ตรวจ ATK ไม่พบเชื้อ แต่มีอาการป่วย สรุปเป็นเพราะอะไร ติดโควิดหรือเปล่านะ?

ไขข้อข้องใจ ตรวจ ATK ไม่พบเชื้อ แต่มีอาการป่วย สรุปเป็นเพราะอะไร แบบนี้ติดโควิด-19 หรือเปล่านะ เช็กรายละเอียด

สถานการณ์โควิด-19 โดยเฉพาะโควิดสายพันธุ์โอไมครอน หรือ โอมิครอน (Omicron) ทำให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จนสร้างความกังวลให้กับให้ประชาชน เพราะถึงแม้ว่าสายพันธุ์โอไมครอน ถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่แสดงอาการน้อย มีลักษณะคล้ายไข้หวัด แต่ก็สามารถแพร่กระจายเชื้อได้อย่างรวดเร็ว

 

ตรวจ ATK ไม่พบเชื้อ แต่มีอาการป่วย สรุปเป็นเพราะอะไร ติดโควิดหรือเปล่านะ?

 

ขณะที่บางคนมีอาการป่วย ไม่ว่าจะปวดหัว เป็นไข้ มีน้ำมูก หรือ ไอ จึงมักชุดตรวจโควิด ATK มาตรวจหาเชื้อเพื่อคัดกรองตัวเอง แต่บางคนไม่ผลลบ ATK ขึ้นเพียงขีดเดียว แต่อาการป่วยก็ยังไม่หายดี ทำให้เกิดความกังวลว่า สรุปเราไม่ติดโควิด-19 หรือว่าชุดตรวจให้ผลลวงกันแน่ หรือว่าจะต้องตรวจ RT-PCR ดีไหม ต้องกักตัวหรือเปล่า

ทั้งนี้ เหตุผลที่ตรวจ ATK ผลเป็นลบ แต่ยังมีอาการป่วย อาจเกิดจากสาเหตุเราไม่ได้ติดโควิด-19 แต่อาจป่วยด้วยโรคอื่นๆ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ภูมิแพ้อากาศ หรือ ไข้เลือดออก เป็นต้น


ในขณะเดียวกันบางคนอาจติดโควิด-19 จริง แต่ตรวจ ATK ผลเป็นลบ อาจเกิดปัจจัย ดังนี้

 

- เพิ่งได้รับเชื้อมาใหม่ๆ ร่างกายจึงยังมีปริมาณเชื้อไวรัสต่ำ รอการฟักตัว เช่น สายพันธุ์โอไมครอน ที่อาจใช้เวลาประมาณ 5-14 วัน จึงจะตรวจพบได้ ถ้าเพิ่งสัมผัสคนติดโควิดมา 1-2 วัน แล้วมาตรวจ ATK เลย อาจจะยังไม่เจอเชื้อ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของ หมอธีระ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ระบุว่า การตรวจ ATK กว่าจะเป็นผลบวกต้องมีปริมาณไวรัสสูงถึงระดับหนึ่ง ซึ่งสูงกว่า RT-PCR 10 เท่า ดังนั้นแม้จะติดเชื้อแล้ว แต่อาจตรวจ ATK ได้ผลลบ


- อาจติดเชื้อโควิดมาสักพักแล้ว และร่างกายจัดการเชื้อได้ในระดับหนึ่ง ทำให้เชื้อหลงเหลืออยู่น้อย ซึ่งอาจตรวจ ATK แล้วผลเป็นลบได้


- ตรวจ ATK ผิดวิธี เช่น แหย่จมูกไม่ถูกต้อง เป็นต้น


- ปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีทดสอบไม่ถูกต้อง เช่น ไม่อ่านผลในช่วงเวลาที่กำหนด หรือปริมาณตัวอย่างที่หยดไม่เป็นไปตามที่กำหนด

 

ตรวจ ATK ไม่พบเชื้อ แต่มีอาการป่วย สรุปเป็นเพราะอะไร ติดโควิดหรือเปล่านะ?

แนวทางปฏิบัติตัวสำหรับผู้ที่สงสัยว่ามีความเสี่ยงสูง และมีอาการป่วย แต่ตรวจ ATK แล้วเป็นลบ


- แยกกักตัวทันที หากอยู่ร่วมกับคนอื่นควรสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา แยกห้องน้ำและของใช้


- ตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR ซ้ำที่โรงพยาบาลอีกครั้ง เพราะเป็นการตรวจหาเชื้อโควิดที่แม่นยำและได้มาตรฐาน

 

ขอบคุณข้อมูล : ไทยรู้สู้โควิด , Thira Woratanarat , โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์