โรควิตกกังวล ปัญหาสุขภาพจิตที่ใคร ๆ หลายคนอาจต้องเผชิญ

โรควิตกกังวล เป็นโรคทางจิตที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะอาการทั่วไปของโรค จะวิตกกังวลเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากกว่าเดิมผิดปกติ

 โรควิตกกังวล อีกหนึ่งปัญหาสุขภาพจิตใกล้ตัวที่คุณไม่ควรมองข้าม!

 

อาการวิตกกังวลเครียด

 

เคยไหม? ที่เกิดความรู้สึกคิดมากเรื่องเดิมซ้ำ ๆ ไม่หยุด จนกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน หากกำลังมีอาการในลักษณะนี้อยู่ คุณอาจจะกำลังเผชิญกับอาการของโรควิตกกังวล อีกหนึ่งปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นกับคนในหลาย ๆ ช่วงวัย โดยเฉพาะวัยทำงานที่มีหลากหลายเรื่องในชีวิตประจำวันที่สร้างความกังวลใจ 

สำหรับในบทความนี้จะขอพาทุกท่านไปทำความนู้จักกับโรควิตกกังวลกันเบื้องต้นว่าเป็นอย่างไร หากกำลังเผชิญกับโรคนี้อยู่ไม่ว่าจะตนเองหรือคนใกล้ตัว จะต้องรับมืออย่างไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ

สาเหตุที่นำไปสู่โรควิตกกังวลนี้มีอะไรบ้าง


อย่างที่ทราบกันว่าโรควิตกกังวลเป็นโรคที่มีการคิดหรือเกิดความกังวลเกี่ยวกับเรื่องเดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน และมากกว่าปกติ ซึ่งสาเหตุหลักที่นำไปสู่การเกิดโรควิตกกังวล คือ เรื่องต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันที่ทำให้เกิดความเครียด จนสร้างความวิตกให้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน, การเรียน, ปัญหาการเงิน หรือแม้กระทั่งชีวิตส่วนตัว เป็นต้น

อย่างไรก็ตามสาเหตุที่นำไปสู่การเกิดโรควิตกกังวลยังสามารถเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้ เช่น สภาพแวดล้อมที่เติบโต ที่ใช้ชีวิต การเลี้ยงดูจากคนในครอบครัว และยังรวมไปถึงพันธุกรรมอีกด้วย

 

โรควิตกกังวล มีทั้งหมดกี่ประเภท


สำหรับโรควิตกกังวลแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังต่อไปนี้

  • โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder)
  • โรคกลัวแบบเจาะจง (Phobias)
  • โรคแพนิค (Panic Disorder)
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder)
  • โรคเครียดจากเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความสะเทือนจิตใจ หรือ PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder

 

อาการของโรควิตกกังวลเบื้องต้นที่ควรรู้

โรค anxiety

โดยทั่วไปแล้วอาการโรควิตกกังวล มีดังต่อไปนี้

  • วิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องเดิมซ้ำ ๆ และวิตกกังวลเป็นเวลานาน
  • มีอาการกระสับกระส่าย กระวนกระวาย
  • นอนไม่หลับ
  • รู้สึกกลัวหรือเกิดความไม่สบายใจ
  • ไม่มีสมาธิ
  • อ่อนเพลียง่าย
  • เหงื่อออก ใจเต้นเร็ว มือสั่น 

ไขข้อสงสัย โรควิตกกังวลรักษาหายไหม?


หลายท่านอาจจะเกิดความสงสัยว่า เมื่อเป็นโรควิตกกังวลแล้วสามารถรักษาหายได้หรือไม่ โดยเมื่อกล่าวตามความเป็นจริงแล้วโลกวิตกกังวลไม่ใช่โรคอันตราย สามารถรักษาให้หายได้ ซึ่งการรักษาจะเป็นการเข้าพบกับจิตแพทย์ พร้อมรับคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ชีวิต การปรับวิธีคิด ควบคู่ไปกับการรับประทานยาเพื่อให้อาการของโรคดีขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นคนไข้จำเป็นจะต้องเข้ารับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ ไปตามที่แพทย์นัดหมายเป็นประจำ ไม่ควรปรับเปลี่ยนการทานยา การเพิ่มปริมาณยาด้วยตนเอง 


การดูแลเมื่อเป็นโรควิตกกังวล ทำอย่างไรบ้าง


สำหรับการดูแลตนเองและคนรอบข้างที่กำลังเผชิญกับโรควิตกกังวล สามารถปฏิบัติตามได้ ดังนี้

  • ปรับเปลี่ยนวิธีคิดและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน : เพราะการปรับเปลี่ยนวิธีคิดหรือพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ส่งผลทำให้โรควิตกกังวลมีความรุนแรงที่แย่กว่าเดิม หรือทำให้เกิดความเครียด เป็นอีกหนึ่งการดูแลตนเอง ไปจนถึงการดูแลผู้ป่วยโรควิตกกังวลเรื่องแรกที่สามารถเริ่มต้นทำได้ ซึ่งหากมีการค่อย ๆ ปรับ จนสามารถทำได้ดีขึ้นแล้ว จะส่งผลดีต่อการใช้ชีวิตและอาการป่วยเป็นอย่างยิ่ง
  • เข้ารับการรักษากับจิตแพทย์และรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ : การเข้ารับการรักษากับจิตแพทย์ตามที่นัดหมาย จะช่วยให้จิตแพทย์สามารถประเมินอาการของโรคได้อย่างต่อเนื่อง ว่ามีความคืบหน้าเป็นไปในทิศทางใด และที่ขาดไม่ได้คือจำเป็นจะต้องรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ควรหยุดยาหรือเพิ่มปริมาณยาเอง
  • หากิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ช่วยฝึกสมาธิ ช่วยให้จิตใจเกิดความผ่อนคลาย เกิดความสงบมากยิ่งขึ้น : การหาจุดโฟกัสโดยเฉพาะงานอดิเรกก็สามารถช่วยให้ผู้ที่เป็นโรควิตกกังวล เกิดความสงบทางจิตใจ ที่สำคัญยังเป็นการฝึกสมาธิไปพร้อม ๆ กันอีกด้วย
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์โดยหมั่นรับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 6  และธาตุเหล็ก ไปจนถึงลดการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน : เพราะคาเฟอีนอาจมีส่วนกระตุ้นอาการของโรควิตกกังวล เช่น อาการนอนไม่หลับ ให้เกิดความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิมได้ ที่สำคัญการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอหารที่ครบถ้วน สุขภาพแข็งแรงอีกด้วย
  • หลีกเลี่ยงการทำให้เกิดความเครียด : ความเครียดในชีวิตประจำวันถือเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรควิตกกังวล ฉะนั้นการดูแลตนเองและคนรอบข้าง พยายามที่จะปล่อยวาง ไม่นำเรื่องต่าง ๆ มาคิดจนนำไปสู่ความเครียด


สรุปโรควิตกกังวล


โรควิตกกังวลเป็นโรคทางจิตที่เกิดจากเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันที่ทำให้เกิดความวิตก ความกังวลมากผิดปกติ ทั้งนี้ยังสามารถเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น สภาพแวดล้อมได้รับการเลี้ยงดู หรือแม้กระทั่งพันธุกรรมที่ถ่ายทอดกันภายในครอบครัวได้อีกเช่นกัน 

 

อย่างไรก็ตามหากกำลังเผชิญปัญหาสุขภาพจิตนี้อยู่ และต้องการที่จะรักษาโรควิตกกังวล แนะนำว่าให้เข้ารักษากับจิตแพทย์กับผู้เชี่ยวชาญ และหมั่นทานยาอย่างสม่ำเสมอ ปรับเปลี่ยนความคิด การใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อให้อาการของโรคนั้นดีขึ้น 

 

ดูแลสุขภาพใจตัวเองด้วยการรู้เท่าทันอาการ ทำแบบประเมินด้านจิตใจเบื้องต้นกับพยาบาลที่แอป BeDee ไม่มีค่าใช้จ่าย! หรือปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาคลินิกได้ทุกวันถึง 23.00 น. ดาวน์โหลด BeDee คลิก https://bit.ly/4btcZSY