ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด กักตัว-สังเกตอาการ ยังไงให้ปลอดภัย

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้สัมผัสเสี่ยงสูง เมื่อใกล้ชิดผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 กักตัว-สังเกตอาการ ยังไงให้ปลอดภัย

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย โดยเฉพาะโควิดสายพันธุ์โอไมครอน หรือ โอมิครอน (Omicron) ทำให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อเนื่อง สร้างความกังวลให้กับให้ประชาชนจำนวนมาก แม้ว่าสายพันธุ์โอไมครอน ถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่แสดงอาการน้อย มีลักษณะคล้ายไข้หวัด แต่ก็สามารถแพร่กระจายเชื้อได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่บางคนต้องตกเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง เมื่อไปใกล้ชิดกับบุคคลที่ป่วยโควิดแบบไม่รู้ตัว

 

ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด กักตัว-สังเกตอาการ ยังไงให้ปลอดภัย

ล่าสุด กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดแนวทางการปฏิบัติสำหรับ "ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง" เมื่อใกล้ชิดผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 เช่น ทานอาหาร ดื่มสุรา อยู่ในสถานที่ระบบปิด โดยไม่สวมหน้ากากขณะอยู่ร่วมกับผู้ป่วย 


แบ่งผู้ป่วยออกได้ 3 กลุ่ม คือ


1. ผู้ป่วยเข้าข่าย (Probable cases) พบผลบวก ตรวจด้วย ATK


2. ผู้ป่วยยืนยัน (Confirmed cases) พบผลบวก ตรวจด้วย RT-PCR


3. ผู้ติดเชื้อไม่แสดงอาการ พบผลบวก ตรวจด้วย RT-PCR/ATK

ทั้งนี้ เมื่อพบเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ควรกักตัวที่บ้าน Home Quarantine 5 วัน โดยตรวจสอบอาการป่วยทุกวัน และตรวจ ATK ในวันที่ 5 หลังสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยครั้งสุดท้าย หรือหากมีอาการให้ตรวจ ATK ทันที หลังจากนั้นให้สังเกตอาการตนเอง 5 วัน โดยสามารถออกนอกพื้นที่ได้ และตรวจ ATK ในวันที่ 10 หลังสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยครั้งสุดท้าย


ทั้งนี้ ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง เมื่ออยู่ในช่วงสังเกตอาการ สามารถทำได้ ดังนี้


1. ไปทำงานได้ แต่แยกพื้นที่กับผู้อื่น


2. ปฏิบัติตามมาตรการ Universal Prevention


3. งดไปสถานที่สาธารณะ


4. งดร่วมกิจกรรม รวมกลุ่มคนจำนวนมาก


5. งดใช้ขนส่งสาธารณะ

 

ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด กักตัว-สังเกตอาการ ยังไงให้ปลอดภัย

 

ขอบคุณ FB : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข