"หมอธีระ"ตอบคนไทยชัดแล้ว วัคซีนเข็มกระตุ้น แท้จริง จำเป็นต้องฉีดหรือไม่

"หมอธีระ" รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย

"หมอธีระ" รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ระบุข้อความว่า

19 กรกฎาคม 2565...

เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 401,359 คน ตายเพิ่ม 909 คน รวมแล้วติดไป 568,111,043 คน เสียชีวิตรวม 6,388,680 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย บราซิล อิตาลี และสหรัฐอเมริกา

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 6 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 66.23 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 54.67

"หมอธีระ"ตอบคนไทยชัดแล้ว วัคซีนเข็มกระตุ้น แท้จริง จำเป็นต้องฉีดหรือไม่

...สถานการณ์ระบาดของไทย

จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า

จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 10 ของโลก และอันดับ 2 ของเอเชีย แม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม

...อัพเดตเรื่องน่าสนใจ

1. Novavax 3 เข็มมีระดับภูมิคุ้มกันในน้ำเลือดต่อเชื้อไวรัส Omicron พอๆ กับ mRNA vaccine (BNT162b2) 3 เข็ม

Bhiman JN และคณะวิจัยจากประเทศแอฟริกาใต้เผยแพร่ผลการศึกษาใน bioRxiv เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา

2. ไวรัสโรคโควิด-19 Omicron สายพันธุ์ย่อย BA.2.75

เดิมพบครั้งแรกที่อินเดีย และกระจายไปหลายต่อหลายประเทศ โดยมีข้อมูลจากการวิจัย สรุปดังที่เคยเล่าไว้เมื่อไม่กี่วันก่อนได้ดังนี้

ทีมวิจัยจาก Indian SARS-CoV-2 Genomics Consortium (INSACOG) ให้ข้อมูลผ่านสื่อท้องถิ่น (Times of India, 4 July 2022) ว่า สายพันธุ์ย่อยของ Omicron ที่ตรวจพบในอินเดียมากนั้นเป็นเรื่องที่น่ากังวล

ทั้ง BA.2.74, BA.2.75, และ BA.2.76 ได้รับการประเมินเบื้องต้นพบว่ามีแนวโน้มที่จะมีความแข็งแรง (Viral fitness) มากกว่า BA.5

"หมอธีระ"ตอบคนไทยชัดแล้ว วัคซีนเข็มกระตุ้น แท้จริง จำเป็นต้องฉีดหรือไม่

Yamasoba D และคณะวิจัยจากญี่ปุ่น เผยแพร่ผลการวิจัยใน bioRxiv วันที่ 15 กรกฎาคม 2565 โดยศึกษาพบว่า BA.2.75 นั้นมีลักษณะการดื้อต่อยาแอนติบอดี้ที่ใช้ในการรักษาหลายชนิด เฉกเช่นเดียวกับ Omicron สายพันธุ์ย่อยที่ระบาดมาก่อน แต่ยาแอนติบอดี้บางชนิดก็ยังสามารถใช้ได้ผลในการจัดการเชื้อ เช่น Regdanvimab, Sotrovimab, Tixagevimab

ในขณะที่ Cao YR จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง เผยแพร่ผลการศึกษาในห้องปฏิบัติการแบบไม่เป็นทางการ ชี้ให้เห็นว่า BA.2.75 นั้นมีแนวโน้มจะจับกับตัวรับ ACE2 ได้มากกว่า BA.4 และ BA.5

แต่ในเรื่องการดื้อต่อภูมิคุ้มกันนั้น ศึกษาโดยดูภูมิคุ้มกันจากคนที่ฉีดวัคซีนแล้วเกิดติดเชื้อโรคโควิด-19 พบว่า BA.2.75 ดื้อกว่า BA.2.12.1 แต่อาจน้อยกว่า BA.4 และ BA.5 ยกเว้นกรณีที่เป็นคนที่เคยติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้ามาก่อน BA.2.75 จะดื้อต่อภูมิมากกว่าคนที่ติดเชื้อสายพันธุ์ Omicron BA.1 และ BA.2 มาก่อน

อย่างไรก็ตาม คงต้องรอผลการศึกษาอย่างเป็นทางการ และจากการวิจัยอื่นๆ ในเวลาอันใกล้นี้ เพื่อให้ยืนยันลักษณะการดื้อต่อภูมิคุ้มกันของ BA.2.75

ล่าสุด Rajnarayanan R จาก Arkansas State University ได้รายงานอัพเดตการตรวจพบสายพันธุ์ย่อย BA.2.75 ซึ่งเป็นที่จับตามองของทั่วโลกนี้ ที่น่าสนใจคือ มีรายงานว่าพบในประเทศไทยแล้วจากตัวอย่างสิ่งส่งตรวจที่มาจากจังหวัดตรัง ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2565

...สถานการณ์ระบาดของไทยเรายังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

จากรายงานล่าสุดวันนี้ 18 กรกฎาคม 2565 ของ European Centre for Disease Prevention and Control (ECDC) ชี้ให้เห็นว่า Omicron BA.4 และ BA.5 ในยุโรปนั้นกำลังระบาดหนัก

และทำให้มีผู้ป่วยต้องรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นชัดเจนทุกช่วงอายุ

นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยรุนแรงจนเข้าไอซียูและเครื่องช่วยหายใจ เพิ่มขึ้นชัดเจนมากในคนอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป

...ไทยเราคงต้องระวังนะครับ เพราะธรรมชาติของโรคนั้นมักสอดคล้องกันไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก และมีโอกาสสูงที่เราจะกำลังเผชิญกับการระบาดที่มีสายพันธุ์ย่อยต่างๆ ไปพร้อมกันได้ หากไม่ป้องกันให้ดี

จากความรู้ที่มีตอนนี้ BA.4 BA.5 และ BA.2.75 นั้นไม่กระจอก

ใช้ชีวิตได้ ทำมาหากินได้ ศึกษาเล่าเรียนได้ แต่ควรป้องกันตัวเสมอ ไม่ว่าจะสายพันธุ์ไหนก็ตาม หากเราใช้ชีวิตอย่างมีสติ ใช้ความรู้ที่ถูกต้อง ไม่ประมาท ก็จะลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นนั้นมีความจำเป็นนะครับ

และที่จำเป็นอย่างยิ่งคือ...การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง สำคัญมาก...

"หมอธีระ"ตอบคนไทยชัดแล้ว วัคซีนเข็มกระตุ้น แท้จริง จำเป็นต้องฉีดหรือไม่

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ thainewsonline