ดีไม่ดีว่ากันไป!!  "ม.จ.จุลเจิม"  มองรธน.ใหม่ "ไม่ใช่เแค่ปะผุการเมือง  แต่เป็นการวางอนาคต ปท. ร่วมกัน" !!?!!

ติดตามรายละเอียด deeps.tnews.co.th

     ยังคงเป็นกระแสที่เกิดขึ้นตลอดเวลากับมุมมองต่อร่างรธน. ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย  ขณะที่อีกแนวคิดน่าสนใจต่อการพิจารณาร่างกฎหมายสูงสุดของประเทศ ที่จะเข้าสู่กระบวนการประชามติของคนไทย มาจาก   ม.จ.จุลเจิม ยุคล  ซึ่งเขียนโพสต์แสดงความเห็นส่วนตัวไว้ดังนี้

 

สรุปของสรุป ร่าง รธน ที่จะลงประชามติ 7 ส.ค. 2559

*********


ภาพรวม:


รธน. ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องการเมืองอย่างเดียว แต่เกี่ยวข้องกับสิทธิและเสรีภาพของ ปชช และทิศทางการพัฒนาประเทศเพื่อให้ลูกไทยหลานไทยอยู่ในโลกยุคต่อไปได้ทัดเทียมชาติอื่นได้อย่างยั่งยืน

**********

ปัญหาของประเทศไทย:
 

1. ปท. ไม่เจริญ/ย่ำอยู่กับที่/ดูทันสมัยแต่ไม่พัฒนา


2. เหลื่อมล้ำ/ไม่เป็นธรรมในทุกมิติ


3. สังคมแตกแยก/ใช้สิทธิเสรีภาพกันอย่างไม่รับผิดชอบ

**********

สาเหตุของปัญหา

1. corruption/ความไม่โปร่งใสและไม่รอบคอบของการวางนโยบายสาธารณะ/การใช้จ่ายเงินแผ่นดินโดยไม่คุ้มค่า/การบริหารราชการแผ่นดินไม่โปร่งใส/ไม่รับฟังความเห็นประชาชน (ปชช.) กฎหมาย (กม.) ไม่ทันสมัย


2. คุณภาพการศึกษาต่ำมาก/เน้นปริมาณ/ละเลยการพัฒนาเด็กเล็กซึ่งเป็นพัฒนาการที่สำคัญที่สุดของมนุษย์/ไม่เปิดให้เด็กพัฒนาศักยภาพได้ตามถนัด


3. กม. ให้ดุลพินิจแก่เจ้าหน้าที่มากเกินไป/ใช้ระบบควบคุมมากเกินไป/จึงเกิดการใช้ดุลพินิจหลายมาตรฐานและการทุจริต/คนรู้สึกว่าไม่เป็นธรรม/ขณะที่คนไทยเองก็ขาดระเบียบวินัยที่จะปฏิบัติตามกม.


4. นักการเมืองจำนวนหนึ่งขาดคุณธรรมจริยธรรมอย่างรุนแรง เล่นพรรคเล่นพวก เอื้อประโยชน์พวกพ้อง ทุจริต


5.ระบบราชการหย่อนประสิทธิภาพ


6 .ไม่มียุทธศาสตร์พัฒนา ปท. ที่ ปชช. และรัฐ เห็นดีเห็นวามร่วมกันที่มีความต่อเนื่องในระยะยาว จึงเดินเป๋ไปเป๋มาตามลมการเมือง


7. ค่านิยมประหลาด: บริโภคนิยม/วัตถุนิยม/ไม่คิดวางแผนระยะยาวให้ลูกหลาน คิดถึงแต่ประโยชน์เฉพาะหน้า/ขาดวินัย/ไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม อยากทำอะไรก็ทำ

**********

หลักการของร่าง รธน ใหม่

- รับรองความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ในบททั่วไปเพื่อคลุมทุกเรื่องว่าทุกคนต้องเสมอกัน และวางหลักว่ารัฐมีหน้าที่ทำสิ่งดี ๆ ให้แก่บ้านเมือง สิ่งที่บัญญัติไว้เป็นแต่เพียงมาตรฐานขั้นต่ำที่ต้องทำเท่านั้น จะทำดีมากกว่านั้น เป็นประโยชน์แก่ ปชช มากกว่านั้น ทำได้หมด แต่ทำเรื่องเลว ๆ หรือเรื่องที่ รธน. หรือ กม. ห้ามไว้ไม่ได้
 

- ประชาชน/ชุมชนมีสิทธิเสรีภาพมากขึ้น **อะไรที่ รธน. หรือ กม. ห้ามไว้ สามารถทำได้หมด** ไม่ต้องเขียนจาระไนแบบเก่า ๆ ที่หลุดง่าย
 

- การออก กม. ที่จำกัดสิทธิ ต้องผ่านการรับฟังความเห็น ปชช. / ผ่านรัฐสภา/ ต้องไม่ขัดหลักนิติธรรม / ไม่เกินจำเป็น ประชาชนและชุมชนขอให้ศาลตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายได้เสมอ


- ไม่ได้ยกเลิกบัตรทอง แต่กำหนดชัดว่าให้ปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพให้ดีขึ้น รวมทั้งสิทธิประกันสังคมด้วย


-ไม่ได้ยกเลิกเบี้ยผู้สูงอายุ แถมยังกำหนดให้มีเบี้ยยังชีพสำหรับบุคคลผู้ยากไร้ด้วยไม่ว่าจะมีอายุเท่าไร


-เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพตามศักยภาพของแต่ละคนที่แตกต่างกัน และมีคุณธรรม เพื่อให้สอดคล้องกับคุณลักษณะของประชากรในอนาคตที่ต้องมี "creativity-collaboration-talent"


-รัฐต้องจัดการพัฒนาเด็กเล็กอย่างน้อยตั้งแต่ 2 ขวบ เรื่อยไปจนชั้นอนุบาล ประถม จนจบภาคบังคับ (ม.3) โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย รวมอย่างน้อย 14 ปี จบ ม. 3 แล้วให้เลือกตามถนัดจะเรียนต่อหรือจะไปทำงานก็ได้ แต่ถ้าจะเรียนต่อต้องได้เรียน โดยมีกองทุนสนับสนุน เป็นกองทุนใหม่ ไม่ใช่ กยศ. / ขณะนี้ คสช. เห็นด้วยกับแนวทางนี้และมีคำสั่งให้เรียนฟรีได้ถึง ม.6/ปวช.3 ด้วยแล้ว
 

- ต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ โดยกำหนดให้รัฐมีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูลที่ไม่ใช่เรื่องลับเพื่อความโปร่งใส เพื่อให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบอย่างจริงจัง 


-เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิตสำหรับผู้ทุจริตในการเลือกตั้ง/ต่อหน้าที่ ทรัพย์ที่ได้มาจากการทุจริตและที่ได้มาแทน ไม่ว่าจะโอนให้ใครไป ต้องถูกริบคืนให้ตกเป็นของแผ่นดิน 


- ยังเป็นระบบ 2 สภาเหมือนเดิม คือ สส. และ สว. โดยสส. 500 (แบ่งเขต 350 & บช. รายชื่อ 150) เป็นแบบเขตเดียวเบอร์เดียวเหมือนเดิมและกาบัตรใบเดียว แต่เพิ่มเติมเรื่องการนำคะแนนที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเขตได้ลงคะแนนไว้ทุกคะแนน (ทั้งคนที่ได้ /ไม่ได้รับเลือกเป็น สส. เขต) ไปรวมนับคะแนนจากเขตอื่นทั่วประเทศเพื่อกำหนดจำนวน สส. ทั้งหมดที่พรรคนั้น ๆ จะได้แล้วนำจำนวน สส. เขตที่พรรคนั้นได้ไปหักออก ก็จะได้ สส. บช. รายชื่อ


- สว. จำนวน 200 คน 


- การเลือก สว. จะตั้งกลุ่มตามความรู้ / เชี่ยวชาญ / อาชีพการงาน ฯลฯ ปชช. สามารถสมัครเองได้ จากระดับอำเภอ --> จังหวัด --> ประเทศ *5 ปีแรก ให้มี สว. 250 คน ทั้งจากการเลือกและสรรหาโดย คสช. เพื่อกำกับและติดตามการปฏิรูปประเทศ


- คสช. สนช. กรธ. จะพ้นตำแหน่งก่อนรัฐบาลใหม่เข้ามาทำหน้าที่

**********

ปากท้องของพี่น้องประชาชน:

- ไม่กำหนดวิธีการว่าให้ใช้ระบบ ศก. แบบใด (เดิมระบุว่าต้องใช้ระบบเสรีโดยอาศัยกลไกตลาด) แต่เน้นว่า เป็นระบบที่ ปชช. ต้องได้ประโยชน์ไปด้วยกันอย่างทั่วถึงและยั่งยืน (inclusive and sustainable growth) ซึ่งสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง / ไม่ใช่มือใครยาวสาวได้สาวเอาตามแบบกลไกตลาดอย่างเดียว


- *รัฐไม่ประกอบกิจการแข่งเอกชน แต่ต้องส่งเสริมให้เอกชนมีความสามารถในการแข่งขัน


- *ส่งเสริมธุรกิจ ขนาดกลาง-ย่อม


- *พัฒนาวัตถุและจิตใจและตวามอยู่เย็นเป็นสุขของ ปชช. อย่างสมดุล


- กม. ยุทธศาสตร์ชาติ ต้องเสร็จใน 120 วัน หลังรธน. ผ่าน --> ยุทธศาสตร์ชาติ (20 ปี) เสร็จในอีก 12 เดือน


- ดังนั้น เท่ากับว่าหลัง รธน. ผ่าน ยุทธศาสตร์ชาติต้องเสร็จใน 16 เดือน --> เมื่อมี ครม. เข้ามา การทำงานต้องสอดคล้องยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงการทำ งปม. ด้วย


- กระบวนการ/ ระยะเวลาอนุมัติ งปม. แผ่นดิน สั้นลง --> แผนต่างๆ เดินหน้าเร็วขึ้น --> กำหนดระยะเวลาจัดทำ กม. หลายฉบับสั้นลงและบทลงโทษในกรณีทำไม่เสร็จ -->ขอเห็นชอบหนังสือสัญญา รปท. ต้อง พจณ. ให้เสร็จใน 60 วัน (เหมือน รธน. 50) ถ้าไม่เสร็จถือว่าเห็นชอบ

**********

สรุป:

ร่าง รธน. นี้ไม่ใช่เรื่องการปะผุการเมืองอย่างเดียว แต่เป็นการวางอนาคต ปท. ร่วมกัน

7 สิงหานี้ เป็นการลงประชามติว่า   ประชาชนจะเห็นด้วยกับอนาคตของชาติที่ กรธ. จัดทำมาเสนอหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องการเอาชนะคะคานทางการเมืองอย่างที่ใครต่อใครคิด...........