เปิดกฎหมายชัด ๆ กิจธุระอันจำเป็น ลูกจ้างสามารถลางาน ในสถานการณ์ใดบ้าง

ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 จะแบ่งการลาออกเป็น 6 อย่าง กิจธุระอันจำเป็น มีอะไรบ้าง ลางานได้ไหม วันนี้เรามีคำตอบ มาดูกันเลย

จากกรณีขาวใหญ่ของวันนี้ เกี่ยวกับเรื่อง พนักงานขอลางาน แต่หัวหน้าไม่ให้ลางาน จนเกิดเป็นที่วิจารณ์อยู่ในโลกออนไลน์ในตอนนี้ เกี่ยวกับคำว่า "ลางาน" วันนี้ เราจะมาให้ข้อมูลกันชัด ๆ ระบุ 

เปิดกฎหมายชัด ๆ กิจธุระอันจำเป็น ลูกจ้างสามารถลางาน ในสถานการณ์ใดบ้าง

ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 จะแบ่งการลาออกเป็น 6 อย่าง ได้แก่ ลาป่วย ลาเพื่อทำหมัน ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น ลาเพื่อรับราชการทหาร ลาเพื่อไปพัฒนาความรู้ ลาเพื่อคลอดบุตร

ปัญหาที่พบบ่อย คือ ขอลากิจฯ แต่นายจ้างไม่อนุญาต อ้างว่าไม่ใช่กิจธุระอันจำเป็น ซึ่งตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ลูกจ้างสามารถลาได้ปีละไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน และให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง (มาตรา 38 ประกอบมาตรา 57/1)

กิจธุระอันจำเป็น กระทรวงแรงงานอธิบายไว้ว่า หมายถึง “กรณีลูกจ้างมีกิจธุระอันจำเป็นที่ต้องดำเนินการด้วยตนเอง” หรือ “ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นของครอบครัว” เช่น

- ทำบัตรประจำตัวประชาชน

- ทำใบอนุญาตขับขี่

- จดทะเบียนสมรส

- ลาอุปสมบท

- ลาปฎิบัติธรรมทางศาสนาตามธรรมเนียมปฎิบัติ

- จัดงานศพบุคคลในครอบครัว

- จัดงานสมรสบุตร

- จัดงานอุปสมบท เป็นต้น ฯลฯ

ที่มา: คำชี้แจงกระทรวงแรงงาน เรื่อง พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 หน้า 4-5