ติดตามเรื่องราวดีๆอีกมากมาย ได้ที่ http://www.tnews.co.th

พระคาถาบูชาท้าวหิรัญพนาสูร (ท้าวหิรัญฮู) สำหรับท่านที่ไม่ได้ไปไหว้ท่านที่ศาล ให้ระลึกถึงท่านและสวด คาถาบูชาท้าวหิรัญพนาสูร และถ้ามีโอกาสควรจะไปกราบไหว้ท่านซึ่งที่ตั้งศาลท้าวหิรัญพนาสูร อยู่ที่ พระราชวังพญาไท ด้านหลังโรงพยาบาลพระมงกุฎฯ ท้าวหิรัญพนาสูร เทพผู้อารักขารัชกาลที่

คาถาบูชาท้าวหิรัญพนาสูร ( เทพเจ้าแห่งดงพญาเย็น )

( จุดธูป ๑๖ ดอก เพื่อบูชา ท่านท้าวหิรัญพนาสูร )

และตั้งนะโมจบ

ระหินะ ภูมาสี

ภะสะติ นิรันตะรัง

ลาภะสุขัง ภะวันตุเม

(สวดคาถาบูชาท้าวหิรัญพนาสูร จบ )

อุปเท่ห์ ผู้ใดที่สวดบูชาบูชาท้าวหิรัญพนาสูรเป็นประจำ ป้องกันภัย มีโชคลาภ ค้าขายดี มีอำนาจ หายจากโรคภัยไข้เจ็บ ร่มเย็นเป็นสุข ตลอดการ ฯลฯ เมื่อท่านสำเร็จผล ควรจะถวายสังฆทานให้ท่านท้าวหิรัญพนาสูร

สิ่งที่ควรถวายท่านท้าวหิรัญพนาสูร ได้แก่ บายศรีพรหม บายศรีเทพ บายศรีปากชาม หมูหนาม (ขนุน) มะพร้าวอ่อน ลูก กล้วยน้ำว้า หวี ดาวเรือง พวง สับปะรด

มะพร้าวอ่อน ๒ ลูก กล้วยน้ำว้า ๑ หวี ดาวเรือง ๙ พวง "ท้าวหิรัญพนาสูร"เทพอสูรผู้อารักขาคุ้มครอง รัชกาลที่๖..บูชาแล้วดี หายจากโรคภัย มีโชคลาภ..

รัชกาลที่

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการศึกษาจากประเทศอังกฤษ ในขณะที่มีการค้นคว้าเรื่องราวทางภารตวิทยาของอินเดียหรืออนุทวีป ในฐานะเมืองขึ้นของจักรวรรดิอย่างคึกคัก ส่งผลให้พระองค์ทรงสนพระทัยในเรื่องราวอันเร้นลับของอินเดียที่ถ่ายทอดผ่าน คัมภีร์และปกรณัมต่างๆ และทรงเป็นต้นแบบในการรับเอาคติความเชื่อต่างๆ เกี่ยวกับ "ภารตะวิทยา" ท้าวหิรัญพนาสูรปรากฏขึ้นในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว คำว่า "หิรัญ" หมายถึงเงิน สีเงิน หรือบางแห่งแปลความหมายว่าทอง ส่วน "พนาสูร" เป็นคำเชื่อมกันระหว่าง "พนา" แปลว่า "ป่า" กับ "อสูร" ดังนั้น จึงสื่อความหมายถึงเทพาสูรผู้เป็นใหญ่แห่งป่า ซึ่งพระองค์ทรงเรียกว่า "ท้าวหิรัญฮู" มีผู้อธิบายว่า "ฮู" มาจาก "Who" ในภาษาอังกฤษ เนื่องจากในปี พ.ศ.๒๔๔๙ ขณะที่ยังทรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงเสด็จประพาสมณฑลพายัพ ซึ่งเส้นทางในสมัยนั้นเต็มไปด้วยป่าเขา ภยันตราย และโรคภัยไข้เจ็บ ขณะเมื่อทรงจะออกจากอุตรดิตถ์ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จรู้สึกหวั่นวิตกต่อ ภยันตราย พระองค์จึงทรงมีพระราชดำรัสว่า "ธรรมดาเจ้าใหญ่นายโตจะเสด็จ ณ ที่แห่งใดๆ ก็ดี คงจะมีทั้งเทวดาและปีศาจฤๅอสูร อันเป็นสัมมาทิฏฐิ คอยติดตามป้องกันภยันตรายทั้งปวง มิให้มากล้ำกรายพระองค์และบริวารผู้โดยเสด็จได้ ถึงในการเสด็จครั้งนี้ก็มีเหมือนกัน อย่าให้ผู้หนึ่งผู้ใดมีความวิตกไปเลย"

ด้วยกระแสพระราชดำรัสดังกล่าว ทำให้บรรดาข้าราชบริพารขุนนางใหญ่น้อยอุ่นใจคลายความกังวล ในขณะเสด็จประพาสนั้นปรากฏมีข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเกิดนิมิตฝัน เห็นบุรุษผู้หนึ่งร่างสูงใหญ่ล่ำสัน บอกนามว่า "หิรัญ" และแจ้งว่าตนเป็นอสูรแห่งป่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในสัมมาปฏิบัติ จะคอยดูแลปกป้ององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และข้าราชบริพารในขณะเดินทาง จึงทรงโปรดฯ ให้ตั้งเครื่องสังเวยในป่าริมพลับพลานั้น และเมื่อทรงเสวยก็จะแบ่งพระกระยาหารไปตั้งเป็นเครื่องเซ่นเสมอๆ ปรากฏว่าการเสด็จพระราชดำเนินหัวเมืองพายัพครั้งนั้นปราศจากเภทภัย อันตราย ไม่มีใครเจ็บไข้ได้ป่วย และประสบความสำเร็จสมดังตั้งพระราชหฤทัยไว้ทุกประการ

มะพร้าวอ่อน ๒ ลูก กล้วยน้ำว้า ๑ หวี ดาวเรือง ๙ พวง "ท้าวหิรัญพนาสูร"เทพอสูรผู้อารักขาคุ้มครอง รัชกาลที่๖..บูชาแล้วดี หายจากโรคภัย มีโชคลาภ..

มะพร้าวอ่อน ๒ ลูก กล้วยน้ำว้า ๑ หวี ดาวเรือง ๙ พวง "ท้าวหิรัญพนาสูร"เทพอสูรผู้อารักขาคุ้มครอง รัชกาลที่๖..บูชาแล้วดี หายจากโรคภัย มีโชคลาภ..

ท้าวหิรัญพนาสูร

ด้วยเหตุ ดังกล่าวการเสด็จประพาสในคราวต่อๆ มาข้าราชบริพารจึงทำพิธีอัญเชิญเทพาสูรที่ปรากฏในนิมิตตามเสด็จไปด้วยทุก ครั้ง และมีผู้คนมากมายพบเห็นบุรุษในลักษณะการอย่างโบราณ รูปร่างสูงใหญ่ นั่งบ้าง ยืนบ้าง ตามขบวนเสด็จไปด้วยเป็นอันมาก จนข่าวคราวร่ำลือถึงข้าหลวงมณฑลเทศาภิบาลต่างๆ ทำให้ผู้คนเลื่อมใส เคารพท้าวหิรัญพนาสูรกันแต่ครั้งนั้น และโปรดให้หล่อรูปท่านท้าวประดิษฐานไว้ประจำพระราชวังพญาไท "รูปท้าวหิรัญพนาสูร" จึงกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้คนเคารพกราบไหว้ให้ป้องกันภยันตราย ให้ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และประสบความสำเร็จในกิจการงานต่างๆ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

มะพร้าวอ่อน ๒ ลูก กล้วยน้ำว้า ๑ หวี ดาวเรือง ๙ พวง "ท้าวหิรัญพนาสูร"เทพอสูรผู้อารักขาคุ้มครอง รัชกาลที่๖..บูชาแล้วดี หายจากโรคภัย มีโชคลาภ..

มะพร้าวอ่อน ๒ ลูก กล้วยน้ำว้า ๑ หวี ดาวเรือง ๙ พวง "ท้าวหิรัญพนาสูร"เทพอสูรผู้อารักขาคุ้มครอง รัชกาลที่๖..บูชาแล้วดี หายจากโรคภัย มีโชคลาภ..

มะพร้าวอ่อน ๒ ลูก กล้วยน้ำว้า ๑ หวี ดาวเรือง ๙ พวง "ท้าวหิรัญพนาสูร"เทพอสูรผู้อารักขาคุ้มครอง รัชกาลที่๖..บูชาแล้วดี หายจากโรคภัย มีโชคลาภ..

ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ เจ้าของบทความ และที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้

 tumsrivichai.com

 itti-patihan.com

http://www.creditonhand.com