 20,000 บาท โดยจะเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ซึ่งออกประกาศข้อกำหนดไว้ชัดเจน

พร้อมฝากประชาชนช่วยกันคนละไม้คนละมือเป็นหูเป็นตาในการสอดส่องหากพบเห็นเหตุการณ์ดังกล่าว แจ้งไปที่สาธารณสุขจังหวัด หรือสำนักอนามัยของกรุงเทพฯ อย่าปล่อยให้พฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นเรื่องปกติหรือเรื่องที่ยอมรับได้

 

โปรโมชั่นลาซาด้า