ทีนิวส์เปิดขุมทรัพย์อ่าวไทย!! "ก๊าซ+น้ำมัน มูลค่า 7 แสนล้าน"!?! วันนี้ชี้ชะตาร่างพ.ร.บ.ปิโตรเลียม สนช.จะตัดสินใจปกป้องผลประโยชน์ชาติอย่างไร?

ติดตามรายละเอียด deeps.tnews.co.th

ถือเป็นหนึ่งประเด็นร้อนวันนี้  ( 30 มี.ค.)   จากจุดเริ่มต้นข้อถกเถียงว่าด้วยร่างพ.ร.บ.ปิโตรเลียม  ฉบับใหม่    เมื่อมีการกล่าวหาว่ามีความพยายามสอดแทรก   โดยผู้มีอำนาจให้เพิ่มเติมบทบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ  จนทำให้กระแสวิพากษ์วิจารณ์ทั้งผู้เห็นด้วยและคัดค้าน  ท่ามกลางข้อมูลข่าวซึ่งแสดงเจตนาเพื่อให้เกิดแรงสนับสนุนของแต่ละฝ่าย  ท่ามกลางความสับสนของประชาชนว่าควรจะให้น้ำหนักความเชื่อกับใคร  อย่างไร  ?? 

เริ่มต้นไล่เรียงข้อมูลดังกล่าวมาจากการเปิดเผยของ    ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล   อดีตรองนายกรัฐมนตรี    อ้างผ่านจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)  ระมัดระวังการลงคะแนนเสียง ร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม เนื่องจากร่างดังกล่าวมีการยัดไส้มาตรา 10/1 ให้จัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ  เป็นผู้ถือสิทธิ์ในทรัพยากรปิโตรเลียมทุกชนิดของประเทศ   พร้อมอ้างไปไกลว่ามีการเตรียมการให้กรมพลังงานทหารเป็นหน่วยงานบริหารบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ  ซึ่งจะทำให้กิจการน้ำมันของประเทศถอยหลังเหมือนในอดีตที่มีน้ำมัน  "สามทหาร"  

อย่างไรก็ตามเรื่องทั้งหมดก็ถูกปฏิเสธว่าคำกล่าวอ้างทั้งหมดไม่เป็นเรื่องจริง  โดยเฉพาะ  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)  ที่ระบุว่า   ร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม และ ร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม  ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะมีการพิจารณาในวาระที่ 2 และ 3 ในวันที่ 30 มี.ค.นี้ เป็นกฎหมายเดิมที่มีการยกร่างมาตั้งปี 2557 และมีความพยายามจะผลักดันกฎหมายออกมาก่อนที่ตนเองจะมาเป็นรัฐบาล แต่ก็มีหลายฝ่ายออกมาคัดค้านจนไม่สามารถออกกฎหมายได้

 

 

ส่วนการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม โดยให้มีการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติขึ้นมานั้น ก็เป็นรื่องของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่จะพิจารณา โดยยืนยันว่าตนเองไม่เคยมีแนวคิดอะไรที่จะให้ทหารเข้ามาดูแล แต่รัฐบาลต้องการให้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียมออกมาให้ได้ เพราะต้องดูเรื่องการลงทุนการขุดเจาะน้ำมัน  และมีหลายพื้นที่จะต้องเปิดสัมปทาน หากไม่มีวันข้างหน้าพลังงานจะขาดแคลนจึงต้องรีบทำ  ส่วนประเด็นที่เป็นข้อขัดแย้งก็ควรได้มีเริ่มต้นศึกษาหาข้อสรุป

 

ขณะที่ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.   ยืนยันว่าไม่มีการสอดไส้การตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติในร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม  ที่จะเข้าสู่ที่ประชุม สนช.วาระ 2-3 ในวันที่ 30 มี.ค.นี้ โดยเป็นเพียงแค่การแก้ไขกฎหมายของกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ส่วนผลการพิจารณาจะออกมาเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับที่ประชุมสนช.

 

ด้าน พล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์    ในฐานะประธาน  กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ยืนยันว่า    ไม่ได้สอดไส้หรือลักไก่เพิ่มเติมเนื้อหามาตรา 10/1   แต่ทำทุกอย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์   และได้รับความเห็นชอบจาก ครม. ก่อนแก้ไขหลักการของกฎหมาย  ส่วนการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติก็จะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการพลังงานในอนาคต

 

ทั้งนี้ถึงที่สุดในวันนี้  ( 30 มี.ค.)   สนช.  ก็จะต้องมีข้อสรุปเรื่อง  มาตรา 10/1   ซึ่งระบุข้อความว่า  “  ให้มีการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติเมื่อมีความพร้อม   โดยพิจารณาจากผลการศึกษาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในรายละเอียดของรูปแบบและวิธีการดำเนินการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ”   อย่างแน่นอน  และประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ยังเชื่อมั่นว่าสนช.ชุดนี้จะพิจารณาประเด็นดังกล่าวด้วยความรอบคอบเพื่อผลประโยชน์สูงสุดสำหรับประเทศชาติ

 

ขณะที่ล่าสุด  “สำนักข่าวทีนิวส์”   พบว่าเมื่อ วันที่ 23 ม.ค. 2560   ที่ผ่านมากรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ  โดย นายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี  อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ  ได้ส่งหนังสือ   ที่ พน 0305 /190   ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ     เรื่อง   ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อรองรับการรื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่สิ้นสุดอายุในปี   พ.ศ. 2565  และ  2566   ถึง  “ประธานคณะกรรมาธิการพลังงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ”

 

ทีนิวส์เปิดขุมทรัพย์อ่าวไทย!! "ก๊าซ+น้ำมัน มูลค่า 7 แสนล้าน"!?! วันนี้ชี้ชะตาร่างพ.ร.บ.ปิโตรเลียม สนช.จะตัดสินใจปกป้องผลประโยชน์ชาติอย่างไร?

 

 

โดยสาระสำคัญของหนังสือฉบับนี้เป็นการให้ข้อมูลต่อคณะอนุกรรมาธิการ  ในหลายประเด็น เกี่ยวเนื่องกับขั้นตอนการเตรียมรองรับแผนปฏิบัติต่อการผลิตปิโตรเลียม หลังสิ้นสุดอายุสัมปทานในปี  2565  และ 2566     และมีรายละเอียดบางส่วน  ดังต่อไปนี้ 

 

 

กฎกระทรวง กำหนดแผนงาน ประมาณการค่าใช้จ่าย   และหลักประกันในการรื้อถอนสิ่งติดตั้ง ที่ใช้ในการประกอบกิจการปิโตรเลียม พ.ศ. 2559  ข้อ 37   กำหนดให้กรณีของผู้รับสัมปทานในพื้นที่สิ้นสุดอายุสัมปทานในปี  2565  และ 2566      ต้องยื่นแผนงานและประมาณการค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียมในเดือนก.พ. 2561 และต้องวางหลักประกันเต็มจำนวน ประมาณเดือน ก.ย. 2561   ซึ่งหากผู้รับสัมปทานละทิ้งหน้าที่ไม่วางหลักประกัน รัฐมนตรีสามารถสั่งเพิกถอนสัมปทาน อันจะมีผลให้สัมปทานสิ้นอายุสัมปทานและผู้รับสัมปทาน ต้องส่งมอบแท่นผลิตปิโตรเลียมที่ยังมีประโยชน์ให้แก่รัฐ 

 

แต่ประเด็นที่ถือเป็นจุดพิจารณาของหนังสือฉบับนี้ก็คือข้อความซึ่งกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติระบุว่า   “ปริมาณสำรองปิโตรเลียมพิสูจน์แล้วของประเทศไทย  ณ  สิ้นปี พ.ศ. 2558  สามารถใช้ประมาณการมูลค่าของปริมาณสำรองที่เหลืออยู่ในพื้นที่สัมปทานดังกล่าว  ณ  สิ้นปี  พ.ศ. 2559 ได้ประมาณ 7 แสนล้านบาท ”   และมีข้อความในตอนท้ายว่า  การกำกับดูแลการประกอบกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ

ทีนิวส์เปิดขุมทรัพย์อ่าวไทย!! "ก๊าซ+น้ำมัน มูลค่า 7 แสนล้าน"!?! วันนี้ชี้ชะตาร่างพ.ร.บ.ปิโตรเลียม สนช.จะตัดสินใจปกป้องผลประโยชน์ชาติอย่างไร?

 

ตรงนี้สำคัญมาก ๆ  และเป็นสิ่งที่ประชาชนคนไทยจะต้องพิจารณาควบคู่ไปพร้อมกับการติดตามว่าผลตัดสินใจของสนช.จะมีความเห็นต่อร่างพ.ร.บ.ปิโตรเลียมอย่างไร ในประเด็นว่าด้วยสูตรการคิดแบ่งรายได้สัมปทานพลังงาน   และ  จะยังคงมาตรา 10/1   ว่าด้วยข้อความว่า    “  ให้มีการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติเมื่อมีความพร้อม   โดยพิจารณาจากผลการศึกษาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในรายละเอียดของรูปแบบและวิธีการดำเนินการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ”   หรือไม่ ?? 

 

เพราะต้องไม่ลืมว่าข้อมูลของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ    ซึ่งระบุชัดเจนว่าในทะเลอ่าวไทยยังมีมูลค่าปริมาณปิโตรเลียมสำรองเหลืออยู่ในพื้นที่สัมปทานดังกล่าว  ณ  สิ้นปี  พ.ศ. 2559  สูงถึงประมาณ 7 แสนล้านบาท    และน่าจะเป็นขุมทรัพย์ด้านพลังงานที่บริษัททุนต่างชาติ   หรือ  ยักษ์ใหญ่พลังงานอย่าง “บมจ.ปตท.” และ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียมจำกัด(มหาชน)  หรือ  ปตท.สผ.   ต่างก็เฝ้ารอคอยจะเข้าไปยึดครอง  เป็นผลประโยชน์ของตัวเองในอนาคตภายภาคหน้า  ???

 

ขณะที่  น.ส.รสนา โตสิตระกูล แกนนำกลุ่มเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.)  เพิ่งให้ความเห็นล่าสุดผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัวว่า   “มีคำถามว่าจะใช้ ปตท. เป็นบรรษัทน้ำมันแห่งชาติได้หรือไม่ ?  ตอบว่า ไม่ได้ เพราะบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ ถือครองทรัพยากรปิโตรเลียมและทรัพย์สินอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแทนคนไทยทั้งประเทศ   ดังนั้น ปตท.ที่ถูกแปรรูปเป็นบริษัทมหาชนจำกัดตั้งแต่สมัยนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร   จึงไม่อาจมีอำนาจมหาชนแทนรัฐได้ และไม่มีความชอบธรรมที่จะทำหน้าที่เป็นบรรษัทน้ำมันแห่งชาติต่อไป เพราะมีเอกชนและต่างชาติถือหุ้นเกือบครึ่ง”