นับเวลารอเลย ชมดาวหางแซดทีเอฟ รอบ 50,000 ปี คืนนี้

อย่าลืมนับเวลารอชมดาวหางแซดทีเอฟ รอบ 50,000 ปี คืนนี้ สังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า พร้อมเปิดเทคนิกหาตำแหน่งดาว ...

อีกหนึ่งความเคลื่อนไหวด้านดาราศสตร์ จับตา ปรากฎการณ์ ดาวหาง C/2022 E3 (ZTF) อยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุด  ในรอบ 50,000 ปี นับเป็นปรากฎทางธรรมชาติที่ไม่ควรพลาด เป็นปรากฎการณ์แรกทางดาราศาสตร์ที่เกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 นี้

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) หรือ NARIT ให้ข้อมูลไว้ว่า ดาวหาง C/2022 E3 (ZTF) เป็นดาวหางคาบยาว โคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งในรอบใช้เวลาประมาณ 50,000 ปี ถูกค้นพบในช่วงต้นเดือนมีนาคม 2565 โดยเครือข่ายกล้องตรวจท้องฟ้ามุมกว้าง Zwicky Transient Facility ในช่วงแรกวัตถุนี้มีค่าอันดับความสว่างปรากฏ 17.3 ก่อนจะสว่างขึ้นจนนักดาราศาสตร์ทราบว่าเป็นดาวหาง และเป็นเรื่องน่ายินดีที่มีความสว่างปรากฏเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนสามารถสังเกตด้วยตาเปล่าได้ในขณะนี้

 

นับเวลารอเลย ชมดาวหางแซดทีเอฟ รอบ 50,000 ปี คืนนี้

สำหรับประชาชนที่สนใจติดตามชมดาวหาง C/2022 E3 (ZTF) ในช่วงนี้หากอยู่ในพื้นที่มืดสนิทจะสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าปรากฏบนท้องฟ้าทางทิศเหนือบริเวณกลุ่มดาวยีราฟ  (Camelopardalis) ตั้งแต่เวลาประมาณ 22.00 น. โดยช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่ดาวหางดวงนี้เข้าใกล้โลกมากที่สุด (ระหว่างวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์) จะสามารถสังเกตได้ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าจนกระทั่งรุ่งสางก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นของวันถัดไป คาดว่า จะมีความสว่างเพิ่มมากขึ้นอีกเล็กน้อย

เปิดเทคนิคการหาตำแหน่งดาวหาง

 

ให้พยายามสังเกตวัตถุท้องฟ้าที่มีลักษณะปรากฏเป็นฝ้าจาง ๆ หรือ ดาวดวงหนึ่งที่ไม่ได้คมชัดเช่นดาวดวงอื่น หากใช้กล้องโทรทรรศน์หรือกล้องสองตาช่วยสังเกตการณ์จะช่วยยืนยันและเห็นดาวหางได้ชัดเจนยิ่งขึ้นและเมื่อบันทึกภาพดาวหางดวงนี้ผ่านกล้องถ่ายภาพด้วยการเปิดหน้ากล้องนาน ๆ จะสามารถสังเกตเห็นหางและสีเขียวอันเป็นเอกลักษณ์ของดาวหางดวงนี้ได้

โดยในช่วงก่อนหน้านี้ ทางเพจเฟซบุ๊ก NARIT ได้เผยแพร่ภาพถ่ายดาวหาง C/2022 E3 (ZTF) จากยอดดอยอินทนนท์ จ. เชียงใหม่ ในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2566 ช่วงเช้ามืด เวลาประมาณ 03.00-04.00 น.  ซึ่งจากภาพนี้ดาวหางปรากฏหางให้เห็นจำนวน 3 หาง ได้แก่

"หางไอออน" มีลักษณะยาวที่สุด แยกออกเป็นสองแฉก ชี้ตรงไปยังมุมซ้ายบน "หางฝุ่น" มีลักษณะฟุ้ง ๆ ไปทางซ้าย แม้ตอนนี้จะยังดูไม่ชัดเจน แต่มีโอกาสที่จะสังเกตเห็นหางฝุ่นชัดขึ้นอีกขณะเข้าใกล้โลกมากที่สุดท้าย คือ "Antitail" ที่เริ่มสังเกตได้ยากขึ้น เนื่องจากหางชนิดนี้จะปรากฏเห็นได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ เฉพาะช่วงที่ดาวหางโคจรอยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ และโลกโคจรผ่านหรือเข้าไปใกล้กับระนาบวงโคจรของดาวหางเท่านั้น

 

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ thainewsonline