พายุลูกใหม่ก่อตัว "พายุโซนร้อนโคอินุ"  จับตากระทบไทย

กรมอุตุนิยมวิทยาเผยแพร่ข้อมูลพายุโซนร้อนลูกใหม่ "พายุโซนร้อนโคอินุ" ก่อตัวแล้ว จับตาผลกระทบต่อไทยในอนาคต

วันที่ 30 กันยายน 2566 กรมอุตุนิยมวิทยาเผยแพร่ข้อมูลการก่อตัวของพายุลูกใหม่ เป็นพายุลูกที่ 14 ชื่อว่า "พายุโซนร้อนโคอินุ" แม้ขณะนี้ยังไม่มีผลกระทบต่อไทยโดยตรงแต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ จำเป็นต้องติดตามเป็นระยะ

 

พายุลูกใหม่ก่อตัว พายุโซนร้อนโคอินุ ก่อตัว จับตากระทบไทย

พายุลูกใหม่ก่อตัว พายุโซนร้อนโคอินุ ก่อตัว จับตากระทบไทย

 

 กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตสถานการณ์พายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ล่าสุด เมื่อเช้าวันนี้(30/9/66) พายุดีเปรสชันได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็น พายุโซนร้อน "โคอินุ (KOINU)" แล้ว โดย โคอินุ ความหมาย "ลูกสุนัข" ตั้งชื่อโดยประเทศญี่ปุ่น

ทั้งนี้ พายุโคอินุ มีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวทางทางตะวันตกเฉียงเหนือในระยะแรก ทิศทางไปยังเกาะไต้หวัน และเคลื่อนตัวตามแนวขอบชายฝั่งของประเทศจีนมาทางเกาะไหหลำ

คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเมื่อเคลื่อนตัวมาถึงประเทศเวียดนามตอนบน ยังไม่มีผลกระทบกับประเทศไทยในระยะนี้ อย่างไรก็ตามต้องติดตามเป็นระยะๆ ทิศทางยังเปลี่ยนแปลง

 

 

พายุลูกใหม่ก่อตัว พายุโซนร้อนโคอินุ ก่อตัว จับตากระทบไทย

 

 ด้านพยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า คาดหมายอากาศทั่วไป ระหว่างวันที่ 29 กันยายน – 5 ตุลาคม พ.ศ.2566

ช่วงวันที่ 30 ก.ย. – 2 ต.ค. 66 ร่องมรสุมกำลังอ่อนพาดผ่านประเทศไทยตอนบนในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนลดลง

ส่วนในช่วงวันที่ 3 – 5 ต.ค. 66 ร่องมรสุมจะพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางมีแนวโน้มจะเคลื่อนผ่านปลายแหลมญวณเข้าสู่อ่าวไทยตามแนวร่องมรสุม ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น

 

พายุลูกใหม่ก่อตัว พายุโซนร้อนโคอินุ ก่อตัว จับตากระทบไทย

 

ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

  ข้อควรระวัง  


ในช่วงวันที่ 3 – 5 ต.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและลมกระโชกแรงบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม

รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง