กระจ่างชัด ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าประกัน ค่าศัลยกรรม ใช้ "ลดหย่อนภาษี" ได้จริงหรือ?

"มาตรการลดหย่อนภาษี 50,000 บาท" ไขคำตอบ จากคำถามที่พบบ่อย ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าประกัน ค่าศัลยกรรม มาใช้ "ลดหย่อนภาษี" ได้จริงหรือไม่

กระจ่างชัด ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าประกัน ค่าศัลยกรรม ใช้ "ลดหย่อนภาษี" ได้จริงหรือ? : "การลดหย่อนภาษี" ก่อนหน้านี้ น.ส.กุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กระทรวงการคลัง โดยกรมสรรพากรตระหนักถึงความสำคัญของการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ 391 (พ.ศ. 2566) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร เพื่อให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามมาตรการ "Easy E-Receipt"

 

"การลดหย่อนภาษี" โดยให้ผู้ซื้อสินค้าสังเกตร้านค้าทีมีสัญลักษณ์ Easy E-Receipt ควบคู่กับ e-Tax Invoice & e-Receipt ซึ่งมีหลักเกณฑ์ และ เงื่อนไข ดังนี้
1. กรณีซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) พร้อมต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วย

 

กระจ่างชัด ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าประกัน ค่าศัลยกรรม ใช้ "ลดหย่อนภาษี" ได้จริงหรือ?
 

ทั้งนี้ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จะได้รับสิทธิฯ ไม่รวมถึงคือ 

  • ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
  • ค่าซื้อยาสูบ
  • ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
  • ค่าน้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
  • ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ และค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
  • ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 15 ก.พ. 2567
  • ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย


2. กรณีการซื้อสินค้าหรือการรับบริการจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่ไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องมีใบรับตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) พร้อมต้องระบุชื่อ นามสกุล และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วย เฉพาะค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการดังต่อไปนี้

  • ค่าซื้อหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร
  • ค่าบริการหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
  • ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งได้ลงทะเบียนกับ กรมการพัฒนาชุมชนแล้ว

 

กระจ่างชัด ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าประกัน ค่าศัลยกรรม ใช้ "ลดหย่อนภาษี" ได้จริงหรือ?  

แม้ว่ารัฐบาลจะกำหนดว่ากลุ่มสินค้า-บริการที่สามารถนำใช้สิทธิลดหย่อนภาษีไปแล้ว แต่ก็ยังมีบางคนเกิดข้อสงสัยว่า ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าประกัน ค่ารักษาพยาบาล หรือค่าทำศัลยกรรม สามารถนำมาใช้ร่วมสิทธิได้หรือไม่ โดยกรมสรรพากรได้เผยรายละเอียดไว้แล้วดังนี้

 

"การลดหย่อนภาษี" กับคำถามที่พบบ่อย 

คำถาม ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ สามารถนำมาหักลดหย่อนเป็นค่าซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศได้หรือไม่

  • คำตอบ ไม่ได้

 

คำถาม ค่าซื้อประกันชีวิต ประกันวินาศภัย ประกันสุขภาพ ประกันรถยนต์ สามารถนำมาหักลดหย่อนเป็นค่าซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศได้หรือไม่

  • คำตอบ ไม่ได้

1.1) ค่าซื้อประกันชีวิต ไม่สามารถนำมาใช้สิทธิตามมาตรการนี้ได้ เนื่องจากเป็นบริการที่ไม่อยู่บังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ขอให้พิจารณาใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าซื้อเบี้ยประกันชีวิต ตามประมวลรัษฎากร (มาตรา 47 (1) (ง)) และกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 พ.ศ. 2509 ข้อ 2 (61) ไม่เกิน 100,000 บาท
1.2) ค่าซื้อประกันวินาศภัย ประกันสุขภาพ และประกันรถยนต์ ไม่สามารถนำมาใช้สิทธิตามมาตรการนี้ได้

 

 

คำถาม ค่ารักษาพยาบาล ค่าทำศัลยกรรม สามารถนำมาหักลดหย่อนเป็นค่าซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศ ได้หรือไม่

  • คำตอบ ไม่ได้ เนื่องจากการให้บริการของสถานพยาบาลได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการไม่มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี อันเป็นหลักฐานการใช้สิทธิตามมาตรการนี้
     

กระจ่างชัด ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าประกัน ค่าศัลยกรรม ใช้ "ลดหย่อนภาษี" ได้จริงหรือ?