ดร.รัชชัยย์ ศรสุวรรณ เปิดใจแนวทางนี้แก้ไม่ถูกจุด แบ่งจ่ายเงินข้าราชการ 2 รอบ เข้าใจว่าท่านนายกรัฐมนตรี มีความปรารถนาดีต่อข้าราชการ

  กรณีปมร้อนแบ่งจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ล่าสุดทาง  "ไทยนิวส์" ได้สัมภาษณ์ ดร.รัชชัยย์ ศรสุวรรณ นายกสมาคมพิทักษ์สิทธิผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้แสดงความคิดเห็น มุมมองเกี่ยวกับ แนวทางของรัฐบาล ในการแบ่งจ่ายเงินเดือนข้าราชการ 2 รอบ  

ดร.รัชชัยย์  ชี้แก้ไม่ถูกจุด แบ่งจ่ายเงินเดือนขรก. 2 รอบ หนี้สินก็ไม่ได้หาย

 

    โดย ดร. รัชชัยย์  เชื่อว่าท่านนายกรัฐมนตรี ท่านมีความปรารถนาดี ต่อข้าราชการ เพียงแต่ว่า ข้อมูลที่ท่านได้รับมา ก่อนที่จะ ประกาศนั้น มันเพียงพอหรือยัง เพราะถ้าคิดแบบสบายๆก็คือข้าราชการ หลังจากที่ได้เงินเดือนสิ้นเดือนได้ 1 ครั้ง ต่อไปนี้ กลางเดือนจะได้ 1 ครั้งและสิ้นเดือนก็จะได้อีกครั้งหนึ่ง

ดร.รัชชัยย์  ชี้แก้ไม่ถูกจุด แบ่งจ่ายเงินเดือนขรก. 2 รอบ หนี้สินก็ไม่ได้หาย
 ทั้งนี้ในส่วนของ นาย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้ออกมาชี้แจงประเด็นเงินเดือนข้าราชการ เป็นเพียงแค่การเสนอทางเลือกใหม่


 -เข้าใจว่าเรื่องการแบ่งจ่ายเงินเดือนข้าราชการ เป็นการเสนอทางเลือกใหม่ อาจจะมีทั้งคนชอบและคนไม่ชอบ ก็ขอยืนยันว่า รัฐบาลเสนอให้เป็นทางเลือก


-ปัจจุบันเงินเดือนจ่ายเดือนละหนเดียว ความตั้งใจของรัฐบาลในการแบ่งจ่ายเงินเดือนราชการสองหนคือเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระ สำหรับคนที่มีหนี้สามารถไปจ่ายหนี้สินคืนได้เร็วขึ้น แก้ปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลัง

ดร.รัชชัยย์  ชี้แก้ไม่ถูกจุด แบ่งจ่ายเงินเดือนขรก. 2 รอบ หนี้สินก็ไม่ได้หาย
-และถ้าจะแบ่งจ่ายหนี้สินเป็นสองงวด ในความเป็นจริงก็สามารถบริหารจัดการได้


-สำหรับคนที่ไม่มีหนี้ก็สามารถนำเงินไปทำประโยชน์อย่างอื่น ลงทุนได้ หรือ ไปฝากธนาคารได้


- รัฐบาลไม่ได้มีปัญหาเรื่องกระแสเงินสดเพราะจ่ายเร็วขึ้น แต่ว่าคำนึงถึงทุกมิติของการออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ไม่เป็นภาระงบประมาณ เพราะนโยบายนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม แต่การ Re-Program เป็นการจ่ายเงินใหม่เท่านั้น ซึ่งเราคำนึงถึงวินัยการเงินการคลังด้วย

ดร.รัชชัยย์  ชี้แก้ไม่ถูกจุด แบ่งจ่ายเงินเดือนขรก. 2 รอบ หนี้สินก็ไม่ได้หาย

ฟังตอนแรกดีใจมาก


  ซึ่งตอนที่ผมฟังครั้งแรกก็ดีใจมาก เพราะท่านนายกรัฐมนตรีจั่วหัวมาว่า นั่นเป็นการแก้ปัญหาหนี้สินของข้าราชการ ก็แอบดีใจว่าท่านนายกรัฐมนตรีประกาศมาอย่างนี้ เราก็ตื่นเต้นและอยากจะรู้ว่า ท่านจะแก้ปัญหาหนี้สินด้วยวิธีไหน แต่ปรากฏว่า เมื่อไปดูอย่างจริงจังวิธีนี้ก็คือ เงินเดือนจะจ่ายวันที่ 15 และสิ้นเดือน ปรากฏว่าเงินเดือนเราก็ได้เท่าเดิม และหนี้สินก็ไม่ได้หายไป คำถามคือมันจะ เป็นการแก้ปัญหาหนี้สินข้าราชการได้อย่างไร

 

เมื่อเห็นดังนี้เราก็คิดว่ามันไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาหนี้สิน แล้วท่านนายกรัฐมนตรีมีอะไรคิดเป็นอื่นไปหรือเปล่า อาจจะแก้ปัญหาเรื่องอื่นหรือเปล่า แต่ใช้เรื่องนี้มาเป็นแนวทาง ทุกคนมีสิทธิ์คิดได้ใช่ไหมครับไม่ได้ว่าจะใส่ความท่าน เราก็คิดกันว่าหรือ ท่านต้องการที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะปกติ เศรษฐกิจช่วงสิ้นเดือนไม่ว่าจะเป็นที่ไหน

 


   จะมีความคึกคักเป็นพิเศษเนื่องจากเงินเดือนออก แต่พอเลยสิ้นเดือนไปไม่กี่วัน ซักประมาณกลางเดือนเศรษฐกิจก็จะซบเซา ตามห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าต่างๆก็จะไม่ค่อยมีคน ก็คิดว่าบางทีท่านอาจจะอยากให้เศรษฐกิจมัน คล่องขึ้นทั้งกลางเดือนและสิ้นเดือน เพื่อให้เกิดการจ้างงานและสร้างรายได้ให้กับประชาชน มันก็อาจจะเป็นความปรารถนาดีของท่านหรือ มันเป็น วิธีการแก้ปัญหา

ดร.รัชชัยย์  ชี้แก้ไม่ถูกจุด แบ่งจ่ายเงินเดือนขรก. 2 รอบ หนี้สินก็ไม่ได้หาย

ยุครัฐบาลพลเอกประยุทธ์

กรณีที่รัฐบาลท่านพลเอกประยุทธ์ ท่านอาจจะต้องใช้เงินเยอะ จนกระทั่งเศรษฐกิจมันก็เดินไม่ค่อยได้ แต่มีเงินจำนวนหนึ่ง ที่สามารถเอามาใช้ได้นั่นก็คือเงินเดือนข้าราชการ เพราะจู่ๆจะนำเงินเดือนข้าราชการมาใช้เองส่งเดชไม่ได้ ก็ต้องใช้วิธีการให้ข้าราชการนั่นแหละเอามาใช้ เพราะโดยปกติพอเงินเข้ากระเป๋ามันก็จะใช้ สำหรับแนวคิดของคนที่เขาเห็นด้วยเขาก็จะคิดว่าก็ไม่เดือดร้อนอะไร 

 

หากเงินเดือน 5หมื่นบาท

สมมุติเงินเดือนคุณ 50,000 บาทกลางเดือนคุณได้ 25,000 บาท เพราะสิ้นเดือนคุณก็ได้อีก 25,000 บาท คุณก็อย่าเพิ่งใช้คุณก็รวมให้ได้เป็นเงินเดือน 50,000 บาทมันจะเสียหายตรงไหน ก็ไม่เป็นไรถ้าจะคิดกันอย่างนั้นแต่ก็อยากจะบอกว่าเจตนาที่แท้จริงคืออะไร ถ้าเจตนาที่แท้จริงต้องการจะให้เศรษฐกิจมันลื่นไหล ให้เป็นการกระจายเงินเข้าสู่สังคม ก็ต้องบอกกันตรงๆว่าต้องการแบบนี้ พวกเราก็จะได้ช่วยกันเชียร์และสนับสนุน

 

แต่ถ้าบอกว่าเป็นการแก้ปัญหาหนี้สินให้กับข้าราชการ ในภาษากฎหมายเขาจะเรียกว่ามันเป็นนิติกรรมอำพรางหรือเปล่า คือของจริงคืออะไรเพราะว่าข้าราชการ ไม่ได้แก้ปัญหาหนี้สินอะไรเลย ตรงนี้เราก็รู้สึกผิดหวังนิดนึง ว่าทำไมท่านไม่บอกกับเราตรงๆ ว่าเจตนาของท่านต้องการอะไร จริงๆคนคิดแบบผมมีเยอะนะครับ ว่าท่านต้องการดึงเงินจากคลังมาใช้ แต่ถ้าไม่สามารถไปคว้ามาได้ ก็ใช้วิธีการนำมาเข้ากระเป๋าข้าราชการทรัพย์ตอนกลางเดือน เพื่อข้าราชการจะได้ไปใช้ต่ออันนี้ที่เราคิดกันนะครับ

 

ปัญหาคืออะไร


  ทีนี้ ได้มองเห็นปัญหาไหมอันนี้คือประเด็น ปัญหามันคืออะไร คือท่านมองแต่ภาพบวก ยกตัวอย่างเช่นสมมุติ ว่าผมเนี่ย มีเงินเดือนเดือนละ 50,000 บาท แล้วผมก็ไปกู้หนี้ยืมสิน เพื่อสร้างบ้านซื้อรถซื้อสิ่งของที่จำเป็น แล้วผมก็ต้องจ่ายหนี้เดือนละ 40,000 บาท ผมอาจจะไปกู้ธนาคาร กู้สหกรณ์หรือกู้สถาบันการเงินอะไรก็แล้วแต่ แต่ในคำร้องขอกู้นั้นเนี่ย ผมยินดีให้หักจากเงินเดือน สถาบันการเงินเขาก็ดีสิครับเพราะ มันหักจากเงินเดือนได้ ไม่ต้องรอให้มาส่ง ให้ห่างจากส่วนราชการเลยและส่วนราชการก็ให้ความร่วมมือ หากส่งให้กับธนาคารสหกรณ์หรือสถานที่ที่เรากู้ สมมุติว่าส่งเดือนละ 40,000 บาท ผมก็จะมีเงินเหลือ 10,000 บาทก็พออยู่ได้ ต่อมา ถ้าใช้นโยบายของท่านนายกรัฐมนตรี ของรัฐบาลนี้ วันที่ 15 เงินเดือนของผม จะออกครึ่งนึง นั่นก็คือ 25,000 บาท สิ้นเดือนผมก็จะมีเงินเหลือ 25,000 บาทแต่ผมมีหนี้ที่จะต้องจ่าย 40,000 บาทแล้ว

 

ทีนี้สถาบันการเงินจะหักหนี้ผมได้ไหมครับ ซึ่งมันก็จะหักไม่ได้ก็จะหักได้แค่ 25,000 บาท แล้วทีนี้จะทำยังไง จะต้องให้ลูกหนี้หิ้วเงินไปจ่ายตามสหกรณ์หรือธนาคารนี้แล้วถ้าลูกหนี้บิดเบี้ยวไม่ไปจ่ายล่ะ สถาบันการเงินจะเดือดร้อน พอเดือดร้อนปุ๊บก็จะพาแต่ว่า ลูกหนี้ไม่จ่ายเงินก็ฟ้องร้องผิดสัญญา พอฟ้องร้องก็จะเดือดร้อนผู้ค้ำประกัน หรือหลักทรัพย์ที่ค้ำประกัน ฉะนั้น ตรงนี้เป็นสิ่งที่รัฐบาลได้คิดแล้วหรือยัง ว่าจะทำอย่างไร

 

เสนอไปยัง ชัย วัชรงค์โฆษกรัฐบาลแล้ว

ซึ่งเรื่องนี้ทางเราก็ได้เสนอแนะท่านโฆษกรัฐบาลคุณหมอชัย วัชรงค์ ซึ่งตอนที่พูดคุยกันเหมือนท่านไม่ได้วางแผนล่วงหน้า เพราะฉะนั้นเวลาท่านตอบ มันก็เป็นเหมือนรัฐบาลตอบ ซึ่งฟังจากน้ำเสียงแล้วเป็นการตอบโดยฉับพลัน ท่านคิดเอง ซึ่งท่านบอกว่าก็ให้มาหักหนี้ตรงนี้เลยหักหนี้กลางเดือนแล้วทางเราจึงบอกว่าแล้วถ้าเราไม่ให้หักหลักกลางเดือน เพราะตามข้อตกลงคือผมให้หักสิ้นเดือน เดี๋ยวผมหิ้วเงินไปให้เอง แต่คุณหักผมได้เฉพาะสิ้นเดือนนะ มีเท่าไหร่ก็หักไปเท่านั้นแหละ สถาบันการเงินก็จะกระทบกระเทือน มันก็จะมีอะไรตามมาอีกเยอะแยะมากมาย

 

เพราะฉะนั้นผมอยากจะให้รัฐบาล ทำงานโดยการหาข้อมูลให้รอบคอบให้ละเอียด และต้องอย่าลืมนะว่า ผมไม่ได้เป็นผู้นำฝ่ายค้าน ผมไม่ได้เป็นนักการเมืองฝ่ายค้าน ผมเป็นครูคนหนึ่ง ซึ่งพูดตรงนี้ได้เลยว่าตอนเลือกตั้ง ผมก็ลงให้พรรคเพื่อไทย 1 เสียงและพรรคก้าวไกล 1 เสี่ยง ที่ผมลงให้เพื่อไทยก็เพราะคุณอุ๋งอิ๊งมาหาเสียง แล้วผมดีใจว่าคนหนุ่มคนสาว มาแบบนี้น่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลง ผมก็ลงให้ไปและผมก็ไม่ได้อยู่ฝ่ายค้าน แต่พูดตามความเป็นจริง พูดด้วยความรักและเป็นห่วงท่านนายกรัฐมนตรี ผมเชื่อว่าท่านนายกรัฐมนตรีท่านอยู่เฉยๆก็สบายอยู่แล้วแต่การ ที่ท่านก้าวเข้ามาอยู่จุดนี้ ก็เพื่อต้องการที่จะช่วยเหลือชาติบ้านเมือง

 

ยังไม่เคยได้ข่าวว่าข้าราชการ ขอรับเงินเดือน 2 ครั้ง/เดือน

นั่นคือปัญหาข้อที่ 1 ปัญหาข้อที่ 2 คือเรื่องนี้ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาเรื่องหนี้สินเลย ถ้าท่านจะบอกว่าก็มีข้าราชการที่ไม่มีกินไม่มีใช้ตอนกลางๆเดือน เราก็ได้แก้ไขให้ จากที่ผมรักข้าราชการมา 40 ปี ผมยังไม่เคยได้ข่าวว่าข้าราชการ เรียกร้อง ขอรับเงินเดือน 2 ครั้ง ต่อเดือน โปรแกรมไขปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลัง เพราะถึงแม้เขาชักหน้าไม่ถึงหลังแต่เขาก็อยู่ได้ ผมก็ถามฝ่ายรัฐบาล ก็คือคุณหมอนั่นแหละ ทางหมอใช้ก็บอกว่าทางข้าราชการเขาเรียกร้อง เขาเรียกร้องเยอะแยะ

 

ซึ่งมันก็สวนทางกับท่านนายกรัฐมนตรี ซึ่งเรื่องนี้ท่านเก็บเงียบกริบไม่มีใครเคยรู้ มันค้านกันไหมระหว่างนายก กับ โฆษกรัฐบาล จากที่ครูสมบอกว่ามีการสำรวจมีการเรียกร้องมา ซึ่งถ้าสำรวจมาทางประชาชนก็ต้องรู้พวกผมก็ต้องรู้ใครต่อใครก็ต้องรู้ สื่อก็ต้องรู้ว่ามีการสำรวจมาแล้ว แต่เรื่องนี้ทั้งสื่อก็เองก็ยังตกใจเพราะไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย เพราะฉะนั้นในสิ่งที่มันเกิดขึ้นถามว่ามันเป็นจริงไหมที่ว่าข้าราชการเขาเรียกร้องกัน ถ้ามันไม่ใช่เรื่องจริง มันก็เสียเครดิตของรัฐบาลนะครับ 

ดร.รัชชัยย์  ชี้แก้ไม่ถูกจุด แบ่งจ่ายเงินเดือนขรก. 2 รอบ หนี้สินก็ไม่ได้หาย

าผมพูดไม่จริงก็ไม่มีใครว่าผมหรอกเพราะผมก็เป็นครูแก่ๆคนนึง แต่ถ้าเป็นทางรัฐบาลที่พูดไม่จริงมันก็เป็นปัญหาอยู่ ในเรื่องของความน่าเชื่อถือ ซึ่งครั้งนี้มันก็อาจจะเป็นความปรารถนาดี ซึ่งคนตอบเป็นโฆษกรัฐบาล บางทีท่านอาจจะตอบเร็ว หรือว่าอะไรก็แล้วแต่ ซึ่งนี่ก็เป็นประเด็นที่เป็นปัญหา

คนรอบๆตัว ดร. รัชชัยย์ ไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับเรื่องนี้

จากที่ผมได้ถาม พี่น้องเพื่อนครูที่ได้โพสต์ Facebook และใน LINE กลุ่ม บอกว่าส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับเรื่องนี้

 

ส่วนใหญ่จะรู้สึกห่วงว่ามันเกิดอะไรขึ้น คือเพราะมันจั่วหัวว่าจะแก้ปัญหาหนี้สินของข้าราชการ ซึ่งถ้าจะแก้ปัญหาหนี้สินของราชการควรต้องทำยังไงก็ได้ ให้ข้าราชการมีหนี้น้อยลง หรือเงินเดือนมากขึ้น ซึ่งมันจะมีวิธีเดียวคือลดหนี้ กับเพิ่มเงินเดือนแล้วคุณจะเลือกวิธีไหน แต่มันไม่มีสักอันนึงเลย โลกนี้มันมีวิธีแก้นี้โดยการ ไม่ลดหนี้ และไม่เพิ่มเงินมันมีวิธีอื่นไหม ไม่มีใช่ไหมครับมันต้องเพิ่มเงิน เดือนแต่ถ้าเพิ่มเงินเดือนไม่ได้คุณก็ต้องลดหนี้ เพราะไม่มีวิธีอื่นแล้ว


อันที่จริงปัญหาของการเป็นหนี้ มันถูกวิพากษ์วิจารณ์กันในหมู่ของคนที่ไม่เข้าใจ ว่าข้าราชการเป็นหนี้เพราะฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อ ว่าข้าราชการฟุ้งเฟ้อต้องไปแก้ปัญหาที่ความฟุ้งเฟ้อ แต่ผมอยากถามว่า สมมุติว่าคุณเป็นคนเชียงใหม่ แล้วหนูสามารถสอบบรรจุเป็นข้าราชการได้ที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถ้าหนูเป็นคนเชียงใหม่ตอนอยู่เชียงใหม่ หนูอยู่กับพ่อแม่ หนูจะไปไหนมาไหน ก็ใช้รถพ่อแม่ได้ แต่พอหนูมาบรรจุที่สุราษฎร์ธานี หนูจะอยู่กับพ่อแม่ไม่ได้แล้วทำให้หนูจึงต้อง ตั้งรกรากที่สุราษฎร์ธานี

 

ซึ่งในข้าราชการถ้าจะย้ายกลับไปตั้งรกรากที่บ้านเกิดมันเป็นการโยกย้ายที่ยากมาก บางทีต้องเสียตังค์ด้วยซ้ำไปถ้าจะ ย้ายและต้องวิ่งเส้นทำเรื่องวุ่นวาย ดังนั้นจึงอยากจะคิดตั้งรกรากที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นสถานที่ที่หนูไม่มีอะไรเลย แน่นอนว่าทุกคนอยากมีบ้าน ฉะนั้นหนูจึงอยากที่จะเก็บเงินซื้อบ้าน การมีรถเป็นเรื่องที่ฟุ่มเฟือยไหมก็ไม่ได้ฟุ่มเฟือยอะไรเลย เพราะหนูก็ อยากจะมีรถเพื่อใช้ในการทำงาน หรือเดินทางไปทำธุระที่จำเป็น เพราะรถมันเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งของชีวิตไปแล้ว เพราะขนส่งมองชลยังไม่ค่อยสะดวกถ้าพูดในเรื่องของต่างจังหวัด

ดร.รัชชัยย์  ชี้แก้ไม่ถูกจุด แบ่งจ่ายเงินเดือนขรก. 2 รอบ หนี้สินก็ไม่ได้หาย

ซึ่งส่วนใหญ่ต้องใช้รถ ส่วนตัวกันทั้งนั้น ดังนั้นสิ่งที่มันเกิดขึ้นก็คือหนี้ ดังนั้นฝ่ายข้าราชการต้องสนับสนุนให้ข้าราชการย้ายไปทำงานใกล้บ้านโดยเร็ว เขาจะได้ไม่ต้องไปลงทุนใหม่ พวกเขาจะได้กลับไปใช้ ของที่บ้านเขาได้ ไม่เช่นนั้นเขาก็จะต้องไปกู้หนี้ยืมสิน สร้างฐานของตัวเองขึ้นมา นั่นคือข้อที่ 1 ส่วนข้อที่ 2 เมื่อข้าราชการเขา ซื้อบ้านซื้อรถเงินเดือนเขาก็จะถูกหักไปกับบ้านกับรถ เกือบหมด การดำรงชีพของเขาก็ไม่ค่อยที่จะเพียงพอ คุณธนาคารเขาก็เอาบัตรเครดิตมาให้ คุณธนาคารก็เอาบัตรกดเงินสดมาให้ คนที่ตามมาคืออะไรครับเพราะผมไม่มีตังค์ ผมก็ใช้บัตรเครดิตนั้นไปกดเงินออกมา เวลาไม่มีเงิน ผมก็ใช้บัตรเงินสด ไปกดเงินออกมาใช้ พอไปเกิดเงินออกมาพบสิ่งที่มันทำมาคือ ดอกเบี้ยร้อยละ 23 ต่อปี

 

ปัญหาที่ตามมา คือหนี้ก็เพิ่มพูน เมื่อเกิดหนี้ทำยังไง ก็ต้องไปกู้ตรงนั้นมาโปะตรงนี้ ที่นี้ถ้าผมเป็นรัฐบาล พวกท่านกรุณาลดดอกเบี้ยให้กับข้าราชการ หลักร้อยละ 23 หรือร้อยละ 10 หรือร้อยละ 7 ให้เหลือร้อยละ 3.5 ได้ไหม แน่นอนว่าธนาคารและสถาบันการเงินต้องบอกว่าไม่ได้ เพราะว่าทำสัญญากันไว้แล้ว และข้าพเจ้าก็ต้องการกำไรเยอะ แต่ถ้าผมเป็นนายกรัฐมนตรี ผมจะบอกว่าถ้าคนไม่ลดให้ไม่เป็นไร ถ้าอย่างนั้นผมจะไปหาแหล่งเงินกู้จากต่างประเทศ เพราะปกติแล้วเงินกู้ สมมุติ ว่านายกมีเงินแสนล้านบาท เงินแสนล้านบาทไปฝาก ธนาคารก็จะได้ดอกเบี้ยร้อยละไม่ถึงบาท

 

ถ้าผมเป็นนายกรัฐมนตรี

ถ้าผมเป็นนายกรัฐมนตรีผมจะบอกว่าถ้าคุณไม่ยอม งั้นผมจะไปหานายทุนมา มาลงทุนกัน แค่นี้ข้าราชการให้ทั้งประเทศไทยเลย ถ้าเข้าโครงการเคลียร์ให้หมด และให้ดอกเบี้ยร้อยละ 3.5 ต่อปี และรัฐบาลเป็นประกันหักเงินเดือนให้ งั้นข้าราชการ ก็จะถูกเขียนให้หมดไม่เป็นหนี้ร้อยละ 23 แล้วก็จะเหลือเป็นหนี้ร้อยละ 3.5 เมื่อข้าราชการเป็นหนี้แค่นั้น ข้าราชการ Happy ไหมก็ต้อง Happy เพราะเขาจ่ายหนี้มาแค่ 3% 20% ของหนี้เขาสามารถนำไปหักต้นได้อีก 20% ของที่สามารถที่จะเอามาหมุนเวียนดำรงชีวิตได้ และนายทุนก็คงยินดีที่จะให้ เพราะว่ารัฐบาลเป็นประกัน ผมว่านี่คือการลดหนี้อย่างแท้จริง ลดเบี้ยเท่ากับลดหนี้ถูกต้องไหมครับ

แนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้สิน

ขณะนี้รัฐบาลไม่มีนโยบายที่จะเพิ่มเงินเดือนแต่ไม่เพิ่มไม่เป็นไร แต่การลดหนี้คุณก็ต้องทำให้ได้ มันไม่ใช่เรื่องยากเลย ขอให้มีความจริงใจที่จะทำ แค่รัฐบาลบอกว่าถ้าไม่ยอมลดก็จะเอาอะไรถึงจะต่างประเทศมา ผมว่าพวกธนาคารทุกวันนี้เขาหากินข้าราชการทั้งนั้นล่ะครับ เพราะว่าเอกชนไม่ค่อยได้กู้ เพราะว่าไม่มีหรอกทรัพย์ให้ค้ำแต่กับข้าราชการ สามารถหักเงินเดือนได้เลย ฉะนั้นคุณจะสูญเสียลูกหนี้ฉันไปประมาณ 2 ล้านกว่าคน คุณสูญเสียรายได้ไปเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นถ้ามีนายทุนต่างประเทศเข้ามาปั๊บสิ่งที่มันจะเกิดขึ้นคือ เขาจะรีบตกลงรับปากทันที และนี่ก็คือแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้สิน