"กฎหมายสมรสเท่าเทียม" ผ่านสภาฯแล้ว คืนสิทธิเบื้องต้นให้ LGBTQ

ที่ประชุมสภาฯ ผ่าน "กฎหมายสมรสเท่าเทียม" คืนสิทธิ LGBTQ อายุ 18 ปีบริบูรณ์ สามารถ หมั้นหรือสมรสได้ ชงที่ประชุมวุฒิสภา ลุ้นลงมติก่อน สว.พ้นวาระ


27 มี.ค.67 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่...) พ.ศ. .... หรือร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม วาระที่ 2-3 หลังจากคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างกฎหมายครบแล้ว 68 มาตรา พิจารณาร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม วาระ 2-3 เปิดโอกาสให้จัดการทรัพย์สินและมีสิทธิรักษาพยาบาลได้ หลังรอคอยนานกว่า 20 ปี

คืบหน้าล่าสุด  ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติเสียงข้างมาก 400 เสียง ต่อ 10 เสียง ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ กฎหมายสมรสเท่าเทียม ในวาระที่ 3 ตามที่คณะกรรมการธิการฯ พิจารณาแล้วเสร็จ  กำหนดอายุ 18 ปี ปีบริบูรณ์ สามารถหมั้น-สมรสได้ โดยที่ สส.มุสลิม ได้ขอใช้เอกสิทธิ์ไม่ให้ความเห็นชอบ เนื่องจาก หลักการร่างกฎหมายดังกล่าว ขัดต่อหลักศาสนา 

"กฎหมายสมรสเท่าเทียม" ผ่านสภาฯแล้ว คืนสิทธิเบื้องต้นให้ LGBTQ

  • ไทยจ่อเป็นชาติแรกในอาเซี่ยน ที่มี"กฎหมายสมรสเท่าเทียม"

 

หากกฎหมายสมรสเท่าเทียม ผ่าน ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชีย เป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มี "กฎหมายสมรสเท่าเทียม" เปิดโอกาสให้คนเพศเดียวกันสมรสกัน 
 


ขั้นตอนหลังจากนี้ สภาผู้แทนราษฎร จะส่งต่อให้วุฒิสภา พิจารณาตามขั้นตอน แต่หากไม่เห็นชอบจะนำไปสู่การตั้งคณะกมธ.ร่วมกันของทั้ง 2 สภา และในการประชุมสมัยหน้าเตรียมนำร่างกฎหมายการรับรองเพศ คำนำหน้านามฯ เข้าสู่การพิจารณาต่อไป 

 

"กฎหมายสมรสเท่าเทียม" ผ่านสภาฯแล้ว คืนสิทธิเบื้องต้นให้ LGBTQ

ซึ่งหลังสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบในวาระที่ 3 แล้ว วุฒิสภา พร้อมพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว ในวันที่ 1-2 เมษายนนี้ หรือ วันที่ 9 เมษายน ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของสมัยประชุมสภา สมัยสามัญ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2566  ก่อนจะเสนอกลับมายังวุฒิสภา เพื่อพิจารณาลงมติให้ความเห็นชอบ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ในช่วงเปิดสมัยประชุมสภา สมัยสามัญ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567 ให้ทันก่อนที่สมาชิกวุฒิสภาชุดใหม่จะเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ 

 

สำหรับสมาชิกวุฒิสภาชุดปัจจุบัน จะหมดวาระลงในวันที่ 11 พฤษภาคมนี้ แต่จะยังคงอยู่รักษาการปฏิบัติหน้าที่ต่อ จนกว่าจะมีวุฒิสภาชุดใหม่เข้าปฏิบัติหน้าที่ 

 

  • หาก กฎหมายสมรสเท่าเทียม ผ่านที่ประชุมวุฒิสภา 

ทางสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จะนำร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อประกาศเป็นกฎหมายบังคับใช้ต่อไป