บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) สั่งเด้ง การันต์ ธนกุลจีรพัฒน์ ผอ.สนามบินดอนเมือง เซ่นทางเลื่อนดูดขาผู้โดยสาร

    26ก.ค.66 ดร.กีรติ กิจมานะวัฒน์ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (AOT) กล่าวว่า จากเหตุการณ์ที่ผู้โดยสารประสบอุบัติเหตุเท้าติดทางเลื่อน บริเวณทางเดิน South Corridor ระหว่าง Pier 4-5 ของอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ อาคาร 2 ท่าอากาศยานดอนเมือง (ทดม.) เมื่อเวลาประมาณ 08.21 น.ของวันที่ 29 มิถุนายน 2566 ซึ่งทีมแพทย์ประจำ ทดม.ได้เข้าดูแลพร้อมนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาอย่างเร่งด่วนในทันที และ AOT 

สั่งเด้ง  ผอ.สนามบินดอนเมือง เซ่นทางเลื่อนดูดขาผู้โดยสาร

ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีอุบัติเหตุบริเวณทางเลื่อนของอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ อาคาร 2 ท่าอากาศยานดอนเมือง ประกอบด้วย


1. เรืออากาศเอก ธรรมาวุธ นนทรีย์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานมาตรฐานท่าอากาศยานและการบิน) AOT เป็นประธานกรรมการฯ 
2. นายวรายุ ประทีปะเสน ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์ (ด้านวิศวกรรม) กระทรวงคมนาคม
3. นายโสภณ ปิยะภาณี ผู้อำนวยการกองกฎหมาย กระทรวงคมนาคม
4. ผู้แทนจากวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
5. นายเกชา ธีรโกเมน ผู้แทนจากสภาวิศวกร
6. นายสมชาย พงษ์พัฒนาศิลป์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายกฎหมาย) AOT
7. นายวุฑิศร โรจนะบุรานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานวิศวกรรมโครงการ

 

สั่งเด้ง  ผอ.สนามบินดอนเมือง เซ่นทางเลื่อนดูดขาผู้โดยสาร


8. รองศาสตราจารย์ ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ นักวิชาการอิสระ
9. นายกิติพร เผ่าบุญเสริม  ผู้อำนวยการฝ่ายมาตรฐานการบริการท่าอากาศยานและการบิน AOT 

สั่งเด้ง  ผอ.สนามบินดอนเมือง เซ่นทางเลื่อนดูดขาผู้โดยสาร


และมีผู้สังเกตการณ์ซึ่งเป็นผู้แทนจากผู้โดยสารที่ได้รับบาดเจ็บ จำนวน 2 ท่าน และผู้สังเกตการณ์ที่เป็นผู้แทนจากบริษัทประกันภัย จำนวน 2 ท่าน

สั่งเด้ง  ผอ.สนามบินดอนเมือง เซ่นทางเลื่อนดูดขาผู้โดยสาร


ดร.กีรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในระยะเวลา 22 วันของการดำเนินการ คณะกรรมการฯ ได้จัดการประชุมเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง และได้ดำเนินการในด้านต่างๆ ได้แก่

(1) การสอบประวัติทางเลื่อนที่เกิดเหตุ

(2) การรวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ข้อกฎหมาย ระเบียบ มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

(3) การสำรวจพื้นที่

(4) การตรวจสอบด้านวิศวกรรมเครื่องกล อุปกรณ์ และระบบความปลอดภัย

(5) การตรวจสอบข้อมูลจากการให้ถ้อยคำของผู้เกี่ยวข้อง

(6) การตรวจสอบการบำรุงรักษาตามสัญญาจ้าง และสัญญาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(7) การทดสอบต่างๆ เพื่อพิสูจน์สมมติฐาน (ถ้ามี)

(8)การตั้งสมมติฐาน

และ (9) การสรุปสาเหตุ และการถอดบทเรียน นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ได้มีการพิจารณาพยานวัตถุจำนวน 10 รายการ พิจารณาพยานเอกสารจำนวน 23 รายการ และพิจารณาข้อมูลจากการให้ถ้อยคำของผู้เกี่ยวข้องจำนวน 34 ราย ได้ข้อสรุปสาเหตุจากพยานหลักฐานที่ปรากฏข้อเท็จจริง คือ ทางเลื่อนที่เกิดเหตุมีปัญหาที่แผ่นพื้นหลุดออกจากโครงยึดทำให้เกิดช่องว่าง ส่งผลให้ผู้โดยสารหล่นลงไปได้รับบาดเจ็บสาหัส

 

ดร.กีรติ กล่าวว่า จากการตรวจสอบและได้ข้อสรุปสาเหตุข้อเท็จจริง คณะกรรมการฯ ได้เสนอแนวทางเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการใช้อุปกรณ์ทางเลื่อนของ ทดม. ได้แก่ การฟื้นฟูความมั่นใจในการใช้อุปกรณ์ โดยการตรวจสอบแผ่นทางเลื่อน โครงสร้างของแผ่นทางเลื่อน ทุกอุปกรณ์ โดยการจ้างหน่วยงานหรือบุคคลที่สาม (Third Party) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านลิฟต์ บันไดเลื่อน และทางเลื่อนมาดำเนินการตรวจสอบและปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยตามมาตรฐาน EN115-2 ใน version ล่าสุด

 

เช่น การติดตั้งตัวตรวจจับกรณีแผ่นทางเลื่อนหายไป การตรวจสอบบำรุงรักษาอุปกรณ์ทางเลื่อน เช่น การติดตั้งกล้อง CCTV ประจำทางเลื่อน รวมถึงจัดให้มีการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอก (External Audit) ของระบบการบำรุงรักษาของอุปกรณ์เครื่องกลของท่าอากาศยาน เพื่อให้ทราบข้อบกพร่องของการบำรุงรักษาของท่าอากาศยาน ตลอดจนการพัฒนาความรู้และความสามารถของบุคคลากรและการปรับปรุงคู่มือและขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedure: SOP) อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้วย

 

สำหรับการดูแลผู้โดยสารที่ได้รับบาดเจ็บ คณะผู้บริหาร AOT ได้มีการเข้าเยี่ยมและติดตามกระบวนการรักษาจากทีมแพทย์อย่างใกล้ชิด พร้อมรับผิดชอบดูแลค่ารักษาพยาบาล และจะดำเนินการเรื่องค่าชดเชยเยียวยาผู้บาดเจ็บอย่างดีที่สุด ซึ่งในกรณีดังกล่าว AOT ได้มีการทำประกันภัยความรับผิดชอบต่อบุคคลที่สาม

สั่งเด้ง  ผอ.สนามบินดอนเมือง เซ่นทางเลื่อนดูดขาผู้โดยสาร

โดยสถานที่ที่เอาประกันภัยตามกรมธรรม์คือ ท่าอากาศยานในความรับผิดชอบของ AOT ทั้ง 6 แห่ง รวมถึงสำนักงานใหญ่ สำนักโครงการและสถานที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของ AOT โดยคุ้มครองค่าเสียหายที่จะต้องชดใช้ให้แก่ผู้เสียหาย เช่น ค่าใช้จ่ายในการรักษาอาการบาดเจ็บ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายต่อทรัพย์สิน ค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานได้ รวมถึงค่าเสียหายอื่นๆ เป็นต้น 

 

ดร.กีรติ กล่าวในตอนท้ายว่า AOT ขอแสดงความเสียใจอีกครั้งต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างยิ่ง และขอยืนยันว่า AOT ยึดมั่นถึงความปลอดภัยของผู้ใช้บริการท่าอากาศยานเป็นหลักมาโดยตลอด โดยได้มีการตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องมือและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในท่าอากาศยานให้มีความปลอดภัยและพร้อมใช้งานอย่างสม่ำเสมอโดยบริษัทผู้เชี่ยวชาญ จึงขอให้ผู้โดยสารเชื่อมั่นในการมาใช้บริการท่าอากาศยานของ AOT

สั่งเด้ง  ผอ.สนามบินดอนเมือง เซ่นทางเลื่อนดูดขาผู้โดยสาร
   นอกจากนี้ยังมีรายงาน จากบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) มีคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายพนักงาน ทอท.ระดับ 10-11 และระดับ 9 รวมจำนวน 68 ตำแหน่ง โดยทยอยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.นี้ และ 1 ต.ค.2566 เป็นต้นไป 

สั่งเด้ง  ผอ.สนามบินดอนเมือง เซ่นทางเลื่อนดูดขาผู้โดยสาร

   โดยที่น่าสนใจคือ  นายการันต์ ธนกุลจีรพัฒน์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง ที่ถูกโยกย้ายไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา 11 ทอท.ภายหลังมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงทางเลื่อนดูดขาผู้โดยสาร ซึ่งจะมีการแต่งตั้ง นายวิจิตต์ แก้วไทรเทียม ตำแหน่ง ผู้อำนวยการท่าอากาศยานเชียงใหม่ (ระดับ 11) มาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมืองแทน