ดีเอสไอ เผยขั้นตอนพิจารณาคดีเเตงโม นิดา พูดถึงเเม่เเตงโม ที่ไม่ต้องการให้เป็นคดีพิเศษ หากเข้า5 เงื่อนไข คาดสรุปไม่เกินกลางเดือน เม.ย.นี้

   28 มี.ค.65 เมื่อเวลา 10.00 น. ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ นายไตรยฤทธ์ เตมหิวงศ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พร้อมด้วย คณะแพทย์จากสถาบันนิติเวชวิทยา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และคณะแพทย์จากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม แถลงแนวทางวางแผนการสืบสวนสอบสวน กรณีการเสียชีวิตแตงโม นิดา เนื่องจาก น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีต ส.ว. และว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. พร้อมด้วย นายนิติธร ล้ำเหลือ หรือ ทนายนกเขา มายื่นพิจารณาให้รับคดีเเตงโมเป็นคดีพิเศษ เมื่อวันที่ 22 มี.ค.ที่ผ่านมา
 

ดีเอสไอ ถกด่วนรับเป็นคดีพิเศษหรือไม่ เปิด5เงื่อนไข เเม้ครอบครัวไม่ยินยอม
  นายไตรยฤทธ์ กล่าวว่า สืบเนื่องจากมีผู้ร้องเรียนเข้ามาให้ดีเอสไอตรวจสอบพยานหลักฐานข้อเท็จจริง เพราะคดีมีความซับซ้อน อาจมีผู้มีอิทธิพลเข้าไปยุ่งเกี่ยวพยานหลักฐาน หรือเบี่ยงเบนการชันสูตรการเสียชีวิต ทั้งที่ยังไม่ทราบสาเหตุการเสียชีวิตที่แน่นชัดนั้น ซึ่งตามกฎหมายประชาชนทั่วไป นิติบุคคล สามารถร้องเรียนได้ โดย ดีเอสไอ มีคำสั่งให้ตั้งเป็นเลขสืบสวน มอบหมาย พ.ต.ท.พเยาว์ ทองเสน รองอธิบดีดีเอสไอ เป็นหัวหน้าพนักงานสืบสวนเพื่อรวบรวมหลักฐาน เสนอเข้าคณะอนุกรรมการกลั่นกรองพิจารณา

ดีเอสไอ ถกด่วนรับเป็นคดีพิเศษหรือไม่ เปิด5เงื่อนไข เเม้ครอบครัวไม่ยินยอม

“การประชุมครั้งแรกในวันนี้ ดีเอสไอ เชิญผู้แทนแพทย์จาก 2 หน่วยงาน ซึ่งเป็นผู้เริ่มผ่าศพครั้งแรกและครั้งที่สองมาให้ข้อเท็จจริง เป็นคณะอนุกรรมการพิจารณาเพื่อประกอบสำนวน คาดว่าจะแล้วเสร็จไม่เกินกลางเดือน เม.ย.นี้ ก่อนส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการชุดใหญ่ที่มี นายวิษณุ เครืองาม เป็นประธานคณะกรรมการคดีพิเศษ สรุปว่ารับเป็นคดีพิเศษหรือไม่
 

ดีเอสไอ ถกด่วนรับเป็นคดีพิเศษหรือไม่ เปิด5เงื่อนไข เเม้ครอบครัวไม่ยินยอม
 ส่วนเเม่เเตงโม  นางภนิดา ศิระยุทธโยธิน  ไม่ต้องการให้เป็นคดีพิเศษนั้น แต่หากเป็นคดีอาญาแผ่นดินต้องพิจารณาตามขั้นตอนเพราะอาจเข้า 5 เงื่อนไข  ก็สามารถรับเป็นคดีพิเศษได้ เช่น

1.คดีมีความซับซ้อน

2.เป็นที่สนใจของสังคม

3.กระทบต่อความมั่นคง

4.เป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ

5.เกี่ยวข้องผู้มีอิทธิพลหรือเจ้าหน้าที่รัฐ

 

ดีเอสไอ ถกด่วนรับเป็นคดีพิเศษหรือไม่ เปิด5เงื่อนไข เเม้ครอบครัวไม่ยินยอม

อย่างไรก็ตาม คดียังอยู่ในความรับผิดชอบตำรวจหากสรุปสำนวนคดีส่งฟ้องอัยการไปก่อน ดีเอสไอ จะไม่สามารถดำเนินการสืบสวนสอบสวนต่อได้ แต่เมื่ออัยการมีความเห็นสั่งสอบสวนเพิ่มเติม ดีเอสไอ จึงสามารถรับมาพิจารณาเป็นคดีพิเศษต่อไปได้