ติดตามเรื่องราวดีๆอีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th/

"The Screech Owl" เป็นชื่อหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ เล่มแรก ที่ออกโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อครั้งทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ศึกษาอยู่ที่อังกฤษ เป็นหนังสือรายสัปดาห์  มีเกร็ดเรื่องเล็กๆน้อยๆ สำหรับเยาวชน  พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ  ไม่ได้ขาย แต่แจกจ่ายอ่านฟรีในหมู่คนข้าราชบริพาร เรื่องราวที่ลงพิมพ์เป็นพระราชนิพนธ์ทั้งหมด

ต่อมาทรงออกหนังสือพิมพ์อีกฉบับหนึ่งชื่อ The Looker-on เป็นหนังสือพิมพ์ประจำสมาคมนักเรียนไทยที่อังกฤษ ที่ทรงจัดตั้งขึ้น พระราชทานนามสมาคมว่า "สามัคคีสมาคม" ส่วนหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ก็เป็นที่มาของ "สามัคคีสาร" ในเวลาต่อมา
"สามัคคีสมาคม" จากการรวมตัวของนักเรียนไทยในต่างแดนสู่ที่มาของ "ขบวนการเสรีไทย" !! สมาคม(เคย)ลับต่างแดน ในสมัยรัชกาลที่ 6

(ตราสามัคคีสมาคม)

พูดถึง "สามัคคีสมาคม" ก็ต้องเอ่ยว่านี่คือสมาคมคนไทยในต่างประเทศสมาคมแรกครับ สมาคมไทยทั้งหลายที่บรรดาชาวไทยในต่างแดนทั้งหลายที่สรวลเสเฮฮามาร่วมกิจกรรมกันอยู่ ล้วนมีวิวัฒนาการมาจากรากฐานที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงก่อไว้ทั้งสิ้น นักเรียนไทยในยุโรปยุคนั้นมีอาการหลายจำพวกครับ จำพวก Homesick คิดถึงบ้าน ง้องแง้งงอแงแบบเด็กอ่อนแอก็มี จำพวกลืมกำพืด ทำตัวเป็นฝรั่งจ๋า ไม่สนใจความเป็นไทยเลยก็มี จำพวกต่างคนต่างอยู่ ก้มหน้าก้มตาเรียนอย่างเดียว ไม่มีเพื่อนไม่มีฝูง ไม่เสวนากับใครเลยก็มี ไม่ต่างอะไรจากนักเรียนไทยในต่างแดนสมัยนี้

"สามัคคีสมาคม" จากการรวมตัวของนักเรียนไทยในต่างแดนสู่ที่มาของ "ขบวนการเสรีไทย" !! สมาคม(เคย)ลับต่างแดน ในสมัยรัชกาลที่ 6

วิธีทำให้บรรดานักเรียนไทยเหล่านั้นหายเหงา ไม่ลืมความเป็นไทย รู้จักสมานสามัคคี เห็นจะไม่มีทางใดดีไปกว่ารวบรวมเข้ามาเป็นสมาคม "สามัคคีสมาคม" จึงถือกำเนิดขึ้น เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2444 ถ้าจะบอกว่าสมาคมนี้เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของแนวพระราชดำริเรื่องประชาธิปไตย ของสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ก็คงจะไม่ผิดนัก เนื่องจากระบบการจัดการบริหารกลุ่มที่เป็นประชาธิปไตยสมัยใหม่มากๆ

"สามัคคีสมาคม" จากการรวมตัวของนักเรียนไทยในต่างแดนสู่ที่มาของ "ขบวนการเสรีไทย" !! สมาคม(เคย)ลับต่างแดน ในสมัยรัชกาลที่ 6

ตั้งแต่แรกเลยคือให้จัดการเลือกตั้งคณะกรรมการอำนวยการให้เปลี่ยนกันเข้ามาบริหารงาน ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกอื่นมีโอกาสเข้ามารับผิดชอบสมาคม อันเป็นการฝึกคนจำนวนมากให้มีทักษะในการทำงานเพื่อส่วนรวม และเป็นการฝึกหัดการบริหารงานไปในตัว ที่เป็นประชาธิปไตยไฉไลขึ้นไปอีกก็ได้แก่การที่กรรมการทุกตำแหน่ง ได้แก่ สภานายก อุปนายก เลขานุการ เหรัญญิก ประชาสัมพันธ์ นายทะเบียน ปฏิคม สนทนากรรมการ เกฬากรรมการ บันเทิงกรรมการ บรรณาธิการสามัคคีสาร และบรรณารักษ์ นั้นให้สมาชิกเลือกตั้งโดยตรง มิใช่กำหนดตำแหน่งแต่งตั้งกันเองภายหลัง ด้วยมีพระราชประสงค์ที่จะทรงทดลองประชาธิปไตย และศิลปะในการอยู่ร่วมกันแบบประชาธิปไตย ภายในขอบเขตของสมาคม ซึ่งเป็นองค์กรขนาดเล็ก 

พอมาอยู่ด้วยกันแล้ว ก็ต้องมีการประชุมประจำปีเรียกกว่า “มีตติ้ง” ในลักษณะผสมผสานวัฒนธรรมตะวันตกกับวัฒนธรรมไทย กล่าวคือ นอกจากประชุมเรื่องกิจการของสมาคมแล้ว ยังมีการพบปะสังสรรค์กัน เป็นกิจกรรมต่อเนื่องหลายวัน สำหรับกิจกรรมต่างๆ นั้น ได้แก่ การแข่งขันกีฬา การเล่นดนตรี การเสวนาทางวิชาการ การโต้วาที ตลอดจนร่วมรับประทานอาหารและพำนักในสถานที่เดียวกัน เพื่อกระชับไมตรีในหมู่สมาชิก มีการออก "สามัคคีสาร" แลกเปลี่ยนความรู้ ข่าวสาร และความคิดเห็นในหมู่คนไทยในยุโรป 

"สามัคคีสมาคม" จากการรวมตัวของนักเรียนไทยในต่างแดนสู่ที่มาของ "ขบวนการเสรีไทย" !! สมาคม(เคย)ลับต่างแดน ในสมัยรัชกาลที่ 6

กิจการของสามัคคีสมาคมเฟื่องฟูมากในยุครัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 ยิ่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ, สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี, สมเด็จฯ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ, พระนางเจ้าสุวัทนาฯ และเจ้านายอีกหลายพระองค์ เสด็จนิราศไปประทับที่อังกฤษ สามัคคีสมาคม ยิ่งเป็นปึกแผ่นมาก เพราะแต่ละงานก็มีเจ้านายเสด็จมาทรงร่วม เป็นกำลังใจ เป็นศูนย์รวมความภักดี สมาชิกสมาคมนี้แหละครับ ที่รวมตัวกันเป็น "ขบวนการเสรีไทย" สายอังกฤษ ที่ทำให้ไทยรอดพ้นจากความพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2

"สามัคคีสมาคม" จากการรวมตัวของนักเรียนไทยในต่างแดนสู่ที่มาของ "ขบวนการเสรีไทย" !! สมาคม(เคย)ลับต่างแดน ในสมัยรัชกาลที่ 6

อ้างอิงข้อมูลจาก - th.wikipedia.org , www.reurnthai.com