แชร์ให้ทั่วแล้วเซฟเก็บไว้!! หายโง่เลย "พ.ร.บ. รถยนต์" มีประโยชน์มากกว่าที่คิด สามารถใช้เบิกได้เยอะมาก#ผู้ใช้รถรู้ไว้ไม่พลาดทุกการคุ้มครอง!?

ติดตามรายละเอียด http:www.tnews.co.th

อีกหนึ่งเรื่องราวสำคัญของผู้ที่ใช้รถยนต์ทั้งหลายมักมองข้าม และไม่ศึกษารายละเอียดให้รอบคอบลึกซึ้ง เพราะอาจจะคิดว่ามีความยุ่งยาก และไม่มีความจำเป็น แต่ช้าก่อน อย่าเพิ่งคิดเช่นนั้น หากคุณยังไม่ลองอ่านบทความนี้ เพราะนอกจากการใช้รถยนต์จะสำคัญต่อชีวิตของคุณรู้ การรู้รายละเอียดในพ.ร.บ.รถยนต์ก็สำคัญไม่แพ้กัน 

 

 

#รู้ยัง?? "พ.ร.บ. รถยนต์" มีประโยชน์มากกว่าที่คิด สามารถเบิกได้เยอะมาก #ผู้ใช้รถไม่ควรพลาด!! (รายละเอียดสำหรับการคุ้มครอง..มีดังนี้)
 

 

ทำความเข้าใจกับคำว่า "พ.ร.บ." มันคืออะไร ??

"พ.ร.บ." คือ การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ซึ่งกฏหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำประกันพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ. 2535 ที่กฎหมายกำหนดไว้ว่า ให้ยานพาหนะทางบกทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก ต้องทำประกันภัยประเภทนี้เพื่อให้ความคุ้มครองกับตัวบุคคลที่ได้รับผลจากอุบัติเหตุ โดยไม่คำนึงถึงว่าบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุเหล่านั้นจะเป็นผู้ที่กระทำความผิดหรือไม่ ซึ่งกฎหมายจะให้ความคุ้มครองต่อตัวคู่กรณีและผู้เอาประกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุในรูปแบบของเงินชดเชยและค่ารักษาพยาบาลตามที่กฎหมายกำหนด

 

แล้วเรา(ผู้ใช้รถยนต์) จะได้ประโยชน์อะไรจากพ.ร.บ.บ้าง ??


-พ.ร.บ. ให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคล ย้ำว่าบุคคลเท่านั้น และไม่คุ้มครองความเสียหายอื่นใดทั้งสิ้น พูดง่ายๆ ภาษาชาวบ้านๆ เลยก็คือ คุ้มครอง "คน" แต่ไม่คุ้มครอง "รถ"

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า พรบ.รถยนต์จะคุ้มครองอะไรบ้าง??

คุ้มครองเรื่อง "ค่าเสียหายเบื้องต้น" ที่จะได้รับโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กรณี

1. ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ จ่ายตามจริง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน

2. การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือ ทุพพลภาพอย่างถาวร สูงสุดไม่เกิน 35,000 บาทต่อคน

#หมายเหตุ : ถ้าหากเข้าข่ายเสียหายรวมกันทั้งข้อ 1 และ ข้อ 2 จะต้องไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน

 


แล้วถ้ามีกรณีการบาดเจ็บ-สูญเสียชีวิตเกิดขึ้นล่ะ ?? 

ในกรณีนี้จะเรียกว่า "การจ่ายค่าสินไหมทดแทน" ซึ่งผู้เคลมประกัน จะได้รับภายหลังจากการพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิดตามกฎหมาย โดยมีวงเงินคุ้มครองรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้น ดังนี้

 

#กรณีหากเป็นฝ่ายถูก

1. ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน

2. การเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพอย่างถาวร สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาทต่อคน

3. สูญเสียอวัยวะ

 

3.1 สูญเสียมือตั้งแต่ข้อมือ หรือแขน หรือเท้าตั้งแต่ข้อเท้า หรือขา หรือ ตาบอด อย่างใดอย่างหนึ่งรวมกัน ตั้งแต่ 2 กรณีขึ้นไป สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท

 

3.2 สูญเสียมือตั้งแต่ข้อมือ หรือแขน หรือเท้าตั้งแต่ข้อเท้า หรือขา หรือสายตา(ตาบอด) หรือ หูหนวกเป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูดหรือลิ้นขาด สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถในการสืบพันธุ์ จิตพิการอย่างติดตัว หรือเสียอวัยวะอื่นใด 250,000 บาท

 

3.3 สูญเสียนิ้วตั้งแต่ข้อนิ้วขึ้นไป ไม่ว่านิ้วเดียว หรือ หลายนิ้ว 200,000 บาท

 

4. ค่าชดเชยการรักษาตัว กรณีผู้ป่วยใน 200 บาทต่อวัน แต่ไม่เกิน 20 วัน หรือไม่เกิน 4,000 บาท

5. จำนวนเงินคุ้มครองสูงสุดรวมกันต้องไม่เกิน 304,000 บาท

6. วงเงินคุ้มครองความรับผิดสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง สำหรับรถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง 5,000,000 ต่อครั้ง

7. วงเงินคุ้มครองความรับผิดสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง สำหรับรถยนต์เกิน 7 ที่นั่ง 10,000,000 ต่อครั้ง

 

แล้วขั้นตอนในการเคลมล่ะ ต้องเตรียมหลักฐานอะไรบ้าง ยุ่งยากหรือไม่??

ในขั้นตอนนี้หลายคนอาจจะคิดว่ายุ่งยาก จนทำให้มองข้ามผลประโยชน์ที่ตนเองควรจะได้รับ ดังนั้นจำให้ขึ้นใจ จดบันทึกไว้ให้แม่น ถ้าจะทำการเคลมต้องทำสิ่งต่อไปนี้ให้เรียบร้อย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กรณีด้วยกัน 

สำหรับเอกสารที่จะต้องใช้เวลาการเคลมพ.ร.บ. มีดังนี้

#กรณีบาดเจ็บ

1. สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ

2. ใบเสร็จรับเงินต้นฉบับ

 

"กรณีเบิกค่าชดเชย หรือ ผู้ป่วยใน"

1. สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ

2. ใบรับรองแพทย์ หนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน

 

"กรณีทุพพลภาพ"

1. สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ

2. ใบรับรองแพทย์และหนังสือรับรองความพิการ

3. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือ หลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายจากการประสบภัยจากรถ

 

#กรณีเสียชีวิต

1. สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ

2. ใบมรณบัตร

3. สำเนาบัตรประชาชนทายาทสำเนาทะเบียนบ้าน

4. สำเนาบันทึกประจำวันในคดีของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นถึงแก่ความตาย เพราะการประสบภัยจากรถ

 

และเมื่อเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้ว สามารถทำเรื่องขอเบิกเงิน จากบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ และจะมีการเบิกจ่ายเงินภายใน 7 วัน ซึ่งพ.ร.บ.จะคุ้มครองผู้เสียหายในส่วนของคนเท่านั้น ส่วนทรัพย์สิน หรือ ตัวรถจะไม่มีได้รับการคุ้มครอง #ดังนั้นผู้ขับขี่รถยนต์ ควรจะทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ หรือที่เราเรียกว่าประกันรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นชั้น 1 ชั้น 2 หรือชั้น 3 ก็ควรทำไว้เช่นกัน เพื่อประกันความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น


#พอจะเห็นความสำคัญของการทำพ.ร.บ. รถยนต์กันแล้วใช่มั้ย บอกเลยว่ามีประโยชน์มากกว่าโทษอย่างชัดเจน หรือบางคนอาจคิดว่าทำเพื่อที่จะไม่ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับปรับ (ซึ่งตอนนี้ถ้าไม่มีพ.ร.บ. ตำรวจสามารถยึดรถชั่วคราวได้) แต่ประโยชน์ของมันมากกว่าการคุ้มครองเฉพาะคนในรถ และวันนี้รถยนต์ของท่านได้ทำพ.ร.บ.แล้วหรือยัง??

 


ขอบคุณข้อมูลจาก : คปภ. สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย