กรมควบคุมโรค เผย ผู้ป่วยสีเขียว มีแนวโน้มพุ่ง 10 เท่า ผู้ป่วยอาการรุนแรง

นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เผย สถานการณ์ของโรคโควิด 19 ผู้ป่วยสีเขียว และคาดว่าอาจมีจำนวนมากกว่า 10 เท่า ของผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง

นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงสถานการณ์ของโรคโควิด19 ว่า ขณะนี้มีแนวโน้มพบผู้ติดเชื้อมากขึ้น หลังจากการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ แต่ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มีอาการน้อยไม่รุนแรง หรือเรียกว่าผู้ป่วยสีเขียว และคาดว่าอาจมีจำนวนมากกว่า 10 เท่า ของผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล กระทรวงสาธารณสุขจึงเน้นการติดตามสถานการณ์และรายงานตัวเลขผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ใส่ท่อช่วยหายใจ และผู้เสียชีวิตเป็นหลัก ซึ่งกลุ่มดังกล่าวมีผลกระทบต่อระบบรองรับทางสาธารณสุขเละการแพทย์ จึงจำเป็นต้องจับตาและรายงานสถานการณ์จำนวนผู้ป่วยที่อาการรุนแรงเป็นหลักเพื่อนำมาวิเคราะห์หรือกำหนดแนวทางมาตรการต่างๆ ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้โดยในปัจจุบันมีการครองเตียงระดับ 2-3 อยู่ที่ 10% ของจำนวนเตียงทั้งหมด

กรมควบคุมโรค เผย ผู้ป่วยสีเขียว มีแนวโน้มพุ่ง 10 เท่า ผู้ป่วยอาการรุนแรง

“ขอให้มั่นใจว่าการเผยแพร่ทุกข้อมูลเป็นไปตามนานาชาติดังเช่นหลายประเทศที่ปรับระบบการรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อจากรายวันเป็นรายสัปดาห์ หรือรายงานเฉพาะการเสียชีวิต และที่สำคัญระบบสาธารณสุขเตรียมความพร้อมทรัพยากรสามารถรองรับได้ เพียงพอทั้งเตียง แพทย์ ยา และเวชภัณฑ์ ส่วนจำนวนผู้ติดเชื้อที่มีอาการน้อยสามารถติดตามได้จากข้อมูลทะเบียนผู้ติดเชื้อที่ไม่จำเป็นต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล ที่เว็บไซต์กรมควบคุมโรค หรือเฟซบุ๊กเพจกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และเฟซบุ๊กเพจศูนย์ข้อมูล COVID-19 กรมประชาสัมพันธ์”

ด้านนพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่สำคัญคือการควบคุมการระบาดของโรคโควิด 19 โดยเน้นมาตรการ 2U คือ Universal Prevention คือ การป้องกันการติดเชื้อ โดยการเว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อยๆ สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในสถานที่แออัด หากพบมีอาการน่าสงสัยควรตรวจหาเชื้อ และ Universal Vaccination คือ ให้มารับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเข็มที่ 3 เป็นพื้นฐาน และฉีดเข็มกระตุ้นต่อไปทุก 4 เดือน เพื่อยกระดับภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 608 คือ คือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิตหากติดเชื้อ

กรมควบคุมโรค เผย ผู้ป่วยสีเขียว มีแนวโน้มพุ่ง 10 เท่า ผู้ป่วยอาการรุนแรง

งนี้ แม้ภาพรวมการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเข็มที่ 3 จะยังไม่ถึง ร้อยละ 60 แต่หากพิจารณาในรายจังหวัดจะพบว่า มีหลายจังหวัดที่มีผู้สูงอายุได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นเกิน ร้อยละ 60 ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ และภูเก็ต ขอความร่วมมือให้จังหวัดที่ยังมีความครอบคลุมวัคซีนเข็มกระตุ้นต่ำกว่าเป้าหมายช่วยกันรณรงค์ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับความปลอดภัยในการรับมือกับโรคโควิด 19 ที่จะปรับมาเป็นโรคประจำถิ่น หรือโรคติดต่อทั่วไปในอนาคต และกลับมาดำเนินชีวิตใกล้เคียงปกติที่สุด