ลุ้นระทึก4ก.ค.!!!  กสท.นัดถกโทษเพิกถอนใบอนุญาต"พีซทีวี"ละเมิดกม.อีกรอบหลังอนุฯเสียงข้างมากเคยชี้มูลผิดจริง!!?!!

ติดตามรายละเอียด deeps.tnews.co.th

     น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) ครั้งที่ 22/2559 วันที่ 4 กรกฎาคม นี้ มีวาระการประชุมที่น่าจับตาหลายเรื่อง   โดยเฉพาะวาระการพิจารณากำหนดมาตรการทางปกครองเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ ช่องพีซ ทีวี จากการออกอาอากาศรายการที่มีเนื้อหาต้องห้ามตามกฎหมาย (รายการ   “เข้าใจตรงกันนะ” วันที่11 มี.ค.และ 21 มี.ค. 59 รายการ “เข้มข่าวดึก” วันที่ 24 มี.ค. 59 และรายการ “ห้องข่าวเล่าเรื่อง” วันที่ 28 มี.ค. 59)     ภายหลังจาก พีซ ทีวี ได้ยื่นหนังสือคัดค้านความเห็นของอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหาเมื่อ วันที่ 13 มิ.ย. 59  และต่อมา สำนักงานได้มีการเชิญผู้แทน 3 หน่วยงาน ได้แก่ หัวหน้าคณะทำงานติดตามสื่อ ส่วนงานการรักษาความเรียบร้อย คสช. ผู้แทนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน และผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามาร่วมให้ข้อมูลแก่คณะอนุกรรมการด้านผัง รายการฯ

 

     ทั้งนี้ กสท.จะนำความเห็นรายงานผลการตรวจสอบและการละเมิดสิทธิมนุษยชน เรื่องสิทธิพลเมืองและเสรีภาพของสื่อมวลชน กรณี กสท. มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตออกอากาศช่องพีซ ทีวี เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 58 จัดทำโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มาพิจารณาเพิ่มเติม ซึ่งในรายงานดังกล่าวได้กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหา กรณีช่องพีซ ทีวี ว่าในส่วนที่เกี่ยวกับพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์พิจารณามติการเพิกถอนใบอนุญาตออกอากาศสถานีโทรทัศน์ ช่องพีซ ทีวี ซึ่งมีลักษณะการใช้ดุลพินิจไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและไม่เป็นไปตาม หลักการคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชน

 

      รวมทั้ง เสนอให้ กสท.ควรวางหลักเกณฑ์เป็นแนวปฏิบัติในการพิจารณาลักษณะของเนื้อหารายการที่ ห้ามมิให้ออกอากาศตามนัยมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 และตามประกาศ คสช.ฉบับที่ 97 เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการของผู้ประกอบการโทรทัศน์และสาธารณชน รวมทั้งวางหลักเกณฑ์การใช้ดุลยพินิจพิจารณาโทษทางปกครองให้มีความเหมาะสมตาม ความผิดและมีมาตรฐานการพิจารณาในกรณีการกระทำความผิดอย่างเดียวกัน

     น.ส.สุภิญญา  ระบุว่าก่อนหน้านี้ทางอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการ ได้วิเคราะห์ว่าไม่สามารถเอาผิดตามฐานมาตรา 37 ตามปกติของ กสทช.ได้ จึงต้องใช้ฐานอำนาจพิเศษคือประกาศ คสช. ซึ่งเสียงในอนุกรรมการฯก็ไม่เป็นเอกฉันท์ 7 ต่อ 4  ในการพิจารณาสั่งปิดพีซทีวี  โดยเฉพาะความเห็นของนักวิชาการและนักกฎหมายเสียงข้างน้อยมองว่าไม่ได้ผิดขนาดนั้น โดยเฉพาะถ้าถึงขั้นจะต้องเพิกถอนใบอนุญาต

     “ส่วนตัวก็เห็นต่างจากมติอนุฯเนื้อหา โดยเห็นด้วยกับอนุกรรมการเสียงข้างน้อย  และคิดว่าตนเองจะเป็นเสียงข้างน้อยใน กสทช. อีกครั้งที่เห็นต่างเรื่องการจะเพิกถอนใบอนุญาตช่องพีซทีวี เพราะเห็นว่าในสถานการณ์ปัจจุบันฝ่ายอำนาจรัฐก็ควบคุมการแสดงความคิดเห็นของฝ่ายค้านได้ค่อนข้างเบ็ดเสร็จอยู่แล้ว ถ้าจะปิดทีวีดาวเทียมฝ่ายค้านซึ่งตอนนี้ก็ลดโทนลงมากแล้ว จะยิ่งทำให้สถานภาพด้านสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมืองของไทยลดลงอีกจนเป็นที่จับตาของนอกจากนี้ส่วนตัวเห็นว่าการสั่งปิดสถานีโทรทัศน์โดยฐานกฎหมายพิเศษ จะเข้าข่ายการใช้อำนาจเกินกว่าเหตุได้ เพราะจะกระทบกับรายการอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้อง รวมถึงพนักงานและลูกจ้างทั้งหมดจะตกงานกะทันหันด้วย”

     โดยก่อนหน้านี้ศาลปกครองได้มีคำสั่งทุเลาคำสั่ง กสทช.เรื่องเพิกถอนใบอนุญาตพีซทีวี จนกว่าจะมีคำตัดสินในคดีระหว่างพีซทีวี และกสทช. โดยศาลฯ เห็นว่าในการพิจารณเพิกถอนใบอนุญาตพีซทีวีนั้น กสทช.ได้รวบรวมพยานหลักฐาน แต่ไม่เปิดโอกาสให้พีซทีวีชี้แจง หรือแสดงพยานหลักฐาน จึงเห็นว่าคำสั่งทางปกครองของ กสทช.ไม่น่าจะชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นจึงให้พีซทีวีสามารถออกอากาศได้ แต่ต้องเป็นไปตามประกาศ คสช.ฉบับที่ 97/2557 และ 103/2557 และปฏิบัติตามข้อตกลงและเงื่อนไขในการออกใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์

 

     ส่วนกรณีช่องวอยซ์ทีวี น.ส.สุภิญญา ระบุ ความเห็นในอนุกรรมการผู้เชี่ยวชาญก่อนหน้านี้ก็มีลักษณะเสียงแตก 7:4เช่นกัน   โดยเสียงข้างน้อยที่เป็นนักวิชาการสื่อและกฎหมายมองว่ายังไม่ขัดมาตรา37 คงเพราะยังเป็นสิทธิในการแสดงความเห็นและตรวจสอบ ตั้งคำถามการใช้อำนาจของภาครัฐตามหน้าที่ของสื่อ และการลงโทษหนักช่องโทรทัศน์ที่มีจุดยืนต่างจากฝ่ายรัฐ จะทำให้ กสทช. ถูกมองว่าขาดความอิสระในการทำหน้าที่และใช้อำนาจในมิติทางการเมืองมากเกินไป ในขณะที่เรื่องอื่นๆ เช่น การคุ้มครองผู้บริโภคจากการถูกเอาเปรียบกลับยังอ่อนแอมากในการใช้อำนาจกำกับดูแล จึงหวังว่าบอร์ด กสท. จะพิจารณาวาระอย่างรอบคอบและมีความเป็นธรรมในการใช้อำนาจด้วย