รวบสองสามี-ภรรยา สุดแสบ ผู้เสียหาย 73 ราย มูลค่าความเสียหายกว่า 53 ล้านบาท

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) รวบสองสามี-ภรรยา แก็งแชร์ออนไลน์ หลอกให้ร่วมลงทุน ผู้เสียหาย 73 ราย มูลค่าความเสียหายกว่า 53 ล้านบาท

กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการปราบปราม(บก.ป.) ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. 

รวบสองสามี-ภรรยา สุดแสบ ผู้เสียหาย 73 ราย มูลค่าความเสียหายกว่า 53 ล้านบาท

​ร่วมกันจับกุม ​

​​1. นายนัฐศิลป์ ฯ อายุ 48 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลอาญา ที่ 787/2565 ลงวันที่ 22 เมษายน 2565 โดยต้องหาว่ากระทำผิดฐาน  “ ร่วมกันฉ้อโกง, ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน, ร่วมกันโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน, ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ”

​​2. นางสาวนัฎฐวรรณ ฯ อายุ 41 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลอาญา ที่ 788/2565 
ลงวันที่ 22 เมษายน 2565 โดยต้องหาว่ากระทำผิดฐาน  “ ร่วมกันฉ้อโกง, ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน, ร่วมกันโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน, ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ”

​​สถานที่จับกุม  นายนัฐศิลป์ ฯ จับกุมที่บริเวณริมถนนใน ต.หัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และ นางสาวนัฎฐวรรณ ฯ จับกุมในพื้นที่ ต.ชะอำ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
​พฤติการณ์

รวบสองสามี-ภรรยา สุดแสบ ผู้เสียหาย 73 ราย มูลค่าความเสียหายกว่า 53 ล้านบาท

สืบเนื่องจาก เมื่อประมาณ เดือน มกราคม 2560 เพื่อนของผู้เสียหายได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับการระดมลงทุนนำเงินไปลงทุนกับรัฐวิสาหกิจ ทางเพจ เฟซบุ๊ก ได้ผลกำไรดี จึงเกิดความสนใจจึงได้เข้าไปดูในเฟชบุ๊กนั้น และพบโฆษณาว่าหากมีใครสนใจจะออมเงิน จะได้ผลตอบแทนดีให้ลงชื่อไว้ ต่อมาผู้เสียหายได้ถูกดึงเข้ากลุ่ม "ออมเงินบ้านน้ำหวาน" ทางกลุ่มได้โฆษณารายละเอียดและวิธีการลงทุนโดยนำเงินไปลงทุนแล้วจะได้ดอกเบี้ยร้อยละตามที่กำหนด

เมื่อผู้เสียหาย ได้เข้าร่วมกลุ่มแล้ว ก็สังเกตจากข้อความของ แอดมิน ซึ่งทำการโพสต์ข้อความในกลุ่มเพื่อให้สมาชิกได้อ่านว่าเป็นการระดมทุนไปลงทุนกับรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้า และจะได้ผลกำไรดี เมื่อผู้เสียหายเห็นว่าข้อความว่ามีการโอนเงินเข้าลงทุนและสมาชิกที่เข้าไปลงทุนก็ได้รับดอกเบี้ยจากวงเงินที่นำไปลงทุนจริง ผู้เสียหายจึงตัดสินจะลงทุน  และได้เข้าร่วมโดยเริ่มลงทุนตั้งแต่ปลายเดือน กุมภาพันธ์ 2560 ซึ่งการโอนเงินเข้าไประดมทุน นั้น แอดมินเพจ ได้แจ้งเลขบัญชีธนาคาร ไว้หลายบัญชี ในนั้นมีบัญชี ของนายนัฐศิลป์ฯ และนางสาวนัฎฐวรรณฯ สองสามีภรรยา โดยผู้เสียหาย ได้โอนจากบัญชีของตนเอง และสามีไป

ต่อมาเมื่อประมาณกลางเดือน สิงหาคม 2560 ผู้เสียหายก็ได้พบว่าในกลุ่มเฟซบุ๊ก "ออมเงินบ้านน้ำหวาน"  ได้มีการพูดคุยของลูกแชร์ที่ร่วมลงทุนกันว่ารับเงินดอกเบี้ยหรือปันผลและเงินต้นล่าช้า เป็นที่ผิดสังเกตและแอดมินเพจ ไม่ยอมออกมาพูดคุยซี้แจงให้ผู้ที่ลงทุนทราบปัญหา และต่อมาแอดมินเพจฯ ได้ออกมาแจ้งในเพจว่าให้ลูกแชร์รอก่อน จะโอนเงินต้นและปันผลให้ในสิ้นเดือน (สิงหาคม 2560) และรับว่าจะทยอยคืนให้ หลังจากนั้น ผู้เสียหาย ได้พยายามติดต่อขอทวงเงินคืน แต่ก็ได้รับการบ่ายเบี่ยงมาโดยตลอด จึงเชื่อว่าถูกผู้ต้องหาหลอกลวงเอาเงินไป โดยอ้างว่าเป็นการนำไปลงทุนแล้ว และมีผู้เสียหายอื่นอีกรวมทั้งสิ้น จำนวน 73 ราย  ถูกหลอกในลักษณะเดียวกัน รวมค่าเสียหายทั้งสิ้น จำนวน 53,861,900 บาท เมื่อรู้ว่าถูกหลอก ผู้เสียหาย กับพวกรวม 73 ราย จึงได้พากันมาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ให้ดำเนินคดีกับ ผู้ต้องหากับพวก

สำหรับผู้ต้องหาสองสามี-ภรรยา ภายหลังได้มีการขึ้นบัญชีเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องการตัวและลงประกาศสืบจับสำนักงานตำรวจแห่งชาติประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ลำดับที่ 218 และ 219  

ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมได้สืบสวนจนทราบว่าผู้ต้องหาหลบหนีมาพักอาศัยอยู่ในพื้นที่ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ทำอาชีพขายโทรศัพท์มือถือทางออนไลน์ และสืบทราบว่าผู้ต้องหาได้มีการนัดรับ ซื้อ-ขาย โทรศัพท์เคลื่อนที่บริเวณหน้าโรงเรียนใน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมจึงได้เดินทางลงพื้นที่ตรวจสอบ จนกระทั่งพบตัวผู้ต้องหาที่บริเวณดังกล่าว จึงได้เข้าทำการจับกุมและนำตัวส่งพนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปอศ. ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

​สอบถามคำให้การผู้ต้องหาเบื้องต้น  ให้การรับว่าเป็นบุคคล คนเดียวกันกับหมายจับ