โรงงานเหล็กกรุงเทพฯ ไปต่อไม่ไหว ประกาศเลิกจ้างพนักงาน ยุติกิจการ59ปี

ไปต่อไม่ไหว โรงงานเหล็กกรุงเทพฯ ประกาศเลิกจ้างพนักงาน หลังเปิดมากว่า59ปี เหตุพิษเศรษฐกิจ ขาดทุนสะสมต่อเนื่อง ยันชดเชยดูแลลูกจ้างตามกฏหมาย


22พ.ย.66  โรงงานเหล็กกรุงเทพฯ ประกาศเลิกจ้างพนักงานทุกคน หลังเปิดกิจมานานกว่า 59ปี จากพิษสภาพเศรษฐกิจ ขาดทุนมาตลอด โดย นายอำนวย พิจิตรพงศ์ชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรงงานเหล็กกรุงเทพฯ จำกัด (บลกท.) ได้ออกประกาศเรื่อง การเลิกจ้างพนักงาน

 

โรงงานเหล็กกรุงเทพฯ ไปต่อไม่ไหว ประกาศเลิกจ้างพนักงาน ยุติกิจการ59ปี

  สำหรับใจความในหนังสือ  ระบุว่า เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมเหล็ก ซึ่งมีผลกระทบต่อบริษัทฯ มาโดยตลอดตามระยะเวลาที่ผ่านมาหลายปี บริษัทฯประสบปัญหาขาดทุนสะสมมาโดยตลอด อีกทั้งบริษัทฯ ได้พยายามหาทางออกเพื่อหลีกเลี่ยงการเลิกจ้างพนักงาน แต่ผลการดำเนินงานยังคงประสบภาวะขาดทุนตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

โรงงานเหล็กกรุงเทพฯ ไปต่อไม่ไหว ประกาศเลิกจ้างพนักงาน ยุติกิจการ59ปี


ดังนั้นบริษัทฯมีความจำเป็นที่ต้องเลิกจ้างพนักงานทุกท่าน ทั้งนี้พนักงาน ที่ถูกเลิกจ้างจะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย จะมีผลตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2566
 


ประวัติโรงงานเหล็กกรุงเทพฯ

 

     บริษัท โรงงานเหล็กกรุงเทพฯ จำกัด (บลกท.) ผู้ผลิตเหล็กแท่ง(Billet) และจำหน่ายเหล็กรายใหญ่ของไทย ในจังหวัดสมุทรปราการ อายุกว่า 59 ปี ก่อตั้งเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2507 เป็นบริษัทในเครือ ฉื่อ จิ้น ฮั้ว (ผู้ผลิตภาชนะอลูมิเนียม และเสาไฟฟ้าตราจระเข้)  ของตระกูล “พิจิตรพงศ์ชัย” ตั้งอยู่ที่ถนนสุขสวัสดิ์  อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ทุนจดทะเบียน 3,500 ล้านบาท 

 

   บริษัทโรงงานเหล็กกรุงเทพฯ เป็นผู้ผลิตเหล็กแท่ง(Billet) เหล็กเส้นเสริมคอนกรีตทั้งเหล็กเส้นกลม เหล็กเส้นข้ออ้อย เหล็กลวดคุณภาพสูง และเหล็กเพลาดำ ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ (มอก.) ภายใต้สัญลักษณ์ บลกท. ปัจจุบัน มีกำลังการผลิตประมาณ 400,000 ตัน/ปี บริษัททำการผลิตเองทุกขั้นตอน ด้วยระบบควบคุมคุณภาพที่เข้มงวด จึงทำให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ของ บลกท. ได้มาตรฐานมีคุณภาพและสม่ำเสมอตามความต้องการของลูกค้า

 

โรงงานเหล็กกรุงเทพฯ ไปต่อไม่ไหว ประกาศเลิกจ้างพนักงาน ยุติกิจการ59ปี

ทั้งนี้ทาง ฐานเศรษฐกิจ ได้ทำการตรวจสอบข้อมูลพบว่า บริษัท โรงงานเหล็กกรุงเทพฯ จำกัด (บลกท.) ผู้ผลิตเหล็กแท่ง(Billet) และจำหน่ายเหล็กรายใหญ่ของไทย ในจังหวัดสมุทรปราการ อายุกว่า 59 ปี  ผลการดำเนินงาน 5 ปีที่ผ่านมาขาดทุนอ่วมกว่า 2.5 พันล้าน

 

โรงงานเหล็กกรุงเทพฯ เป็นบริษัทในเครือ ฉื่อ จิ้น ฮั้ว ของตระกูล “พิจิตรพงศ์ชัย” ผู้ผลิต "เครื่องครัวตราจระเข้" และโรงงานผลิตอะลูมิเนียมแผ่น ประกาศเลิกจ้างพนักงานทั้งหมด 382 คน เนื่องจากประสบภาวะขาดทุนมาอย่างต่อเนื่อง 

โรงงานเหล็กกรุงเทพฯ ไปต่อไม่ไหว ประกาศเลิกจ้างพนักงาน ยุติกิจการ59ปี

เมื่อตรวจสอบงบข้อมูลการจดทะเบียนบริษัท และงบการเงินที่บริษัทแจ้งต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ผ่านระบบ Creden Data  พบว่า บริษัท โรงงานเหล็กกรุงเทพฯ จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2507 ทุนจดทะเบียน 4,908 ล้านบาท ตั้งอยู่เลขที่ 42 หมู่ 4 ถนนสุขสวัสดิ์ ตำบลบางครุ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

 

บริษัท โรงงานเหล็กกรุงเทพฯ จำกัด  มีผู้ถือหุ้นประกอบไปด้วย

 

-นายภูริพัฒน์ พิจิตรพงศ์ชัย เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 74.59%

-รองลงมาได้แก่นายอำนวย พิจิตรพงศ์ชัย 13.41 %

-บริษัท ฉื่อจิ้นฮั้ว 9.64 %

-บริษัท ไทยเอเซียสตีลไพพ์ จำกัด 1.94 %  

-กฤชฐารวี พิจิตรพงศ์ชัย 0.19 %

-ธัญวรัตน์ พิจิตรพงศ์ชัย 0.19 %

-บริษัท อลูมิเนียมฉื้อจิ้นฮั้ว 0.02 %

-บริษัท เฟิสท์ฉื่อจิ้นฮั้ว 0.02 % 

 

เมื่อตรวจสอบงบการเงินที่ บริษัท โรงงานเหล็กกรุงเทพฯ กระทรวงพาณิชย์ แจ้งต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จำกัด  กระทรวง ผ่านระบบ Creden Data  พบว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2561-2565 บริษัทมีผลการดำเนินงานขาดทุนอย่างหนักรวมกว่า 2,501.18 ล้านบาท ดังนี้

 

  • ปี 2561 ขาดทุน 422.07 ล้านบาท 
  • ปี 2562 ขาดทุน 583.61 ล้านบาท 
  • ปี 2563 ขาดทุน 1,032.84 ล้านบาท 
  • ปี 2564 ขาดทุน 146.03 ล้านบาท 
  • ปี 2565 ขาดทุน 316.61 ล้านบาท 


เมื่อเจาะลึกในงบการเงินตั้งแต่ปี 2561-2565 บริษัท โรงงานเหล็กกรุงเทพฯ มีรายได้รวม 28,516.05 ล้านบาท ขณะที่รายจ่ายรวมอยู่ที่ 30,767.70 ล้านบาท โดยจ่ายจ่ายส่วนใหญ่มาจากต้นทุนขาย 29,904.52 ล้านบาท ดังนี้

 

  • ปี 2561 รายได้รวม 6,973.49 ล้านบาท รายจ่ายรวม 7,197.74 ล้านบาท 
  • ปี 2562 รายได้รวม 5,146.57 ล้านบาท รายจ่ายรวม 5,492.61 ล้านบาท
  • ปี 2563 รายได้รวม 5,059.69 ล้านบบาท รายจ่ายรวม 5,736.22 ล้านบาท
  • ปี 2564 รายได้รวม 6,276.59 ล้านบาท รายจ่ายรวม 6,067.13 ล้านบาท
  • ปี 2565 รายได้รวม 5,059.69 ล้านบาท รายจ่ายรวม 5,863.27 ล้านบาท

cr.ฐานเศรษฐกิจ