ขอพรที่นี่ ลืมตาอ้าปากได้ทุกราย! "แป๊ะโรงสี"...ดวงวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ "เจ้าน้อยมหาพรหม" เทพผู้เมตตามอบทรัพย์สินแด่คนจน!! ศาลเก่าแก่เมืองปทุม!

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

ขอพรที่นี่ ลืมตาอ้าปากได้ทุกราย! "แป๊ะโรงสี"...ดวงวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ "เจ้าน้อยมหาพรหม" เทพผู้เมตตามอบทรัพย์สินแด่คนจน!! ศาลเก่าแก่เมืองปทุม!

 

บารมีเจ้าน้อยมหาพรหม-แป๊ะโรงสี 

(บทความพิเศษโดยทิพยจักร)


เรื่องของแป๊ะโรงสีนั้นนับได้ว่าท่านเป็นเซียนผู้หนึ่งที่มีจิตเมตตาช่วยเหลือผู้คนให้พ้นจากความยากจน พ้นหนี้ ลืมตาอ้าปาก ตั้งตัวกลายเป็นเศรษฐีมีทรัพย์มามากต่อมาก ทั้งนี้หนึ่งในเบื้องหลังของบารมีอันยิ่งใหญ่ หรือพลังเหนือโลกที่สนับสนุนความสำเร็จความยิ่งใหญ่และอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ของเซียนแป๊ะก็คือดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าน้อยมหาพรหม ซึ่งใครๆต่างรู้จักในนามของปึงเถ้ากง

ขอพรที่นี่ ลืมตาอ้าปากได้ทุกราย! "แป๊ะโรงสี"...ดวงวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ "เจ้าน้อยมหาพรหม" เทพผู้เมตตามอบทรัพย์สินแด่คนจน!! ศาลเก่าแก่เมืองปทุม!

เล่ากันว่าสมัยแรกที่แป๊ะโรงสีมาที่วัดศาลเจ้า ดวงวิญญาณของเจ้าน้อยมหาพรหมก็มาแฝงร่างผ่านและเสริมบารมีแป๊ะโรงสีให้ทำวิชาต่างๆเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ เล่ากันว่าเจ้าน้อยมหาพรหมสมัยที่ท่านยังมีชีวิตเป็นทั้งผู้ทรงอาคมทั้งยังใจบุญสร้างวัดสร้างวาสร้างพระพุทธรูป ทั้งท่านยังเป็นมหาเศรษฐีใจบุญดั่งพระเวสสันดรใครขอสิ่งใดก็ให้ ทรัพย์สินท่านมีมากให้ไม่รู้จักหมด ว่ากันว่าภายใต้พื้นดินวัดศาลเจ้าก็อาจมีสมบัติของเจ้าน้อยมหาพรหมฝังไว้ด้วย

ที่สำคัญคือเมื่อเจ้าน้อยมหาพรหมสิ้นจากโลกนี้ไปท่านไปอุบัติเป็นเทพยดาที่มีฤทธิ์และบริบูรณ์ด้วยทิพยสมบัติมากมาย และท่านมีประสงค์จะให้ทานทรัพย์ทั้งหลายแก่ผู้มาขอ ใครขออะไรก็จะให้ ใครคว้าอะไรได้ก็เอาไป ทั้งนี้แล้วแต่วาสนาเพราะแต่ละคนทำบุญมาไม่เท่ากัน

แต่เจ้าน้อยมหาพรหมก็ประสงค์จะโปรดจะช่วยเหลือทุกท่านด้วยเมตตากรุณาหวังให้ทุกคนพ้นทุกข์มากน้อยตามสมควรแก่วาสนาของบุคคลผู้นั้น ที่สำคัญอีกประการคือท่านเจ้าน้อยไม่นิยมให้โทษแก่ผู้ใดเลย อย่างมากก็เพียงตักเตือนสั่งสอนเท่านั้น นับได้ว่าท่านเป็นเทพที่ใจบุญและเมตตามากๆ

ก็ด้วยเหตุเช่นนี้แหละครับจึงทำให้ผู้ที่ขอพรกับแป๊ะโรงสีกับปึงเถ้ากง(เจ้าน้อยมหาพรหม) ถึงประสบความสำเร็จด้านโชคลาภมานักต่อนัก

นอกจากนี้นะครับบารมีของเจ้าน้อยมหาพรหมยังเด่นเรื่องเมตตามหานิยมอีกด้วยก็สมัยท่านมีชีวิตยังข่มจระเข้ดุๆให้เชื่องได้

ดังนั้นเรื่องสะกดใจ เรื่องเมตตามหานิยมจึงเด่นมากๆ รวมไปถึงการถอดถอนคุณไสยไล่ภูติผีกันสัตว์ร้ายต่างๆถือว่าชะงัดนัก พลังเวทย์พลังบารมีของท่านก็แฝงเร้นอยู่ในทุกสิ่งที่เป็นของเซียนแป๊ะโรงสีนั่นแหละครับ ทั้งผ้ายันต์ ทั้งรูปถ่ายของเซียนแป๊ะถือว่ามีบารมีของเจ้าน้อยมหาพรหมแฝงเร้นอยู่ภายในทั้งสิ้น

ขอพรที่นี่ ลืมตาอ้าปากได้ทุกราย! "แป๊ะโรงสี"...ดวงวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ "เจ้าน้อยมหาพรหม" เทพผู้เมตตามอบทรัพย์สินแด่คนจน!! ศาลเก่าแก่เมืองปทุม!

ขอพรที่นี่ ลืมตาอ้าปากได้ทุกราย! "แป๊ะโรงสี"...ดวงวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ "เจ้าน้อยมหาพรหม" เทพผู้เมตตามอบทรัพย์สินแด่คนจน!! ศาลเก่าแก่เมืองปทุม!


นอกจากนี้แนะนำของดีคือน้ำมนต์ภายในวัดศาลเจ้า ถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก ใช้ไดสารพัดตามแต่จะอธิษฐานเอา
และผู้ใดปรารถนาจะรับคุณวิเศษจากแป๊ะโรงสีและเจ้าน้อยมหาพรหมอย่างเต็มๆก็ควรหาโอกาสกินเจถวายครับ หรือหากเกิดโชคลาภแก่ท่านตามปรารถนาก็อย่าลืมทำบุญอุทิศให้แป๊ะโรงสีและเจ้าน้อยมหาพรหมเป็นการแสดงกตัญญูกตเวทิตาแก่ท่านอันเป็นสัญลักษณ์แห่งผู้รู้จักกตัญญูก็จะยิ่งเป็นการเสริมส่งวาสนาของท่านให้ดียิ่งๆขึ้นไปไม่รู้จักจบจักสิ้น
ขอบารมีแห่งมารดาบิดาฟ้าและดิน บารมีแห่งพระศรีรัตนตรัย บารมีแห่งเจ้าน้อยมหาพรหมมีเซียนแป๊ะโรงสีเป็นที่สุดจงบันดาลให้ผู้อ่านทุกท่านมีโชคลาภสมปรารถนาทำมาหากินเจริญรุ่งเรืองทำมาค้าขายดีมีกำไรมาก ไม่อดไม่อยากไม่ยากไม่จน พ้นจากทุกข์ทั้งปวงล่วงถึงพระนิพพานเทอญ

 

เกร็ดความรู้เพิ่มเติม 

(จาก สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย)

 วัดศาลเจ้า เป็นวัดเก่าแก่อีกวัดหนึ่งของเมืองปทุม ตั้งอยู่ ต.กลาง อ.เมือง  จ.ปทุมธานี มีอาณาเขตติดต่อกับวัดมะขาม เป็นที่ราบลุ่มรอมแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองเชียงราก ประวัติความเป็นมาของวัดศาลเจ้าแห่งนี้ มีคำบอกเล่าแตกต่างกันออกไป บ้างกล่าวว่าสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2330 เนื่องจากตั้งอยู่ปากคลองศาลเจ้า จึงตั้งชื่อวัดตามทำเลที่ตั้ง และได้รับพระราชทานวิสุงคาสีมาเมื่อประมาณ พ.ศ.2333 แต่อีกตำนานเล่าขานกันต่อมาว่า วัดศาลเจ้า สร้างเมื่อปลายกรุงศรีอยุธยา โดยเจ้าน้อยมหาพรหม บุตรเจ้าเมืองฝ่ายเหนือ เป็นผู้มีวิชาไสยศาสตร์แก่กล้า ได้ล่องแพมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา จนมาถึงวัดมะขามในและได้พบกับพระภิกษุเชื้อสายรามัญ นาม “พระอาจารย์รุ” ผู้เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้าน ทั้งสองได้ทดสอบวิชากัน เจ้าน้อยมหาพรหมเกิดความเคารพเลื่อมใสในวิทยาคมของพระอาจารย์รุ จึงขอสร้างวัดและศาลขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจ แล้วตั้งชื่อว่าวัดศาลเจ้า คาดว่ามาจาก “ศาล” ที่สร้างขึ้นโดย “เจ้า”น้อยมหาพรม