ไขปริศนา... การแสดง "โขนหน้าไฟ" พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวงร.9 เหตุใดจึงต้องเลือกเรื่องรามเกียรติ์...ตอน "พระรามข้ามสมุทร-ยกรบ"

ติดตามรายละเอียด : http://www.tnews.co.th

ถือเป็นการแสดงที่ทรงเกียรติสูงสุดสำหรับพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ที่จะต้องมีมหรสพสมโภชในช่วงก่อนที่จะถวายพระเพลิง ซึ่งเมื่อวันที่ 26 ต.ค.2560 ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี ได้มีการแสดงโขน ณ พระที่นั่งทรงธรรม หรือตามภาษาชาวบ้าน อาจเรียกว่า โขนหน้าไฟ เรื่องรามเกียรติ์ ในตอนพระรามข้ามสมุทร-ยกรบ โดยใช้ผู้ร่วมแสดงทั้งสิ้น 300 คน 

 

 

ไขปริศนา... การแสดง "โขนหน้าไฟ" พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวงร.9 เหตุใดจึงต้องเลือกเรื่องรามเกียรติ์...ตอน "พระรามข้ามสมุทร-ยกรบ"

และสำหรับการแสดงโขนหน้าไฟ ในงานพระราชพิธีสำคัญนี้ ทางดร.ธีรเดช กลิ่นจันทร์ นาฏศิลปินอาวุโส สำนักการสังคีต กรมศิลปากร เคยได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า "การแสดงโขนในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ได้นำเอาเรื่องรามเกียรติ์ มาทำการแสดง ซึ่งถือเป็นจารีตตั้งแต่อดีตมา โดยรามเกียรติ์ ในอดีตนั้นจะเล่นเป็นละครใน เดิมทีการแสดงโขนไม่ได้มีการร้องหรือการรำ เพราะจะเป็นเรื่องของการยกทัพจับศึก แต่ในช่วงหลังโขนในปัจจุบันได้รับเอาวัฒนธรรมของละครในเข้ามาผสมผสาน จึงทำให้เกิดเป็นการแสดงโขนรูปแบบใหม่ที่มีพัฒนาการมาอย่างเป็นระยะจนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 9"
 

 

ไขปริศนา... การแสดง "โขนหน้าไฟ" พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวงร.9 เหตุใดจึงต้องเลือกเรื่องรามเกียรติ์...ตอน "พระรามข้ามสมุทร-ยกรบ"

 

(ดร.ธีรเดช กลิ่นจันทร์)

 

 

ทั้งนี้โขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอนพระรามข้ามสมุทร-ยกรบ มีความเกี่ยวโยงในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ เนื่องจากเป็นเรื่องของพระราม เป็นการเชิดชูเกียรติยศของพระราม และที่สำคัญพระราม ก็คือภาคหนึ่งของพระนารายณ์อวตารเช่นเดียวกัน โดยคนไทยเรามีคติความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ไทยในพระราชวงศ์จักรีทุกพระองค์เป็นสมมติเทพ ซึ่งอวตารลงมาเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชน จะสังเกตได้ว่าตราสัญลักษณ์ของพระราชวงศ์จักรีจะมีตรีและจักรเป็นตราสัญลักษณ์ ถือเป็นนัยยะสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงว่า เรามีความเชื่อถือพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ ก็คือภาคหนึ่งของพระนารายณ์อวตาร 

 


นอกจากนี้ "คฑา" ที่พระเจ้าอยู่หัวถือไว้ในพระหัตถ์ สำหรับใช้ในการตรวจพลในพิธีสวนสนามนั้น ก็คืออาวุธของพระนารายณ์อีกชนิดหนึ่ง โดยความเชื่อเหล่านี้ได้สืบทอดมาในการแสดงโขน พระนารายณ์จะถืออาวุธคฑาเป็นอาวุธประจำในการถ่ายทอดการแสดงบนเวที ซึ่งมันมีความเกี่ยวโยงระหว่างศิลปะกับความเป็นจริง ซึ่งหลังจากที่การแสดงโขนตอนสุดท้ายจบลง และเข้าสู่ช่วงกระบวนการพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพจริงนั้น ถือเป็นช่วงที่โศกเศร้าแก่ประชาชนคนไทยอย่างยิ่ง 

 

 

ไขปริศนา... การแสดง "โขนหน้าไฟ" พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวงร.9 เหตุใดจึงต้องเลือกเรื่องรามเกียรติ์...ตอน "พระรามข้ามสมุทร-ยกรบ"

 

 

 

ไขปริศนา... การแสดง "โขนหน้าไฟ" พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวงร.9 เหตุใดจึงต้องเลือกเรื่องรามเกียรติ์...ตอน "พระรามข้ามสมุทร-ยกรบ"

 

 

ไขปริศนา... การแสดง "โขนหน้าไฟ" พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวงร.9 เหตุใดจึงต้องเลือกเรื่องรามเกียรติ์...ตอน "พระรามข้ามสมุทร-ยกรบ"

 


 

ไขปริศนา... การแสดง "โขนหน้าไฟ" พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวงร.9 เหตุใดจึงต้องเลือกเรื่องรามเกียรติ์...ตอน "พระรามข้ามสมุทร-ยกรบ"

 

 

ไขปริศนา... การแสดง "โขนหน้าไฟ" พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวงร.9 เหตุใดจึงต้องเลือกเรื่องรามเกียรติ์...ตอน "พระรามข้ามสมุทร-ยกรบ"

 

 

และเมื่ออ่านเรื่องราวทางประวัติศาสต์ของศาสตร์การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ที่มีรายละเอียดลึกซึ้ง ยิ่งทำให้เกิดความโศกเศร้าทวีคูณ โดยทางเพจเฟซบุ๊ก PRASIT ได้โพสต์เล่าเรื่องราว เกี่ยวกับการแสดงโขนเพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลลที่ 9 ไว้ดังนี้ว่า  "#โขนตอนสุดท้าย อย่างที่ทราบและไม่ทราบกัน หัวใจของโขนพูดถึงการเชิดชูเกียรติพระมหากษัตริย์ ในคติพราหมณ์จึงเปรียบ กษัตริย์เป็นดั่ง พระนารายณ์ ผู้สร้างโลก

 


วันที่ ๘ ตุลาที่ผ่านมา ณ ช่างชุ่ย พิเชษฐ์ กลั่นชื่น ได้จัดแสดงโขนประเพณีขึ้นมาในตอน "พระนารายณ์ ปราบ นนทก” ด้วยตั้งใจที่จะรำลึกและเทิดทูน ในหลวง ร.๙ ซึ่งโขนชุดพิเศษนี้ก็ไม่ได้มีเนื้อเรื่องหรือความพิสดารอะไรไปกว่าโขนตอนนี้ที่เคยแสดงกันมาก่อน ทุกอย่างดำเนินไปอย่างงดงามตามที่มันควรจะเป็น สิ่งเดียวที่ต่างออกไปก็เมื่อพิเชษฐ์ ออกมาพูดคุยกับผู้ชมเมื่อการแสดงจบลง

 

 

“โขนเรื่องนี้ไม่มีพระนารายณ์ เพราะพระนารายณ์เราไม่อยู่แล้ว”

 

ไม่มีใครแสดงเป็นพระนารายณ์ ระหว่างเรื่องบทบาทของพระนารายณ์ จึงเป็นเพียงนนทก ที่เงยหน้าพูดกับท้องฟ้า พร้อมเสียงโต้ตอบจากเบื้องบนเท่านั้น

 

แม้ไม่เคยดูโขนมาก่อน แต่การแสดงบทของพระนารายณ์ที่น้อยที่สุดในครั้งนี้กับรู้สึกได้มาก งดงามพร้อมกับความเหงาคิดถึงจับใจ

 

แล้วอย่างที่ทราบและไม่ทราบกัน “พระนารายณ์ ปราบ นนทก” คือ ภาคศูนย์ของมหากาพย์ “รามเกียรติ์” ที่เหมือนสมัยนี้ที่หนังฮิตนิยมทำภาคที่เล่าย้อนไปถึงเหตุเริ่มต้น

 


เรื่องของยักษ์ล้างเท้าชั้นต่ำอย่าง‘นนทก’ ที่โกรธแค้นเหล่าเทวดาชั้นสูงที่มากลั่นแกล้ง จึงไปขอพลังพิเศษจากพระอิศวรที่ชี้ใครคนนั้นก็ตาย ได้ออกไล่ฆ่าเทวดาบนสวรรค์เพื่อแก้แค้น จน‘พระนารายณ์’ต้องลงมาปราบ เรื่องราวจบลงที่ความพ่ายแพ้ของนนทก กับคำตัดพ้อต่อว่าพระนารายณ์ที่มีทั้งพลังอำนาจมากกว่า แถมมีถึงสี่กร แล้วตนจะสู้ได้อย่างไร พระนารายณ์จึงให้คำสัตย์ ให้เกิดใหม่ชาติหน้า นนทก มีอิทธิฤทธิ์อำนาจ มีสิบหน้า ยี่สิบมือ ส่วนพระองค์จะขอไปเกิดเป็นคนธรรมดาที่มีเพียงสองมือ แล้วจะกลับมาสู้กันอีกครั้ง..สงครามของ ทศกัณฐ์ และ พระราม จึงอุบัติขึ้น

 


พิเชษฐ์ เลือกโขนตอนนี้ด้วยนัยยะที่งดงามและลึกซึ้ง จากจุดประสงค์ของโขนที่เล่นเพื่อนเทิดทูนกษัตริย์เพื่อแสดงให้กษัตริย์ดู แต่โขนชุดนี้เทิดทูนชีวิตกษัตริย์ให้ประชาชนดู..และไม่ลืม ในสังคมที่อำนาจและกฏหมายไว้ใช้กับคนจนชนชั้นล่างที่ทนทุกข์เช่นนนทก ทุก(ข์)คนจึงมีค่านิยมมุ่งสู่การใช้ชีวิตแบบเทวดา รักความสะดวกสบาย การมีพลังอำนาจ ความร่ำรวย การเป็นคนมีชื่อเสียง“มากหน้าหลายตา” คือสิ่งที่เปลี่ยนแปลงชีวิตได้

 


แต่กลับกันกษัตริย์ของเรา ท่านไม่เลือกใช้ชีวิตสมมุติเทพที่ยิ่งใหญ่ใช้อำนาจล้นฟ้า แต่ลงจากฟ้ามาทรงดำเนินชีวิตติดดินสมพระนาม เลือกครองแผ่นดินโดย“ทำ”ในแบบมนุษย์ธรรมดา ที่ใช้สองมือนี้พึ่งพาตนเอง และสองมือคู่เดียวกันนี้ยังทำเรื่องยิ่งใหญ่อีกมากมายตั้งแต่ฟ้าจรดดินช่วยเหลือผู้คนอีกหลายล้านคน ด้วยสองมือของมนุษย์ธรรมดา แม้วันนี้โขนเรื่องยาวที่เล่ามา ๗๐ ปี จะไม่มีพระนารายณ์แล้ว แต่เรายังมี“พระราม”อยู่ อยู่ที่สองมือของเราทุกคน สองมือที่เราพอใจ เพียงพอที่จะมีชีวิตที่ดีได้ สองมือนี้ที่พ่อทำให้ดู และทำให้เรารู้ว่า มนุษย์ธรรมดาๆนั้นเกิดมาก็สามารถทำให้โลกนี้สวยงามได้..ด้วยสองมือ

 


ความเพียรของมนุษย์ เทวดาก็กีดกันไม่ได้
- ป. อ. ปยุตฺโต -
PRASIT
#พระราม๙
#พิเชษฐ์กลั่นชื่น
#เขียนให้พ่อ
#PRASIT"
 

 

(ขอบคุณคลิป : TNN 24 )

 

 

ไขปริศนา... การแสดง "โขนหน้าไฟ" พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวงร.9 เหตุใดจึงต้องเลือกเรื่องรามเกียรติ์...ตอน "พระรามข้ามสมุทร-ยกรบ"

 

 

ไขปริศนา... การแสดง "โขนหน้าไฟ" พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวงร.9 เหตุใดจึงต้องเลือกเรื่องรามเกียรติ์...ตอน "พระรามข้ามสมุทร-ยกรบ"

 

 

ไขปริศนา... การแสดง "โขนหน้าไฟ" พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวงร.9 เหตุใดจึงต้องเลือกเรื่องรามเกียรติ์...ตอน "พระรามข้ามสมุทร-ยกรบ"

 

 

ขอบคุณข้อมูล : workpointnews

ขอบคุณภาพ : ทรท.ถ่ายทอดสด 

ขอบคุณเฟซบุ๊ก : PRASIT