"โอมิครอน และ เดลต้า"ต่างกันอย่างไร มาดูการเทียบอาการกันชัดๆ

เปรียบเทียบเป็นข้อๆ ความแตกต่างอาการ โควิด-19 สายพันธุ์ โอมิครอน และ โควิด-19 สายพันธุ์ เดลต้า หลังกำลังกลับมาระบาดหนักอีกครั้ง

ช่วงนี้เรียกได้ว่าประเทศไทยเข้าสู่ "การระบาดระลอก 5" เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้มีการยกระดับการควบคุมและแจ้งเตือนมาอยู่ที่ระดับ 4 เพื่อสู้กับสายพันธุ์ "โอมิครอน" วันนี้เราจะมาดูความแตกต่างของ "อาการโควิด-19" สายพันธุ์ "โอมิครอน" และ "เดลตา" เบื้องต้น ดังนี้

"โอมิครอน และ เดลต้า"ต่งางกันอย่างไร มาดูการเทียบอาการกันชัดๆแ

1.โอมิครอน 
"โควิด-19" สายพันธุ์ "โอมิครอน" เป็นสายพันธุ์ใหม่ล่าสุดระบาดในประเทศไทย ลักษณะพิเศษคือแพร่เชื้อและติดต่อได้เร็ว แต่จะแสดงอาการน้อย หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันมนุษย์ได้ดี 

สำหรับอาการของผู้ที่ติดเชื้อโควิดโอมิครอน ที่พบในประเทศไทย ข้อมูลจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่เปิดเผยโดย ศบค. เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2564 พบว่ามีอาการ 8 อย่างเป็นหลัก ดังนี้

- ไอ 54%
- เจ็บคอ 37%
- ไข้ 29%
- ปวดกล้ามเนื้อ 15%
- มีน้ำมูก 12%
- ปวดศีรษะ 10%
- หายใจลำบาก 5%
- ได้กลิ่นลดลง 2%

โอมิครอนมีอาการที่สามารถพบได้เพิ่มเติมได้ด้วย ทั้ง เจ็บคอ, ปวดกล้ามเนื้อ, เหนื่อย, อ่อยเพลีย, ไอแห้ง และเหงื่อออกมากในเวลากลางคืน อีกด้วย

2.เดลตา 
โควิด-19 สายพันธุ์เดลตา เป็นสายพันธุ์ที่มีการระบาดครั้งใหญ่ในไทยอยู่ก่อน ส่งผลรุนแรง อาการที่พบใกล้เคียงกับ "โรคหวัด" ธรรมดา โดยข้อมูลจากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุถึงอาการที่พบบ่อยในผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาไว้ดังนี้

- ปวดหัว
- เจ็บคอ
- มีน้ำมูก
- ไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับรส
- อาการคล้ายเป็นหวัดธรรมดา

ทั้งนี้ โอมิครอนสามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจและหลอดลมได้ดีกว่าสายพันธุ์เดลตาถึง 70 เท่า แต่หากแพร่กระจายถึงขั้นลงปอด จะไม่ทำลายปอดเท่ากับเดลตา เพราะเชื้อไวรัสสายพันธุ์นี้มักอยู่ในทางเดินหายใจส่วนบน

ด้าน สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า องค์อนามัยโลก (WHO) ระบุว่าขณะนี้ผลวิจัยเบื้องต้นบ่งชี้ว่าโอมิครอนก่อให้เกิดอาการรุนแรงน้อยกว่า และผู้ติดเชื้อมีความเสี่ยงที่จะต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลน้อยลง แต่การแพร่กระจายได้ง่ายจะทำให้ยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกจึงพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ ซึ่งได้สร้างแรงกดดันต่อระบบสาธารณสุขเป็นอย่างมากได้เช่นกัน 

CR กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, ศบค., bangkokbiznews