เฮสนั่น เคาะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ ได้ไม่เท่ากัน เช็ครายละเอียด

ล่าสุดมีรายงาน ที่กระทรวงแรงงานผลการประชุมได้ข้อสรุป ขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2566 เคาะแล้ว ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ แต่ละที่ได้ไม่เท่ากัน

วันที่ 8 ธันวาคม 2566 ที่กระทรวงแรงงาน นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน เผยผลการประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ชุดที่ 22 ที่ประกอบด้วยกรรมการไตรภาคีพิจารณาการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2566 ล่าสุด ข่าวดี เคาะแล้ว ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ แต่ละที่ได้ไม่เท่ากัน เช็ครายละเอียด

 

เฮสนั่น เคาะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ ได้ไม่เท่ากัน เช็ครายละเอียด

เฮสนั่น เคาะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ ได้ไม่เท่ากัน เช็ครายละเอียด

 

โดยหลังการประชุมตั้งแต่เมื่อเวลา 10.00-15.00น. ที่กระทรวงแรงงาน สุดท้ายได้ข้อสรุปแล้วเรื่องการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ  2566

นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงานได้แถลงผลการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2566 ว่า ที่ประชุมมีมติให้ปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำทั้ง 77 จังหวัด ในอัตราเพิ่มขึ้น 2-16 บาท ซึ่งค่าจ้างค่าขั้นต่ำที่เพิ่มมากที่สุดคือ จ.ภูเก็ต คือ 370 เพิ่มขึ้นจาก 354 บาท และต่ำที่สุดคือ 330 บาท ใน 3 จังหวัด คือ นราธิวาส ปัตตานี และยะลา ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 328 บาท

1.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 370 บาท 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต จากเดิม 354 บาท

2.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 363 บาท 6 จังหวัด กรุงเทพมหานคร (353) จังหวัดนครปฐม (353) นนทบุรี (353) ปทุมธานี (353) สมุทรปราการ (353) และสมุทรสาคร (353)

3.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 361 บาท 2 จังหวัด จังหวัดชลบุรี (354) และระยอง (354)

4.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 352 บาท จำนวน 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา (340)

5.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 351 บาท จำนวน 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสมุทรสงคราม (338)

6.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 350 บาท จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (343) สระบุรี (340) ฉะเชิงเทรา (345) ปราจีนบุรี (340) ขอนแก่น (340) และเชียงใหม่ (340)

7.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 349 บาท จำนวน 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลพบุรี (340)

8.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 348 บาท จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี (340) นครนายก (338) และหนองคาย (340)

9.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 347 บาท จำนวน 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ (340) และตราด (340)

10.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 345 บาท จำวน 15 จังหวัดกาญจนบุรี (335) ประจวบคีรีขันธ์ (335) สุราษฎร์ธานี (340) สงขลา (340) พังงา (340) จันทบุรี (338) สระแก้ว (335) นครพนม (335) มุกดาหาร (338) สกลนคร (338) บุรีรัมย์ (335) อุบลราชธานี (340) เชียงราย (332) ตาก (332) พิษณุโลก (335)

11.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 344 บาท จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี (335) ชุมพร (332) สุรินทร์ (335)
12.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 343 บาท จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดยโสธร (335) ลำพูน (332) นครสวรรค์ (335)

13.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 342 บาท จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช (332) บึงกาฬ (335) กาฬสินธุ์ (338) ร้อยเอ็ด (335) เพชรบูรณ์ (335)

14.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 341 บาท จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยนาท (335) สิงห์บุรี (332) พัทลุง (335) ชัยภูมิ (332) และอ่างทอง (335)

15.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 340 บาท จำนวน 16 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระนอง (332) สตูล (332) เลย (335) หนองบัวลำภู (332) อุดรธานี (340) มหาสารคาม (332) ศรีสะเกษ (332) อำนาจเจริญ (332) แม่ฮ่องสอน (332) ลำปาง (332) สุโขทัย (332) อุตรดิตถ์ (335) กำแพงเพชร (332) พิจิตร (332) อุทัยธานี (332) และราชบุรี (332)

16.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 338 บาท จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตรัง (332) น่าน (328) พะเยา (335) แพร่ (332)

17.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 330 บาท จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส (328) ปัตตานี (328) และยะลา (328)

เฉลี่ย 345 รวม 77 จังหวัด

ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป

ซึ่งเหตุผลของการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ จะต้องดูเรื่องอัตราเงินเฟ้อ การเติบโตทางเศรษฐกิจ สภาพการจ้างงาน อัตราการว่างงาน ซึ่งอาจจะมีคำถามว่าบางจังหวัดขึ้นค่าจ้างน้อย บางจังหวัดขึ้นค่าจ้างสูง ต้องย้ำว่าทางคณะอนุกรรมการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำแต่ละจังหวัด มีสูตรการคำนวณตัวเลขค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ แล้วนำมาพิจารณาในที่ประชุมวันนี้ ดังนั้น การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไม่สามารถดูได้จากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง จะต้องดูจากหลายปัจจัยประกอบด้วย