"หมอธีระวัฒน์" ยกเคส เรื่องของเวียนห้ว ถ้าวินิจฉัยผิด อาจกลายเป็นอันตราย

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หรือ หมอธีระวัฒน์ ได้ออกมาโพสต์ ระบ เรื่องของเวียนห้วที่ถ้าวินิจฉัยผิด โรคน้อยจะคิดว่าเป็นมาก โรคอันตรายคิดว่าเป็นน้อย

"หมอธีระวัฒน์" ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ได้ออกมาโพสต์ข้อความระบุ

เรื่องของเวียนห้วที่ถ้าวินิจฉัยผิด โรคน้อยจะคิดว่าเป็นมาก โรคอันตรายคิดว่าเป็นน้อย

นั่นคือคำประกาศิตจากผู้เชี่ยวชาญทางหู-คอ-จมูกคนหนึ่งที่มีแก่คุณอนงค์ (นามสมมติ) คนไข้อายุ 30 ปี ซึ่งมีอาการบ้านหมุน ถูกสั่งให้อยู่กับบ้านเฉยๆ เคลื่อนไหวช้าที่สุด หรือพยายามอยู่กับที่

ถ้าจะสระผมต้องยืนสระ ศีรษะตั้งตรง เวลานอนอย่านอนราบ ให้นั่งหลับ และให้หยุดทำงาน พร้อมกับให้ยามาอีกหลายขนาน

"หมอธีระวัฒน์" ยกเคส เรื่องของเวียนห้ว ถ้าวินิจฉัยผิด อาจกลายเป็นอันตราย

คุณอนงค์ทรุดโทรมมาก ขาดการพักผ่อนเพราะถูกสั่งให้นั่งหลับ ผมไม่กล้าสระ อาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน เป็นมาประมาณ 1 สัปดาห์ โดยที่ลักษณะเวียนเป็นครั้งละสั้นๆประมาณหนึ่งอึดใจ ไม่เกิน 1 นาที และมักจะมี “ท่าประจำ” โดยที่หันศีรษะหรือตะแคงไปทางซ้าย เวลานอนจะมีบ้านหมุนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา ซึ่งถ้าพลิกกลับมาเป็นท่าตรงหรือทางขวา อาการจะทุเลาลง นอกจากนั้นถ้ากัดฟันทนไม่ตะแคงกลับหรือเปลี่ยนท่า อาการเวียนจะค่อยๆหายไปเอง

แต่ที่ทรมานมากคือ มีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย และไม่มีเสียงดังในหู หรือหูได้ยินน้อยลงหรือหูดับ

อย่างไรก็ตาม อาการเวียนหมุนเหล่านี้ ถ้าฝืนลืมตาจ้องไปที่วัตถุนิ่งๆ สักพัก อาการเหล่านี้จะดีขึ้นและไม่เคยปรากฏภาพซ้อน ความที่อาการเหล่านี้ไม่เคยเกิดมาก่อน ทำให้กลัวว่าจะเป็นโรคร้ายแรงในสมอง เป็นเส้นเลือดคู่หลัง (เส้นเลือดในสมองมี 2 คู่ คู่หน้า 2 คู่หลัง 2) ที่วิ่งเลาะผ่านกระดูกก้านคอเข้าไปในสมอง ผิดปกติ โดยที่ถ้าขยับศีรษะหรือคอ จะทำให้เส้นเลือดตันทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

จริงอยู่ โรคเส้นเลือดคู่หลังที่ถูกกดทับ (vertebral artery compression) แม้จะมีอยู่จริง แต่การเวียนหัว บ้านหมุน ที่มาลักษณะดังกล่าวนี้ไม่เข้ากับโรคหมุนที่เกิดจากเส้นเลือด เข้ากันได้กับ โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือ Benign paroxysmal positional vertigo (BPPV) คือ อาการเวียนบ้านหมุนที่เกิดเป็นชั่วขณะขึ้นอยู่กับท่า และไม่อันตราย โดยการทำให้หายได้เร็วๆยิ่งขึ้นนั้น ก็คือการเชียร์ ให้มีการเคลื่อนไหวเร็วๆ หรือบริหารคือให้นั่งห้อยเท้าอยู่ข้างเตียง และล้มตัวอย่างเร็วไปทางด้านขวา ให้มีหมอนรองไว้ก็ดี (ระวังคอหัก) นิ่งสักพัก

 

หรือถ้ามีอาการเวียนเกิดขึ้นก็รอสักครู่ จากนั้นลุกขึ้นมานั่งใหม่ และล้มตัวตะแคงไปทางด้านซ้าย ถือเป็น 1 รอบ ตามตำรานั้นควรทำบริหาร 20 รอบ เช้า-กลางวัน-เย็น ที่ผ่านมาไม่มีใครทำได้ ดังนั้นให้ทำวันละ 20 รอบก็พอ ตอนไหนก็ได้ ทั้งนี้ต้องบอกก่อนล่วงหน้าว่า 2-3 วันแรกที่ทำรับรองเวียนเยอะขึ้นแน่ แต่จะหายไปภายในระยะอันสั้น เมื่อหายแล้วให้ทำต่ออีก 2 อาทิตย์เป็นพอ

ท่าบริหารลักษณะนี้อาจมีหลายท่าตามตำรา แต่อาจจะปฏิบัติที่บ้านยาก ดังนั้นให้ทำท่าง่ายๆดังที่กล่าวไว้ ในขณะเดียวกันก็ให้เดินเหิน เคลื่อนไหวมากๆ หรือกลอกตาซ้าย-ขวา

รวมทั้งหันหน้าไปทางซ้าย-ขวา และเอียงคอซ้าย-ขวา สลับกันหลายๆครั้ง ในขณะที่ตามองนิ่งอยู่ที่วัตถุใดวัตถุหนึ่ง

การเกิดโรค BPPV นั้น เกิดจากการที่มีตะกอนหลุดลอกออกมาจากเยื่อในหูชั้นใน และตกตะกอนลงในท่อน้ำ 1 ใน 3 ท่อ ทำให้ “หนัก” ไม่เท่ากัน

ดังนั้นการเคลื่อนไหวในท่าต่างๆนี้จะเป็นการทำให้ตะกอนเหล่านี้ฟุ้งกระจายกลับเข้าไปในกระเปาะหูชั้นใน ซึ่งจะมีการดูดซึมต่อ

สำหรับในเรื่องของการใช้ยาในโรคนี้ โดยปกติแล้วจะไม่ให้ใช้ยามาก เนื่องจากยาบรรเทาอาการเวียนจะไปกดการทำงานของอวัยวะคุมการทรงตัวทั้งหมด ได้แก่ ส่วนของเส้นประสาทหูทรงตัวเอง สมองส่วนท้ายทอยและก้านสมองและในไขสันหลังระดับคอ ดังนั้น การใช้ยาอาจเหมือนกับช่วยได้จริง

แต่ข้อสำคัญคือหยุดยาไม่ได้ ต้องใช้ต่อเนื่องกันนานๆเป็นเดือน เป็นปี

ยาเหล่านี้มีตั้งแต่ยาเมารถ-เมาเรือทั่วๆไป เช่น Dramamine BenadrylR ซึ่งต้องระวังง่วง หกล้มหกลุก StugeronR (หรือ Cinnarizine) SibeliumR (หรือ Flunarizine) ซึ่งทั้ง 2 ตัวนี้ อาจจะทำให้เกิดโรคพาร์กินสันได้ หลายประเทศรายงานแล้วว่าแทบจะเป็นยาอันดับ 1 อันดับ 2 ที่เป็นสาเหตุของพาร์กินสัน โดยที่ประมาณ 10% หยุดยาแล้ว พาร์กินสันก็ไม่หาย ยา 2 ตัวนี้ไม่เป็นความจริงที่อ้างว่าช่วยให้เลือดไหลเวียนในสมองดีขึ้น และ SibeliumR ยังทำให้น้ำหนักขึ้น อ้วนขึ้น ยาอื่นๆที่นิยมใช้ (ทั้งๆที่ไม่ควรให้) ได้แก่ DuxarilR ซึ่งอ้างว่าทำให้ออกซิเจนไปเนื้อเยื่อมากขึ้น และช่วยโรคทางหู และเวียนหัว ไม่พบว่าเป็นความจริง แต่อาจกลับทำให้มีเส้นประสาทอักเสบ มือเท้าชา เจ็บแสบ

ในกรณีมีอาการอาเจียนด้วย อาจได้รับยา StemitilR ซึ่งมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาเจียน แต่เช่นกันต้องไม่ใช้นานพร่ำเพรื่อ เพราะเกิดพาร์กินสันได้ ยาแถมอื่นๆ ได้แก่ ยาบรรเทาอาการกังวล ซึ่งอาจมีส่วนลดเวียนได้บ้างมีตั้งแต่ Diazepam หรือ ValiumR และพวกพ้องทั้งกลุ่มไม่ควรใช้ เพราะอาจจะติดจนเป็นนิสัย

ยาวิตามิน ในรูปของ B รวม B1-6-12 หรือ B ชนิดพิเศษ เช่น MethycobalR ฯลฯ วิตามินเหล่านี้ไม่ปรากฏว่าช่วยอาการเวียนใดๆ ในบางรายซ้ำร้ายได้ยาสารสกัดใบแปะก้วย (Ginkgo) ซึ่งก็พิสูจน์แล้วว่าไม่ได้ผลเช่นกัน

คุณอนงค์ได้ยา DuxarilR StugeronR MethycobalR DramamineR StemitilR และ XanaxR (ตระกูล valium) และยาช่วยลำไส้ให้ไม่กระอักกระอ่วนชื่อ MotiliumR หลังจากอธิบายให้ทราบถึงโรค BPPV และอาการเวียนจากสาเหตุ อื่นๆที่อันตราย เช่น จากอัมพฤกษ์ ประสาทหู จากไขสันหลังก้านคอ จากไมเกรน ควรจะมีอาการอย่างไร คุณอนงค์ก็รับปากว่าจะหยุดยาต่างๆเหล่านี้ ไปทำบริหารตามที่แนะนำ และจะกลับบ้านไปนอนไม่ใช่นั่งหลับให้หนำใจ

ในช่วง 2–3 วันต่อมารายงานว่าหายดีแล้วและกลับไปทำงานได้ตามปกติ หมอได้ย้ำว่าอาการเวียน-หมุนแต่ละครั้ง สาเหตุอาจจะไม่เหมือนกัน ดังนั้น ทุกครั้งต้องจำลักษณะอาการให้ได้ เนื่องจากขณะที่มาตรวจอาจจับผู้ร้ายไม่ได้เพราะไม่มีอาการแล้ว.

หมอดื้อ

"หมอธีระวัฒน์" ยกเคส เรื่องของเวียนห้ว ถ้าวินิจฉัยผิด อาจกลายเป็นอันตราย