ติดตามเรื่องราวดีๆอีกมากมายได้ที่ https://www.facebook.com/partiharn99/

เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 61 ที่ผ่านมา สมาชิกเฟสบุ๊คชื่อ Thipdhida Satdhathip ได้นำบทความจากเพจน้าหมู บดินทร์ จันทสีคำ ซึ่งเป็นการพูดถึงป่าเขาอ่างฤาไน​ ซึ่งเป็นสถานที่ ที่เคยเป็นข่าวที่ช้างถูกรถชนบ่อยครั้ง โดยได้ระบุรายละเอียดไว้ดังต่อไปนี้...

เปิดตำนาน "ป่าเขาอ่างฤาไน" อาถรรพ์แห่งป่าใหญ่ และประวัติศาสตร์ ที่ถูกลืม !!! ถนนสายใหญ่ ตัดป่า...แสนโหดเหี้ยม !!!

เปิดตำนาน "ป่าเขาอ่างฤาไน" อาถรรพ์แห่งป่าใหญ่ และประวัติศาสตร์ ที่ถูกลืม !!! ถนนสายใหญ่ ตัดป่า...แสนโหดเหี้ยม !!!

รูป และเรื่อง เอามาจากเพจน้าหมู บดินทร์ จันทสีคำ ไม่ได้แชร์ เพราะน้าหมูพิมพ์ลงในคอมเมนท์
จึงขอนำมาแปะเรียงๆต่อ ดังนี้ค่ะ
"ถนนผ่าป่าในพื้นที่รับผิดชอบของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน​ ถนนสาย 3259​"

“ป่าอ่างฤาไนผืนนี้เป็นแหล่งเลี้ยงช้างตามธรรมชาติมาตั้งแต่สมัยอยุธยา” 
"ตามเอกสารอ้างอิงจากผลการศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของช้างซึ่งเกี่ยวข้องกับผืนป่าแห่งนี้ว่า

ผืนป่าตะวันออกเป็นผืนป่าที่เป็นชายขอบของมหานครสำคัญของไทยตั้งแต่ กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี มาถึงยุครัตนโกสินทร์ เฉพาะช่วงกรุงศรีอยุธยายาวนาน ถึง 417 ปี

เป็นธรรมดาว่า ของดี ของสวย ของแพง มักจะหลั่งไหลมาสู่เมืองหลวง เช่นเดียวกับสัตว์ป่าลักษณะดีก็ถูกขนย้าย เข้ามาในเมืองหลวงเช่นกัน โดยเฉพาะสัตว์สำคัญอย่างช้าง

เมื่อเสร็จศึกจะเลี้ยงช้างไว้ในเมืองก็เป็นภาระกับผู้เลี้ยงดู จึงต้องหาพื้นที่ปล่อยให้ช้างหากินเองตามธรรมชาติ ถึงเวลาใช้งานจึงค่อยกวาดต้อนกลับเข้าเพนียด พื้นที่ไหนจะเหมาะเท่าผืนป่าตะวันออกก็ไม่มี เนื่องจากผืนป่าตะวันตกก็ใกล้เขตแดนข้าศึกอย่างพม่ามากไป อีกทั้งผืนป่าตะวันตกไล่ตั้งแต่ภาคเหนือลงมาถึงภาคตะวันตกอย่างกาญจนบุรี เพชรบุรี

ก็เป็นพื้นที่สู้รบระหว่างไทยกับพม่าบ่อยครั้ง สัตว์ ป่าน้อยใหญ่ย่อมได้รับผลกระทบไปด้วย ทั้งจากเสียงโห่ร้องรบราฆ่าฟัน ลูกหลงและการถูกล่าเป็นเสบียงทัพ

ขณะที่ด้านตะวันออกของไทยนานๆ จะถูกรุกรานจากเขมรสักครั้ง อีกทั้งยังมีป่าที่ราบและเทือกเขาสำคัญอย่างเทือกเขา สันกำแพงและเทือกเขาจันทบุรี (เทือกเขาจันทบูรณ์)

เมื่อช้างเสร็จศึกป่าทางทิศตะวัน ออกจึงเหมาะสมที่สุดและถูกเลือกเป็นแหล่งปล่อยช้างให้เข้าไปอยู่อาศัยและหากินเองตามธรรมชาติ นักวิชาการที่ทำการศึกษาเรื่องช้างในประเทศไทยเชื่อว่า ภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2310 ช้างต้นที่เป็นทั้งช้างศึกและช้างเผือก ในพระราชวังน่าจะอพยพหนีมาอยู่ยังเขาอ่างฤาไน ซึ่งยังคงมีหลักฐานที่พบและยืนยัน หลักฐานนี้ได้พบในเวลาต่อมา

ช้างที่จะถูกจัดให้เป็นช้างศึกนั้นต้องเป็นช้างพลาย (ช้างเพศผู้) มีลักษณะตรงตามตำราคชลักษณ์คือ รูปร่างใหญ่โตกำยำ หัวกะโหลกหนาและใหญ่ แก้มเต็มสมบูรณ์ หน้าเชิดหลังต่ำ งายาวใหญ่ มีความโค้งและแหลมคมได้ที่ โดยที่ช้างเชือก ที่ฝึกซ้อมมาเป็นอย่างดีและสามารถสู้เอาชนะช้างเชือกอื่นได้ จะถูกเรียกว่า “ช้างชนะงา”

ในอดีตที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จังหวัดฉะเชิงเทรา เจ้าหน้าที่ของอุทยานสามารถบันทึกภาพช้างป่าตัวผู้ ตัวหนึ่งที่มีลักษณะตรงตามลักษณะของช้างศึกให้ชื่อช้างตัวนี้ว่า “รถถัง”

และยังพบช้างป่าอีกตัวหนึ่งที่มีลักษณะตรงตามลักษณะช้างศึกอีกเช่นกัน อีกทั้งยังเป็นสถานที่พบช้างเผือกในรัชกาลที่9 อีกด้วย

จากบันทึกการค้นพบช้างเผือกซึ่งโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าฯ อันเนื่องมาจากพระราชดำริค้นคว้ามายังพบว่า ลักษณะของช้างสำคัญหรือช้างเผือก เป็นลักษณะเฉพาะทางพันธุกรรม จึงมีการถ่ายทอดกันทางพันธุกรรมจากพ่อ-แม่สู่ลูกได้ “

ในบรรดาช้างสำคัญทั้ง 107 ช้างของราชอาณาจักรไทยนั้น มีอยู่คู่หนึ่ง พบว่า เป็นแม่ลูกกันคือ ช้างสำคัญในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ (พ.ศ.2091-2111) ทรงได้ช้างสำคัญแม่ลูกจากตำบลป่ามหาโพธิ

ดังนั้นป่าตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จึงยังคงมีหน่วยพันธุกรรมของช้างสำคัญ ที่เป็นเครือญาติกับ “พังแต๋น” และเครือญาติ ของช้างสำคัญ ช้างอื่นที่เคยพบในบริเวณใกล้เคียงที่ถอยร่นจากการบุกรุกพื้นที่เพื่อทำการเกษตร แล้วอาศัยอยู่ในป่าผืนนี้ในปัจจุบัน”

เปิดตำนาน "ป่าเขาอ่างฤาไน" อาถรรพ์แห่งป่าใหญ่ และประวัติศาสตร์ ที่ถูกลืม !!! ถนนสายใหญ่ ตัดป่า...แสนโหดเหี้ยม !!!

“พังแต๋น” หรือพระศรีเศวตรศุภลักษณ์ฯ เป็นช้างที่ประสบอุบัติเหตุถูกกระสุนปืนแล้วได้รับการรักษาพยาบาล ต่อมาพบว่าเป็นช้างสำคัญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 9 ทรงให้มีพระราชพิธีสมโภช พระราชทานนามและขึ้นระวางในวันที่ 7 พฤษภาคม 2519

" ช้าง " เป็นสัตว์ป่าชนิดหนึ่ง ที่ยังเหลืออยู่จำนวนมากในผืนป่ารอยต่อ 5 จังหวัดในภาคตะวันออก ซึ่งเป็นมรดกที่ตกทอดอยู่ในผืนป่าแห่งนี้ มาตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา จนเหลือมาถึงในปัจจุบันนี้ 
.
ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด เคยเป็นป่าพื้นเดียวกับดงพญาเย็น แต่ป่าดงพญาเย็นก็หมดไปแล้ว ปัจจุบันป่ารอยต่อเองก็เริ่มมีจุดที่ทำให้ผืนป่าแยกออกจากกัน ซึ่งส่งผลกระทบเกิดปัญหาต่างๆ ต่อช้างป่าอย่างมาก
.
คำว่า“มาก”ในที่นี้คือ “มากเกินที่ธรรมชาติที่เหลืออยู่จะรับไหว” ก็เพราะมีช้างมากกว่าปริมาณพื้นที่ป่าที่เหลืออยู่ ในอดีตพื้นป่าภาคตะวันออกมีพื้นที่มากกว่า 5 ล้านไร่ ตอนนี้พื้นที่เหลือเพียง 1.3 ล้านไร่เท่านั้น 
.
เมื่ออดีตป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก กินอาณาเขตของพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา-สระแก้ว-จันทบุรี-ระยอง และชลบุรี เดิมเรียกว่าป่า"พนมสารคาม" เป็นป่าที่ถูกบุกรุกทำลายตั้งแต่ปี 2510 เป็นต้นมา
.
พอประชากรช้างเพิ่มขึ้นปัญหาระหว่างช้างกับคนก็เริ่มขึ้นเช่นกัน และมีสถิติสูงกว่าพื้นที่อื่นๆอีกด้วย หากจะแก้ไขก็ควรมีวิธีการจัดการที่ละมุนละม่อม ก็เพราะช้างเหล่านี้คือลูกหลานช้างมรดกผืนป่าตะวันออก"

เปิดตำนาน "ป่าเขาอ่างฤาไน" อาถรรพ์แห่งป่าใหญ่ และประวัติศาสตร์ ที่ถูกลืม !!! ถนนสายใหญ่ ตัดป่า...แสนโหดเหี้ยม !!!

อ้างอิงข้อมูลจาก - Thipdhida Satdhathip