ฝากคนไทยให้ความเห็นหน่อย!! แผนรถไฟไทย-จีนยุค “พล.อ.อ.ประจิน” มองไกลถึงกทม.-หนองคาย ล่าสุดหดเหลือแค่โคราช!! “ไพศาล” ฟันธงไทยตกกระป๋อง!?!

ติดตามรายละเอียด http://deeps.tnews.co.th/


ถือเป็นโครงการระบบขนส่งขนาดยักษ์ที่ถูกจับตามองว่าอย่างมากว่า บทสรุปจากการตัดสินใจของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา  นายกรัฐมนตรี  และหัวหน้าคสช.  จะออกมาเป็นอย่างไร  สำหรับเส้นทางรถไฟสายอีสานที่ชัดเจนแน่นอนว่าจะเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือไทย-จีน  แต่ยังแจ่มแจ้งว่าจุดเริ่มต้นและปลายทางสิ้นสุดจะจบแค่ไหนอย่างไร   

 

 

 

ฝากคนไทยให้ความเห็นหน่อย!! แผนรถไฟไทย-จีนยุค “พล.อ.อ.ประจิน” มองไกลถึงกทม.-หนองคาย ล่าสุดหดเหลือแค่โคราช!! “ไพศาล” ฟันธงไทยตกกระป๋อง!?!

 เนื่องจากลักษณะโครงการที่เข้าใจกันมาหลายปีก่อนหน้าในยุคพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง  ทำหน้าที่เป็นรมว.คมนาคม เคยนำเสนอขอความเห็นชอบต่อสนช.เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2557  และได้รับการอนุมัติให้ความเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน  ระบุถึงแผนการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่  ขนาดมาตรฐาน  หรือ (Standard Gauge)   ระยะทาง 734 กม.  ในเส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด   และอีกหนึ่งเส้นระยะทาง  133 กม.  เชื่อมเส้นทางแก่งคอย – กรุงเทพ    ??

 

 

 


ในขณะที่เมื่อเร็ว ๆ นี้  ทางด้าน    นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือบอร์ด สศช. นัดพิเศษ   ว่า ที่ประชุมได้พิจารณารายละเอียดโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. กรอบวงเงิน 1.79 แสนล้านบาทโดยเป็นการพิจารณาตามระเบียบที่กำหนดไว้ว่าโครงการการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ต้องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการ สศช.หลังบอร์ดเห็นชอบแล้ว จะนำผลการประชุมเสนอสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีสัปดาห์หน้าและคาดว่าวันอังคารที่ 11 ก.ค. จะเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการต่อไป 

 

 

ขณะที่รายงานข้อมูลของ   สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)  ระบุ  ว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงนี้  มี  4  ช่วง  ได้แก่ ช่วงที่ 1 กลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. ช่วงที่ 2 ปากช่อง-คลองขนานจิตร ระยะทาง 11 กม. ช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 119.5 กม. ช่วงที่ 4 แก่งคอย-บางซื่อ ระยะทาง 119 กม. ซึ่งการดำเนินการก่อสร้าง 3.5 กม. เป็นเพียงการเริ่มต้นก่อสร้างในช่วงแรก จาก 4 ช่วง และจะดำเนินการก่อสร้างต่อเนื่องจนครบ 4 ช่วง รวม 253 กม. 

 

จากแนวคิดที่แตกต่าง  ท้ายสุดก็นำมาซึ่งประเด็นปัญหาทำให้เกิดข้อสงสัยว่าการตัดสินใจของกระทรวงคมนาคมในยุคของ นายอาคม  เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม  เรื่องแผนก่อสร้างโครงการรถไฟไทย-จีนจะตอบโจทย์การพัฒนาประเทศในอนาคตหรือไม่  ขณะที่ล่าสุดในเพจเฟซบุ๊กของนายไพศาล พืชมงคล   กรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ)  ได้แสดงความคิดเห็นในประเด็นนี้ไว้เช่นเดียวกัน  และน่าจะสะท้อนข้อเท็จจริงในหลากหลายมุมมองที่ควรได้มีการเจาะลึกมากขึ้น  “ถามกันมาเกรียวกราวว่า จากข้อเขียนของ ดร.อัครเวช โชตินฤมล นักวิชาการอิสระ ที่ว่าจีนตัดไทยออกจากเส้นทางสายไหมทั้งทางบกทางทะเลและทางแม่น้ำโขงจริงหรือไม่?ถ้าเป็นช่วงเวลาก่อนวันพระราชสมภพในสมเด็จพระเทพฯปีก่อน ก็ตอบได้ว่าจริง  เขาเตรียมการหลายอย่างเพราะรู้ว่าเราเบี้ยวเขาทุกกรณี และแท้จริงจีนก็ทราบดีว่าคนบางกลุ่มของเราจะล้มโครงการรถไฟไทย-จีน  ที่ลงนามกันไว้เมื่อ 19  มกรา  58   และยกเรื่องรถไฟให้ญี่ปุ่นทุกเส้นทาง

 

 

แต่หลังเหตุการณ์ต้นเดือนเมษา 59    ที่นายจาง เต๋อเจียง กรรมการประจำกรมการเมืองแห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนหรือโปลิสบูโร 1  ใน  7   ผู้นำสูงสุดของจีน ในฐานะประธานสภาประชาชนแห่งชาติได้ต้อนรับ VVIP  จากประเทศไทยที่มหาศาลาประชาชนแล้ว ทางจีนก็ได้ชะลอมาตรการทั้งหลายไว้ รวมทั้งได้ปล่อยน้ำจากเขื่อนอย่างมีแผนตลอดทั้งปีเพื่อให้การเดินเรือและการมีน้ำใช้ของปลายน้ำทำได้ตลอดปี  จีนจึงยังไม่ได้ใช้มาตรการใดๆกับไทย ยังคงพยายามสนองตามเดิม 

 

 

ทว่าจนถึงวันนี้โครงการรถไฟไทยจีนก็ไม่ไปไหนแต่จะไปกลางดง  แล้วใครเขาจะรอในขณะนี้เส้นทางสายไหมทางบกสู่อาเซียนนั้น  โครงการรถไฟทางคู่ขนทั้งคนทั้งของ ระบบรางมาตรฐานความเร็ว 180   กม. ต่อ ชม.  จากคุนหมิง-พม่า คุนหมิง-เวียดนาม-เขมร และ คุนหมิง-เวียงจันทน์ ลงมือสร้างกันหมดแล้วทางแม่น้ำโขง สมาชิกทั้ง 5   ชาติคือ จีน  , พม่า  , ลาว  , เวียดนาม  และ เขมร เขาเดินหน้าโครงการพัฒนาแม่น้ำโขงให้เดินเรือขนาดใหญ่ระวาง  500 – 1,000  ตัน   ขนตู้คอนเทนเนอร์ 40 – 100   ตู้ได้   และมีเรือท่องเที่ยวยักษ์เปิดเส้นทางท่องเที่ยวถึงกันเอิกเกริก ส่วนไทยเราไม่ทำอะไร กลับปล่อย  NGO    อาละวาด จนเขาตัดเส้นทางไปหลวงพระบางไปแล้ว เราต้องใช้เรือหางยาวข้ามฟากกันต่อไป

 

 

ส่วนเส้นทางสายไหมทางทะเล อินโดก็ตัดหน้าเป็น HUB  เส้นทางสายไหมทางทะเล ระหว่างจีนกับอาเซียนใต้และร่วมมือกับมาเลย์ สิงค์โปร์ บรูไน โลดไปแล้ว  เราก็ต้องใช้ท่าเรือแหลมฉบัง มาบตาพุดไปญี่ปุ่นแค่นั้นแหละ  นี่หละฝีมือ Deep State ของไทย แล้วจะมีสักกี่คนเล่าที่รู้เท่าทัน จับตาการมาเยือนไทยของประธาน AIIB   ช่วงกลางกรกฎาคมนี้ครับ  งานนี้เป็นวาระตัดเชือกครับ แม้ว่าจะมีมือดีชิงตัดหน้าไปสัญญาร่วมมือกันก่อนแล้ว แต่ขอให้วางใจนายกฯตู่เถิด เรื่องร้ายจะกลายเป็นดีเอง  อย่าลืมสิว่านายกฯตู่คือผ้นำต่างประเทศคนแรกที่ประกาศสนับสนุนยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมในการประชุมเอเปคสมัยที่ 22  ที่ปักกิ่ง และนำประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของ AIIB