เอาเปรียบเป็นที่หนึ่ง !! “นช.ทักษิณ”ใช้สิทธิฟ้องคนอื่น แต่ตัวเองกลับหนีคดี ไม่ยอมรับระบบยุติธรรมไทย #ถึงเวลาแก้กม.อาญาหยุดฉวยลักลั่น??

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม http://deeps.tnews.co.th/

ยังคงเป็นเรื่องแปลกแต่จริงกับสังคมไทย และไม่รู้ว่าประเด็นอย่างนี้จะได้รับการแก้ไขให้หมดสิ้นไปได้เมื่อไร ?? สำหรับการที่นายทักษิณ ชินวัตร นักโทษหนีคดีอาญาและผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลยุติธรรม ใช้ช่องว่างตามประมวลกฎหมายอาญา ย้อนกลับมาพึ่งพาอำนาจกระบวนการยุติธรรมเดินหน้า ฟ้องร้องเอาผิดกับบุคคลอื่น ทั้ง ๆ ที่หลายปีที่ผ่านมา จะว่าไปแล้วโดยพฤติการณ์ของนายทักษิณ เท่ากับว่าไม่เคยยอมรับกฎเกณฑ์ กติกากฎหมายไทย  ??? 

ประเด็นสำคัญไม่ใช่เฉพาะกับ “สำนักข่าวทีนิวส์”สื่อมวลชนรายล่าสุด ที่ถูกนายทักษิณส่งทนายยื่นฟ้องดำเนินคดีในข้อหา หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาและความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (1) (5)ก่อนหน้านี้นายทักษิณซึ่งหลบเลี่ยงหนีคดีอาญา จนโดนออกหมายจับหลายคดีไปตะลอนชีวิตในต่างประเทศ เคยฟ้องสื่อมาหลายสำนัก และรวมถึง ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์   เมื่อวันที่ 17  ส.ค.2559  ที่ผ่านมา

 

 

เอาเปรียบเป็นที่หนึ่ง !! “นช.ทักษิณ”ใช้สิทธิฟ้องคนอื่น แต่ตัวเองกลับหนีคดี ไม่ยอมรับระบบยุติธรรมไทย #ถึงเวลาแก้กม.อาญาหยุดฉวยลักลั่น??

(คลิกอ่านข่าวเกี่ยวข้อง รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ "คุณทักษิณ" แจ้งความดำเนินคดีผม จะดี... ถ้าใจกล้าๆ มาแจ้งเอง!?! )

 

 


ก่อนหน้านั้น นายชูชาติ  ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลฎีกา เคยแสดงความเห็นเกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าว ภายหลังจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ   ได้ลงมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติให้แก้ไขเพิ่มประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 และมาตรา 216  มีใจความสำคัญดังนี้

 

 


“ที่ผ่านมาสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ลงมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติให้แก้ไขเพิ่มประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 และมาตรา 216 อันเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวด้วยการยื่นอุทธรณ์และยื่นฎีกาของจำเลย คือ

 

 

.....ตามมาตรา 198 บัญญัติว่า ถ้าจำเลยที่ถูกศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกและไม่ได้ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ หากจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ จำเลยจะต้องมาแสดงตัวต่อเจ้าพนักงานศาลในขณะยื่นอุทธรณ์ มิฉะนั้นให้ศาลมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์

 

 

.....การยื่นฎีกาตามมาตรา 216 ก็ให้นำบทบัญญัติในมาตรา 198 มาใช้บังคับคือ ถ้าจำเลยที่ถูกศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกและไม่ได้ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ หากจำเลยฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา จำเลยจะต้องมาแสดงตัวต่อเจ้าพนักงานศาลในขณะยื่นฎีกา มิฉะนั้นให้ศาลมีคำสั่งไม่รับฎีกา

..กล่าวโดยสรุปก็คือจำเลยที่ถูกศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจะยื่นอุทธรณ์ หรือศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจะยื่นฎีกา  ถ้าจำเลยมิได้ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ จำเลยจะต้องไปแสดงตัวต่อเจ้าพนักงานศาลในขณะยื่นอุทธรณ์หรือยื่นฎีกา มิฉะนั้นศาลจะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์หรือฎีกา ....ย่อมให้เข้าใจง่ายๆ  ก็คือ จำเลยที่หลบหนีการลงโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาลจะให้ทนายความยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาแทนไม่ได้อีกแล้ว

 

 

เอาเปรียบเป็นที่หนึ่ง !! “นช.ทักษิณ”ใช้สิทธิฟ้องคนอื่น แต่ตัวเองกลับหนีคดี ไม่ยอมรับระบบยุติธรรมไทย #ถึงเวลาแก้กม.อาญาหยุดฉวยลักลั่น??

 

 

ประเด็นสำคัญ  นายชูชาติ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลฎีกา เขียนท้ายความเห็นไว้ด้วยว่า  “เมื่อแก้บทบัญญัติกฎหมายในลักษณะดังกล่าวแล้ว  ..... สภานิติบัญญัติแห่งชาติก็ควรแก้ไขเพิ่มประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในบทบัญญัติส่วนที่เกี่ยวกับคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ด้วยว่า ถ้าจำเลยที่หลบหนีการลงโทษตามคำพิพากษาของศาล ห้ามมิให้เป็นโจทก์ฟ้องคดีต่อศาล เพราะเมื่อตนเองไม่ยอมรับโทษตามคำพิพากษาของศาล ก็ไม่ควรให้มีสิทธิฟ้องบุคคลอื่นต่อศาลได้ ?? ”

 

 

เอาเปรียบเป็นที่หนึ่ง !! “นช.ทักษิณ”ใช้สิทธิฟ้องคนอื่น แต่ตัวเองกลับหนีคดี ไม่ยอมรับระบบยุติธรรมไทย #ถึงเวลาแก้กม.อาญาหยุดฉวยลักลั่น??

 

 

จุดนี้สำคัญเพราะโดยนัย ในฐานะอดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลฎีกา  เล็งเห็นชัดเจนว่าช่องว่างของกฎหมายนี้  คือ สิ่งที่นายทักษิณ เลือกใช้กระทำต่อผู้อื่นมาโดยตลอด  ส่วนใครคิดจะฟ้องร้องนายทักษิณ  ก็เป็นไปได้แค่ยื่นฟ้องแต่สุดท้าย  ต้องไปจบด้วยการจำหน่ายคดีเป็นการชั่วคราว และออกหมายจับจำเลย  ซึ่งนายทักษิณในฐานะนักโทษหนีคดีอาญาก็ไม่ยี่หระอยู่แล้ว ???

 

 

เอาเปรียบเป็นที่หนึ่ง !! “นช.ทักษิณ”ใช้สิทธิฟ้องคนอื่น แต่ตัวเองกลับหนีคดี ไม่ยอมรับระบบยุติธรรมไทย #ถึงเวลาแก้กม.อาญาหยุดฉวยลักลั่น??

 

 

ขณะเดียวกันเมื่อสืบค้น พบว่าประเด็นเดียวกันนี้นักวิชาการด้านกฎหมายอย่าง  รศ.ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ  อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยแสดงความเห็นในทำนองเดียวกัน  มีสาระสำคัญบางช่วงบางตอนระบุว่า  การที่ ทักษิณ ไม่ยอมรับโทษตามคำพิพากษา และปฏิเสธว่าตนไม่ผิดตามคำตัดสิน  ก็แสดงอยู่แล้วว่าไม่ยอมรับเขตอำนาจของศาล ดังนั้นการจะมาพึ่งศาลในการฟ้องคนอื่นเป็นจำเลย  ถือเป็นการใช้สิทธิที่ไม่สุจริต และย่อมสมควรแก่เหตุทำให้ระบบกฎหมายและศาลไม่อาจรับรองให้ใช้สิทธิเช่นนั้นได้ ???