คนแดนไกล(คง)ไม่รู้สึก!"วัฒนา"โชว์หวานไม่หยุด ชมเปราะ "ยิ่งลักษณ์"กล้าหาญขึ้นศาลสง่างาม อ้าวๆแล้วคนหนีคดีอย่างนช.ทักษิณล่ะ..อยู่ในสถานะอะไร?

ติดตามรายละเอียด : http://www.tnews.co.th

ถือเป็นนักการเมืองปากกล้าที่แสดงจุดยืนชัดเจน ในการทำหน้าที่ต่อต้านอำนาจคสช. ควบคู่ไปกับการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยและอดีตรัฐมนตรีที่ได้รับการสนับสนุนจากนายทักษิณ ชินวัตร  ในการแสดงออกถึงการชื่นชมนายทักษิณและน.ส.ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร  ในทุกมิติโอกาส   ยิ่งโดยเฉพาะใกล้วันที่ 25 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันนัดฟังคำพิพากษาคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว  ที่ถือเป็นไฮไลต์สำคัญสำหรับช่วงเวลาที่ใกล้เข้ามาถึงทุกขณะ 

ล่าสุด  นายวัฒนา  เมืองสุข  สมาชิกพรรคเพื่อไทย  ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กวิพากษ์วิจารณ์การทำหน้าที่ตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ตำรวจอีกเช่นเคย  มีข้อความบางส่วนระบุว่า    ในวันพรุ่งนี้(21 ส.ค.60) พร้อมจะเข้าพบพนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี(บก.ปอท.) ตามหมายเรียก 3 คดี

 

 

 

“ไร้สิ้นซึ่งศักดิ์ศรี วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม เวลา 10.00 น. ผมจะไปพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก รวม 3 คดี ข้ออ้างในการออกหมายคือเพื่อเร่งรัดคดีถึงขนาดไม่ยอมให้เวลาผมยื่นคำให้การ รวม 2 คดี ส่วนอีกคดีเป็นการแจ้งข้อหาเพิ่มเพื่อนำตัวผมไปศาลขอฝากขังและ พงส. จะคัดค้านการขอประกันตัว เพราะผู้มีอำนาจไม่ต้องการให้ผมแสดงความคิดเห็นซึ่งสอดรับกับคำให้สัมภาษณ์ของ พล.ต.อ. ศรีวราห์ฯ ที่ว่า “แกนนำที่ใช้โซเชียลมีเดียปลุกระดมมวลชนมีเพียงคนเดียวคือนายวัฒนา เมืองสุข…

 

 

 

นอกจากนี้นายวัฒนายังไม่ลืมกล่าวชื่นชม น.ส.ยิ่งลักษณ์  ได้ระบุข้อความในเพจเฟซบุ๊กว่า  “ที่สำคัญคือนักการเมืองที่มาจากประชาชนตรวจสอบได้เสมอ ตัวอย่างคืออดีตนายกหญิงที่ถูกผู้มีอำนาจกลั่นแกล้งสารพัด ท่านยอมรับการตรวจสอบกล้าเดินขึ้นศาลอย่างสง่างามและรอฟังคำพิพากษาอย่างสงบเยือกเย็น ภาพที่เห็นคือท่านพาลูกไปรับประทานอาหารและทำบุญ ส่วนชายชาติทหารที่ทำบาปกลับขี้ขลาดนิรโทษกรรมตัวเองหนีการตรวจสอบ แถมร้อรุ่มถึงขนาดใช้อำนาจข่มขู่ประชาชนมือเปล่าเพราะกลัวมาให้กำลังใจท่าน….” จากข้อเขียนบางส่วนข้างต้นตอกย้ำให้เห็นจุดยืนอันแนวแน่ของ นายวัฒนาทั้งการต่อต้านคสช.และสนับสนุนระบอบทักษิณ  

 

 

เพราะก่อนหน้านี้นายวัฒนาเองใช้ทุกโอกาสวิพากษ์วิจารณ์การทำหน้าที่คสช. โดยการหยิบยกเรื่องการออกกฎหมายนิรโทษกรรมมาเป็นเครื่องมือ  แต่ขณะเดียวกันนายวัฒนากลับไม่เคยกล่าวถึงพฤติการณ์ของนายทักษิณอย่างตรงไปตรงมา  ในประเด็นเกี่ยวเนื่องกับดดีอาญาที่ผ่านๆมา   ทำให้ศาลฎีกาและศาลอาญาต้องออกหมายจับ  จำหน่ายคดีไว้ก่อนเพื่อรอการจับกุมตัวมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม กลายเป็นทั้งนักโทษและผู้ต้องหาหนีคดีโดยสมบูรณ์  ต่างจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ที่นายวัฒนาชมแล้วชมอีกเรื่อง “ความกล้าหาญ” ??

อย่างไรก็ตาม ในมุมกลับถ้าย้อนไปดูคดีความของนายทักษิณ จะเห็นได้ว่ามีหลายคดีที่ต้องคำถามว่า  นายทักษิณเลือกจะไม่ยอมรับ  หรือแสดงความกล้าหาญเหมือนกับน.ส.ยิ่งลักษณ์  ผู้เป็นน้องสาว ใช่หรือไม่ ??  อาทิเช่น  คดีทุจริตที่ดินรัชดาภิเษก อัยการสูงสุดยื่นฟ้องนายทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภริยา ร่วมกันเป็นจำเลย โดยนายทักษิณ ในข้อหาปฏิบัติหน้าที่มิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ส่วนคุณหญิงพจมาน มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด กรณีคุณหญิงพจมานซื้อที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษกจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จำนวน 33 ไร่ มูลค่า 772 ล้านบาท ซึ่งเป็นการซื้อขายที่ดินที่ต่ำกว่าราคาประเมิน

 

โดยศาลยกฟ้องคุณหญิงพจมาน และมีคำพิพากษาให้จำคุกนายทักษิณเป็นเวลา 2 ปี พร้อมออกหมายจับเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2551 ภายหลังจากหนีออกนอกประเทศคดีทุจริตโครงการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัวและ 2 ตัว หรือคดีหวยบนดิน คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ได้ยื่นฟ้องนายทักษิณ คณะรัฐมนตรี และผู้บริหารสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รวม 47 คนเป็นจำเลย และคดีนี้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ออกหมายจับเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2551 เพื่อติดตามตัวนายทักษิณมาพิจารณาคดีนัดแรก


คดีเอ็กซิมแบงก์ปล่อยเงินกู้ให้กับรัฐบาลพม่า 4,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการจัดซื้ออุปกรณ์กิจการโทรคมนาคมจากบริษัทในเครือ ชินคอร์ ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัว โดยคดีนี้ คตส. เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายทักษิณในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการดูแลกิจการเข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น และเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 และมาตรา 157 โดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้ออกหมายจับนายทักษิณ เมื่อ 16 กันยายน 2551 เนื่องจากนายทักษิณหลบหนีคดี เพื่อติดตามตัวมาฟังการพิจารณาของศาลนัดแรก

 

 

คดีทุจริตออกกฎหมายแก้ไขค่าสัมปทานโทรศัพท์มือถือ-ดาวเทียม เป็นภาษีสรรพสามิต เอื้อประโยชน์ธุรกิจบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ทำให้รัฐเสียหาย 6.6 หมื่นล้านบาท คดีนี้อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายทักษิณในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทาน เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใดเข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 152, 157 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 4, 100, 122

 

 

โดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกหมายจับเมื่อวันที่  15 ตุลาคม 2551  เพื่อติดตามตัวมาพิจารณาคดีนัดแรกคดีธนาคารกรุงไทย อนุมัติเงินกู้ให้กับบริษัทในเครือกฤษดามหานคร  ซึ่งเป็นการอนุมัติสินเชื่อให้กับบริษัทที่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPL โดยคดีนี้ คตส. ได้ชี้มูลความผิดนายทักษิณกับพวก   ทั้งนี้  ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้ออกหมายจับติดตามตัว นายทักษิณมาดำเนินคดี พร้อมกับให้จำหน่ายคดีเฉพาะส่วนของนายทักษิณไว้เป็นการชั่วคราว คดีร่ำรวยผิดปกติ เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของตนเองและพวกพ้อง ซึ่งเป็นคดีแพ่ง และคดีนี้ที่ผ่านมาได้มีการตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างอัยการและ ป.ป.ช. และมีข้อสรุปออกมาว่าให้อัยการยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อให้ศาลมีคำสั่งยึดทรัพย์นายทักษิณตกเป็นของแผ่นดิน โดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษายึดทรัพย์จำนวน 46,373,687,454.70 บาท เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 จากกรณีขายหุ้นชินคอร์ปและผลประโยชน์ทับซ้อนหลายกรณีในช่วงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

 

คดีหมิ่นประมาทกองทัพบก กรณีที่ให้สัมภาษณ์ใส่ความโจทก์ที่ประเทศเกาหลีใต้ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กว่าเป็นบุคคลน่ารังเกียจ เป็นอันตรายต่อประเทศชาติ และเป็นบุคคลที่ทำความเสียหายให้แก่ประเทศชาติ ซึ่งการกระทำนั้นส่งผลให้กองทัพบกในฐานะโจทก์ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียง ศาลอาญาได้นัดสอบคำให้การจำเลยและตรวจพยานหลักฐานในคดี เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา แต่จำเลยมีพฤติการณ์หลบหนีคดี ศาลจึงออกหมายจับหนีศาล พร้อมกับสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความชั่วคราวถูกถอดยศ ราชกิจานุเบกษาได้เผยแพร่คำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ถอดยศ “พันตำรวจโท” ของนายทักษิณ ในวันที่ 5 กันยายน 2558 ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เสนอ เนื่องจากมีความผิดปรากฏตามคำพิพากษาศาลถึงที่สุด และยังมีข้อหาความผิดอาญาอื่นๆ อีกหลายฐานที่สุดท้ายแล้วต้องรอการปรากฎตัวในชั้นศาลของ "นายทักษิณ" ???