ติดตามเรื่องราวดีๆอีกมากมาย ได้ที่ http://www.tnews.co.th

หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว วัดเขาแหลม สระแก้ว

หลวงปู่กาหลง เดิมท่านเป็นชาวคลอง ๗ ปทุมธานี เกิดเมื่อวันที่ ๑๐มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๑ มีพี่น้องทั้งหมด ๔คน ท่านเป็นบุตรคนโต โดยก่อนที่หลวงปู่ท่านจะเกิด ก็ได้เกิดนิมิตขึ้นมาดังนี้

เรื่องเล่าของลุงบาง เห็นฤาษีจูงเด็กน้อย

มีชายคนหนึ่งชื่อ ลุงบาง กำลังออกหาปลา อาชีพของเขาในตอนนั้น ในตอนนั้นเขากำลังอยู่ใกล้บริเวณบ้านของหลวงปู่ ตอนนั้นท่านยังไม่เกิด ตอนนั้นลุงบางได้เห็นลูกไฟลูกหนึ่งลอยมาหน้าบ้านของหลวงปู่ ทันใดนั้นดวงไฟนั้นก็ได้กลายเป็นฤๅษี กำลังจูงเด็กน้อยเข้าไปในบ้านหลวงปู่ เมื่อแกเห็นเป็นเช่นนั้น แกจึงได้ยกมือไหว้ด้วยความเลื่อมใส และได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าเด็กในบ้านนี้เกิดเป็นผู้ชาย แกจะเลิกจับปลาเด็ดขาดต่อมา ผู้หญิงผู้ชายในบ้านนี้ก็ได้คลอดลูกออกมาเป็นลูกชาย ตั้งชื่อให้ว่า “กาหลง” หลังจากนั้นลุงบางก็ได้เลิกหาปลาตามที่เขาได้สัญญาไว้ ในชีวิตวัยเยาว์ หลวงปู่ท่านเป็นผู้ที่มีใจฝักใฝ่ต่อพระพุทธศาสนา ท่านชอบไหว้พระ หรือเมื่อพ่อแม่ของท่านชวนท่านไปวัด ท่านก็จะไปวัดกับพ่อแม่เป็นประจำ ท่านชอบนั่งสมาธิภาวนาอยู่เป็นประจำ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ตอนนั้น ท่านมีอายุครบ๒๐ ปี บริบูรณ์ ท่านได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดนาบุญ คลอง ๗ จังหวัดปทุมธานี

กราบด้วยเศียรเกล้า..รำลึกคล้ายวันละสังขาร ๑๒ กันยายน..หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว พระเถราจารย์ผู้มีเขี้ยวแก้วกลางเพดานปาก..

หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว

ในวันที่ท่านบวช ลุงบางก็ได้เล่านิมิตที่ลุงบางได้เก็บมานานถึง ๒๐ ปี ให้หลวงปู่ฟัง และหลังจากหลวงปู่ท่านอุปสมบทแล้ว ลุงบางก็ทำหน้าที่เป็นโยมอุปฐาก คอยดูแลหลวงปู่อย่างใกล้ชิด หลังจากอุปสมบท ท่านก็ได้บวชเรียนและจำพรรษาที่ วัดนาบุญ และร่ำเรียนวิทยาคมกับ หลวงพ่อเนียม และ หลวงพ่อซึ้ง ท่านทั้ง ๒นี้เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังจากวัดนาบุญ จนท่านมีความชำนาญในการเข้ากรรมฐาน และวิชาอาคมต่างๆ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ท่านได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ ณ วัดน้ำซับ หลวงปู่ท่านได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ท่านได้สร้างโบสถ์หลายๆ หลังขึ้นมาอีกมากมาย

จากนั้น ท่านก็ได้ย้ายไปจำพรรษา ณ วัดเขาแหลม และเป็นเจ้าอาวาสวัดเขาแหลมในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ท่านเคยไปปลุกเสกตามวัดต่างๆหลายต่อหลายวัดมีอยู่ครั้งหนึ่งที่ไปปลุกเสกร่วมกับ หลวงปู่โต๊ะ หลังเสร็จพิธีการหลวงปู่โต๊ะถึงกับกล่าวและชี้มาที่ หลวงปู่กาหลง ให้หลวงปู่แช่มวัดนวลนรดิศและศิษย์ที่นั่งอยู่ฟังว่า

"พระรูปนี้ชื่ออะไรอยู่วัดไหน ทำไมพลังอำนาจจิตถึงได้รุนแรงพิศดารแบบนี้ไม่เคยพบเห็นที่ไหนมาก่อน"

หลวงปู่ท่านมีเขี้ยวแก้วอยู่ที่กลางเพดานปากเป็นของศักดิ์สิทธิ์ที่ติดตัวท่านมาแต่เกิด หลวงปู่บอกว่าของดีนี้เกิดขึ้นเองและจะมีก็แต่บุคคลที่พิเศษจริง เช่น ของพระพุทธเจ้าเป็นต้นที่มี ถ้าเป็นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เรียกว่า พระเขี้ยวแก้ว แต่ของหลวงปู่ท่านเรียกว่า “เขี้ยวแก้ว” ซึ่งเป็นของดีเฉพาะตัวเฉพาะบุคคล เวลาใครไปกราบท่านแล้วให้ท่านปลุกเสกของท่านก็มักจะเอามือล้วงไปในปากท่านแตะที่เขี้ยวแก้วของท่านแล้วนำมาคลึง ที่พระหรือของที่มาให้ท่านปลุกเสกเป็นการเพิ่มพลังพุทธคุณ

ท่านมักกล่าวอยู่เสมอว่า

"ของๆฉันตั้งใจทำมากับมือต่อไปจะมีค่ายิ่งกว่าทองคำจะหายากยิ่งกว่าเพชร"

“ฉันทำเครื่องรางของขลังทั้งสักทั้งเสกเพื่อคุ้มครองชีวิตคนมาตั้งแต่ปี ๒๔๘๕ แต่ไม่เคยประกาศให้ใครรู้มีแต่บอกต่อกันแบบปากต่อปาก เมื่อก่อนใครจะมาเอาของๆฉันไปบูชาต้องแบกปืนมาลองด้วยถ้าฉันไม่แน่จริงฉันคงสร้างโบสถ์ได้ไม่ถึง๘หลังหรอก”

(จากคำสัมภาษณ์เพิ่มเติมจากผู้ใกล้ชิด นับจากวันที่ท่านกล่าวไว้ จนถึงวันที่ท่านละสังขาร มีมากกว่า๘ หลังที่สร้างแล้วเสร็จเนื่องด้วยบุญญาบารมีของหลวงปู่กาหลงและความร่วมแรงร่วมใจจากศิษยานุศิษย์)

กราบด้วยเศียรเกล้า..รำลึกคล้ายวันละสังขาร ๑๒ กันยายน..หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว พระเถราจารย์ผู้มีเขี้ยวแก้วกลางเพดานปาก..

วิชาอาคมของหลวงปู่กาหลงนั้น ได้มาจากสุดยอดเกจิระดับตำนานมากมายหลายท่าน แต่ที่สร้างชื่อเสียงร่ำลือเป็นที่รู้จักกว้างขวาง คือ “พระลักษมณ์หน้า ทอง”

สำหรับวิชานี้เป็นที่ขึ้นชื่อเกี่ยวกับอํานาจแห่งเสน่ห์เมตตามหานิยม ที่ชาวโขนละครในสมัยก่อนต่างนับถือกันนัก  วิชานี้หลวงปู่กาหลงเล่าว่าท่านได้รับการถ่ายทอดจากครูผึ่ง ซึ่งเป็นครูโขนละครในสมัยรัชกาลที่ ๖ ตอนที่ครูผึ่งพบท่านนั้น ครูผึ่งชรามากแล้ว ส่วนท่านเพิ่งเป็นพระได้ไม่กี่พรรษา เล่าว่าครูผึ่งพอใจในวัตรปฏิปทาของท่านจนบังเกิดเป็นความศรัทธา  และได้ถวายวิชานี้ให้แก่ท่าน  แต่เดิมหลวงปู่กาหลงท่านก็ไม่อยากรับวิชานี้  แต่เมื่อครูผึ่งได้พยายามอยู่หลายหนท่านก็อ่อนใจ จนรับครอบวิชานี้จากท่าน

                วิชาพระลักษมณ์หน้าทอง นับเป็นวิชาสายเมตตามหานิยมที่มี อานุภาพสูงส่ง  ชาวโขนละครในนับถือกันมากที่สุด  เชื่อกันว่าใครได้ครอบแล้วจะเป็นเมตตามหานิยมแก่ตนเองไปหาผู้ใดเขาก็รัก  จะร้องรําทําเพลงประการใด  ใครๆ ก็ชอบ  ดังนั้นจึงเป็นที่นับถือกันมาก  สายวิชาพระลักษมณ์หน้าทองเป็นสายวิชาที่ปกปิดกันมากเพราะเป็นที่หวงแหนของครูบาอาจารย์สมัยก่อน อย่างไรก็ตามวิชาพระลักษมณ์หน้าทองนั้นก็มีหลายสาย  อย่างพวกลิเกก็มีวิชาตํารับพระลักษมณ์หน้าทองเช่นกัน  ใช้เสกแป้งสำหรับทาหน้าทาตัว แต่วิชาของหลวงปู่กาหลงนั้นเป็นวิชาสายในวังที่หาได้ยากเก่าแก่ที่สุด

ท่านได้อาพาธตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นมา และได้เข้ารักษาอาการอาพาธ ซึ่งท่านได้ตรวจพบเจอ มะเร็งที่ลำคอ ต่อมาอาการของหลวงปู่ท่านก็ได้ทรุดหนักลงจนกระทั่ง ท่านได้ถึงแก่มรณภาพลงอย่างสงบเมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ณ โรงพยาบาลเปาโล รวมสิริอายุได้ ๙๑ ปี บวชเรียนมา ๗๑ พรรษา

กราบด้วยเศียรเกล้า..รำลึกคล้ายวันละสังขาร ๑๒ กันยายน..หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว พระเถราจารย์ผู้มีเขี้ยวแก้วกลางเพดานปาก..

พระลักษณ์หน้าทอง

กราบด้วยเศียรเกล้า..รำลึกคล้ายวันละสังขาร ๑๒ กันยายน..หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว พระเถราจารย์ผู้มีเขี้ยวแก้วกลางเพดานปาก..

ตะกรุดไม้ครู และเหรียญหลวงปู่กาหลง ปี ๒๕๔๗

กราบด้วยเศียรเกล้า..รำลึกคล้ายวันละสังขาร ๑๒ กันยายน..หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว พระเถราจารย์ผู้มีเขี้ยวแก้วกลางเพดานปาก..

ขอขอบพระท่านเจ้าของภาพ และที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้

  เหล็กจาร จากหนังสือ “เขี้ยวแก้วประกาศิต อิทธิฤทธิ์หลวงปู่กาหลง"

เพื่อเผยแผ่กิตติคุณเป็นสังฆบูชา และเทิดทูนเกียรติคุณครูบาอาจารย์