ยิ่งได้รู้ยิ่งสะเทือนใจ! เผยเบื้องลึกก่อนสังหาร เสือดำเป็นสัตว์ป่าหายากมาก โอกาสเจอตัวยากยิ่ง แต่ทำไมเข้าป่าเพียงแค่ 2-3 วัน ถึงล่าได้เลย?!

ติดตามข่าวสารอีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

ยิ่งได้รู้ยิ่งสะเทือนใจ! เผยเบื้องลึกก่อนสังหาร เสือดำเป็นสัตว์ป่าหายากมาก โอกาสเจอตัวยากยิ่ง แต่ทำไมเข้าป่าเพียงแค่ 2-3 วัน ถึงล่าได้เลย?!

เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 ที่เพจเฟซบุ๊ก  วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ ได้โพสต์ข้อความทั้งหมดเอาไว้ดังนี้

เบื้องลึกก่อนสังหารเสือดำ

สงสัยมานานแล้วว่า เสือดำเป็นสัตว์ป่าหายากมาก โอกาสเจอตัวยากยิ่ง แต่ทำไมเข้าป่าแค่สองสามวัน ล่าได้เลย

จากการปะติดปะต่อเรื่องราว น่าจะพอประมวลได้ว่า

ความน่าจะเป็นข้อแรก

รีบเร่งกันเข้าพื้นที่ โดยใช้ความเป็นอดีตรุ่นใหญ่มาขอ เข้าไปในช่วงหน้าแล้งที่สัตว์หาง่ายในริมน้ำ มาตั้งแคมป์รอ และโชคดีเจอเสือภายในสองสามวันเลย

ความน่าจะเป็นข้อสอง

1 ที่ปรึกษาบ.อิตาเลียนไทย อดีตข้าราชการระดับสูงกรมอุทยานฯ โทรมาหาผอ.สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า ขออำนวยความสะดวกในการเข้าพื้นที่อย่างเร่งด่วน

2 ที่ต้องรีบเข้าด่วน เพราะมีการชี้เป้าว่า เสือดำ จะลงมาหากินบริเวณแหล่งน้ำนี้ในช่วงหน้าแล้งแน่นอน หากรีบมาช่วงนี้โอกาสได้ล่าสูงมาก

3 มีการนำซากเนื้อเก้ง เข้ามาเป็นเหยื่อล่อเสือดำ

4 มีการเตรียมเกลือจำนวนมากเข้ามา เพื่อเตรียมทาหนังเสือและหมักเนื้อ

5 เสือดำ สัตว์ป่าคุ้มครอง หายากมาก เข้าป่าได้แค่สองวัน จึงถูกล่าได้อย่างง่ายดาย

 

ทั้งนี้ จากข้อมูลของ วิกิพีเดียพบว่า เสือดำ กับ เสือดาว นั้น เป็นเสือชนิดเดียวกัน   ซึ่งส่วนมากโดยทั่วไปจะเข้าใจผิดว่า เสือดาว และ เสือดำ เป็นเสือคนละชนิด

โดยในการผสมพันธุ์ของเสือดาว ลูกเสือที่เกิดใหม่ในครอกเดียวกัน อาจมีลูกเสือได้ทั้งสองชนิดคือเสือดาวและเสือดำ โดยที่เสือดำ จะมีสีขนปกคลุมร่างกายด้วยสีดำ ซึ่งมีลายจุดเช่นเดียวกับเสือดาว เพียงแต่กลมกลืนกับสีขนทำให้มองเห็นได้ไม่ชัด

สรุปว่าเสือดำนั้น  เกิดจากความผิดปกติของเม็ดสีที่เรียกว่า เมลานิซึม ทำให้มีสีพื้นตามลำตัวเป็นสีดำ การที่เสือดำ จะเกิดขึ้นมาได้จึงเป็นโอกาสที่เป็นไปได้ยาก และข้อมูลบางแหล่งยังระบุด้วยว่าเสือดำนั้น อ่อนแอกว่าเสือดาวด้วย

 

 

ข้อมูลจากเฟซบุ๊ก วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ / วิกิพีเดีย