ไขข้อสงสัย !?!! แผนEIA เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย...จริงหรือไม่มีแผนงานทางธรรมชาติ !!!

ไขข้อสงสัย !?!! แผนEIA เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย...จริงหรือไม่มีแผนงานทางธรรมชาติ !!!

เมื่อวันที่ 23 ก.ค. ถือเป็นเหตุครั้งรุนแรงที่สุดของสปป.ลาว หลังจากเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ซึ่งตั้งอยู่บริเวณ แขวงอัตตะปือ  มวลน้ำทะลักท่วมพื้นที่เขตเมืองสะหนามไซเป็นวงกว้าง และระดับน้ำมีความสูงเฉลี่ย 15 เมตร และหลังจากนั้นก็พบว่า จุดที่เป็นปัญหาคือ เขื่อนดินย่อยกั้นช่องเขาส่วน D –ขนาดสันเขื่อนกว้าง 8 เมตร ยาว 770 สูง 16 เมตร  ทั้งนี้มีการตั้งข้อคำถามถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่าทั้งหมดทั้งมวลเกิดขึ้นเพราะฝีมือธรรมชาติหรือความผิดพลาดในการจัดการเรื่องโครงสร้าง ??? 

 

 

ไขข้อสงสัย !?!! แผนEIA เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย...จริงหรือไม่มีแผนงานทางธรรมชาติ !!!

 

 

ไขข้อสงสัย !?!! แผนEIA เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย...จริงหรือไม่มีแผนงานทางธรรมชาติ !!!

 

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม :  ขยายความจริง!! เบื้องหลัง"เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย"แตก โทษธรรมชาติหรือความผิดพลาดใคร?? 
‭http://www.tnews.co.th/contents/473774‬

และอีกหนึ่งประเด็นที่มีการตั้งข้อสังเกตจากนักวิชาการนั่นคือข้อมูลของรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยแตกประเทศลาว  ซึ่งก่อนหน้านี้หลังจากเกิดเหตุการณ์ข้อมูลEIA ดังกล่าวในเว็บไซต์ของบริษัทที่ทำรายงาน EIA หรือบริษัทที่ปรึกษาถูกถอดออกจากเว็บไซต์หลังจากที่เขื่อนแตก 

 

 

ไขข้อสงสัย !?!! แผนEIA เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย...จริงหรือไม่มีแผนงานทางธรรมชาติ !!!

 

 

ไขข้อสงสัย !?!! แผนEIA เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย...จริงหรือไม่มีแผนงานทางธรรมชาติ !!!

 

 

ล่าสุดดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.มหาสารคาม ได้ให้ข้อมูลกับทางทีมข่าวไว้อย่างน่าสนใจหลังจากที่เรื่องของการเกิดน้ำท่วม 
PNTC เป็นบริษัทเจ้าของเขื่อน ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม น้ำดินอากาศ การอพยพ
การเสนอเรื่องราวควาามเสี่ยง ลดตามหัวข้อแนะนำเรื่องอุบัติเหตุภัยธรรมชาติ
เรื่องของการเกิดน้ำท่วม
ระยะยาวภูมิอากาศ เสนอว่าให้พัฒนาปัญหาเรื่องของแผนกระทบสิ่งแวดล้อม

ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ :กรณีนี้บริษัทเจ้าของเขื่อนระบุว่า เป็นฝนตกหนัก
มีการดำเนินการอย่างไรซึ่งจากการตรวจสอบยังไม่พบว่ามีการทำแผนนี้ โดยมาตรฐานสากล
ในประเทศไทยเองก็ต้องทำแผนงาน เรื่องของเขื่อนที่พังมันไม่น่าใช่ภัยธรรมชาติแน่นอน ไม่ได้มีการประเมินความเสี่ยงรายงาน EIA 

ทีนิวส์ : ข่าวล่าสุดทางรัฐบาลเกาหลีใต้สั่งสอบ 2 บริษัท ที่เป็นผู้ถือหุ้นที่นี่แล้ว? 

ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ : ใช่ครับ มีข่าวออกมาสั้นๆ ไม่มีรายละเอียดว่าเขาตรวจสอบอะไรยังไง ซึ่งคิดว่าในกรณีของเกาหลีใต้ถ้าทำจริงจะเป็นมาตรฐานที่ดีมากสำหรับการลงทุนข้ามชาติ ในส่วนของประเทศไทยเองผมก็คิดว่า น่าจะมีการตรวจสอบแต่ก็คิดไม่ออกว่าใครจะทำหน้าที่ในการตรวจสอบตรงนี้ น่าจะต้องเป็นรัฐบาล แต่ในอีกส่วนหนึ่งคือ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยก็น่าจะตรวจสอบวิศวกรที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเขื่อนแห่งนี้ แต่ไม่แน่ใจว่าจะทำกันหรือเปล่า

ทีนิวส์ :มองอีกมุมหนึ่ง เป็นไปได้หรือเปล่าใน EIA อาจจะไม่มีการพูดถึงแผนรองรับการเผชิญเหตุฉุกเฉินจากการที่มีเขื่อนแตก แต่ไประบุไว้ในส่วนอื่น?

ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ : ไม่สามารถบอกได้ว่าไม่ได้ทำ เขาเสนอในทำใน EIA เสนอให้พัฒนาแผนเผชิญ แผนรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินทางด้านสิ่งแวดล้อมจำเป็นที่จะต้องมี แต่ว่าตัวแผนนี้มันหาไม่เจอ

สำหรับรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม  EIA ย่อมาจากคำว่า Environmental Impact Assessment ซึ่งหมายถึง การใช้หลักวิชาการในการทำนายหรือคาดการณ์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบของการดำเนินโครงการพัฒนา ที่จะมีผลต่อสิ่งแวดล้อมในทุกๆ ด้าน ทั้งทางทรัพยากรธรรมชาติ ทางเศรษฐกิจ และสังคม เพื่อจะได้หาทางป้องกันผลกระทบในทางลบที่อาจเกิดขึ้นให้เกิดน้อยที่สุด   หากได้รับการนำมาในการวางแผนป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ขั้นตอนศึกษาความเหมาะสมของโครงการจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลังดำเนินโครงการไปแล้ว 

 

 

ไขข้อสงสัย !?!! แผนEIA เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย...จริงหรือไม่มีแผนงานทางธรรมชาติ !!!

 

 

ไขข้อสงสัย !?!! แผนEIA เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย...จริงหรือไม่มีแผนงานทางธรรมชาติ !!!


ข้อมูลของ สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ได้ระบุเอาไว้ว่า การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้งในทางบวก และทางลบจากการพัฒนาโครงการหรือกิจการที่สำคัญ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและใช้ในการประกอบการตัดสินใจพัฒนาโครงการกิจการ ผลการศึกษาจัดทำเป็นเอกสารเรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
 
รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination : IEE) เป็นการตรวจสอบเบื้องต้นถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากดครงการที่เสนอ มักใช้ข้อมูลเบื้องต้นที่มีอยู่หรือข้อมูลที่สามารถหาได้ทันที IEE เป็นการศึกษาเพื่อให้ทราบว่าจะต้องทำEIA ต่อหรือไม่สำหรับประเทศไทยได้นำมาใช้ในการกำหนดให้โครงการที่คาดว่ามีผลกระทบสิ่งแวดล้อมบางประเภทที่มีขนาดเล็กหรือไม่มาก จัดทำเป็นรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น
 
การกลั่นกรองโครงการ (Screening)  เป็นกระบวนการเพื่อตัดสินใจว่า โครงการที่เสนอนั้นจำเป็นต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือไม่ การกลั่นกรองจะเกี่ยวข้องกับการใช้วิจารณญาณพิจารณาว่าผลกระทบจากโครงการที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมนั้นอยู่ในระดับ มีนัยสำคัญหรือไม่
 
การกำหนดขอบเขต (Scoping)
เป็นกระบวนการในการชี้ประเด็นที่สำคัญ ทางเลือกที่จำเป็นต้องมีการศึกษาและประเมิน ทั้งนี้ เนื่องจากหัวข้อในเรื่องสิ่งแวดล้อมมีหลากหลาย ดังนั้น การกำหนดขอบเขต จึงทำให้การศึกษาในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตรงประเด้น ลดความขัดแย้ง ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการศึกษาด้วยผลที่ได้จากการกำหนดขอบเขตจะนำไปจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่า ขอบเขตการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม (Terms of Referrence,TOR)
 

 

 

ไขข้อสงสัย !?!! แผนEIA เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย...จริงหรือไม่มีแผนงานทางธรรมชาติ !!!

 

ทั้งนี้ ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ ได้เปิดรายงาน EIA เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย อาจไม่มีการประเมินความเสี่ยงเขื่อนวิบัติ และแผนรับมือกับเหตุฉุกเฉินที่เหมาะสม

EIA นับว่ามีความสำคัญมากๆ ครับ เพราะจะบอกเราได้ว่าทำไมภัยพิบัติจากเขื่อนวิบัติครั้งนี้จึงมีความรุนแรงมาก ทั้งที่โครงการนี้ ถือว่าเป็นโครงการด้านวิศวกรรมที่ท้าทายในภูมิภาคนี้ และมีมูลค่าถึงสามหมื่นกว่าล้านบาท ที่ต้องมีการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment : RA) และแผนรับมือกับเหตุฉุกเฉินทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Emergency Response Plan)

แต่ในขณะนี้ไม่สามารถหารายงานฉบับสมบูรณ์ที่ทำโดยบริษัททีม ของไทยได้ มีเพียงรายงานฉบับเพิ่มเติมที่จัดทำโดยบริษัท Lao Consulting Group เท่านั้น แต่ก็พอจะให้ภาพเพื่อตอบคำถามดังกล่าวข้างต้นได้ในระดับหนึ่ง

เมื่อได้เข้าไปอ่าน EIA ฉบับดังกล่าว ก็พบหัวข้อที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในบทที่ 6 เรื่อง Environmental Mitigation Measures หน้า 6-14 กับ 6-15 โดยอยู่ในหัวข้ออุบัติเหตุและภัยธรมชาติ และมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงคือ ไฟไหม้และการระเบิด การรั่วไหลของวัถตุอันตรายและน้ำมัน ความเสี่ยงจากแผ่นดินไหว และอุบัติเหตุและภัยธรรมชาติทั่วไป

สำหรับหัวข้อที่น่าสนใจที่สุดก็คือหัวข้อสุดท้าย ซึ่งได้แบ่งย่อยออกเป็นสองประเด็นคือ น้ำท่วม (flood) และกับระเบิดที่ยังไม่ได้ระเบิด (UXO) โดยที่หัวข้อน้ำท่วม EIA ได้เสนอมาตรการในการลดผลกระทบคือให้มีการติดตามสภาวะอุทกวิทยาและภูมิอากาศ ซึ่งจำเป็นสำหรับทำให้การลดผลกระทบและการจัดการมีประสิทธิภาพสำหรับน้ำไหลสูงสุดและเหตุการณ์น้ำท่วมในแต่ละวัน การติดตามตัวชี้วัดต่างๆ รวมถึงปริมาณน้ำฝน อัตราการไหลของน้ำในแม่น้ำ ระดับน้ำ และการสังเกตด้วยสายตา เช่น สังเกตพืชน้ำ พรรณพืช การเกิดขึ้นและลักษณะสัณฐานของตะกอน

สำหรับมาตรการในการลดผลกระทบ EIA ระบุว่าให้พัฒนาแผนรับมือกับเหตุฉุกเฉินด้านสิ่งแวดล้อม (Develop the Environmental Emergency Response Plan)

ข้อสังเกตของผมก็คือ

1) โครงการนี้ไม่มีการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) จากเขื่อนวิบัติ เช่น น้ำล้นจากทางระบายน้ำล้นฉุกเฉินของเขื่อน (spill way) น้ำล้นสันเขื่อน หรือที่เลวร้ายที่สุดคือเขื่อนวิบัติ

2) หากตัดประเด็นที่ว่าเขื่อนพังเพราะอะไรออกไปก่อน ผมมีคำถามว่าทางบริษัทเจ้าของเขื่อนได้จัดทำแผนรับมือกับเหตุฉุกเฉินด้านสิ่งแวดล้อมหรือไม่ และแผนดังกล่าวบริษัทได้นำมาปฏิบัติหรือไม่ และได้นำไปให้หน่วยงานราชการและชุมชนท้ายเขื่อนหรือไม่ เพราะไม่สามารถหาเผนดังกล่าวได้ แต่การประเมินจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเขื่อนแตก ก็น่าจะไม่มีแผนดังกล่าว จึงทำให้เกิดการแจ้งเตือนภัยและให้อพยพที่ล่าช้ามากและกระชั่นชิดมาก อีกทั้งบริษัทน่าจะรู้แล้วว่าตัวเขื่อนที่วิบัติมีปัญหาตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม ขณะที่สื่อต่างประเทศบางสำนักตั้งข้อสังเกตว่าบริษัทน่าะรู้ว่าเขื่อนมีรอยแยกตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม แล้ว ขณะที่การแจ้งให้ทางการลาวอพยพประชาชนท้ายเขื่อนในลุ่มน้ำเซเปียนเกิดขึ้นในวันที่ 23 กรกฎาคม ก่อนเขื่อนแตกไม่กี่ชั่วโมง

นอกจากนั้น เมื่อเขื่อนแตก ยังได้เกิดการอพยพหนีตายของประชาชนแบบโกลาหล ประชาชนหนีเอาตัวรอดแบบไร้ทิศทาง บางคนถูกน้ำพัดพาเสียชีวิต ซึ่งตัวเลขล่าสุดคือ 26 คน มีคนสูญหาย 131 คน ประชาชนจำนวนมากหนีขึ้นไปอยู่บนหลังคาทั้งบ้านและวัด บางคนต้องเกาะต้นไม้เพื่อเอาชีวิตรอด หรือติดเกาะหลายวัน ขณะที่พื้นที่รองรับอพยพก็ไม่มีความพร้อม หลายกลุ่มต้องไปตั้งเพิงพักชั่วคราวในป่า ขณะที่ในพื้นที่ไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นได้

ยิ่งไปกว่านั้น ผลกระทบยังครอบคลุมไปยังหลายหมู่บ้านในกัมพูชาด้วย ซึ่งสถานการณ์การอพยพก็ไม่ได้แตกต่างกัน เพียงแต่ความเสียหายน้อยกว่า และทางการกัมพูชาก็มีเวลาในการช่วยเหลือประชาชนมากกว่า

กล่าวโดยสรุป ผมเห็นว่า EIA ฉบับเพิ่มเติมให้ข้อมูลเบื้องต้นได้ระดับหนึ่งว่า โครงการนี้อาจไม่ได้มีการประเมินความเสี่ยงที่เหมาะสม ไม่ครอบคลุมประเด็นเขื่อนวิบัติ และไม่น่าจะมีแผนลดความเสี่ยงภัยพิบัติ (Disaster Risk Reduction-DRR) ในกรณีเขื่อนวิบัติ เพือให้เจ้าหน้าที่ของเขื่อน หน่วยงานต่างๆ และชุมชนที่ตั้งอยู่ท้ายเขื่อน นำไปปฏิบัติ หรือหากมีก็ไม่ได้นำมาปฏิบัติ ทำให้เกิดรุนแรงถึงขั้นเป็นภัยพิบัติอย่างที่เห็น ดังนั้น ไม่ว่าเขื่อนจะแตกเพราะโครงสร้างทางวิศวกรรรมซึ่งแนวโน้มจะเป็นสาเหตุนี้มากที่สุด หรือจากฝนตกหนักอย่างที่ผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยและเกาหลีได้ระบุ บริษัทเจ้าของเขื่อนก็ไม่อาจหนีความรับผิดชอบไปได้

 

ไขข้อสงสัย !?!! แผนEIA เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย...จริงหรือไม่มีแผนงานทางธรรมชาติ !!!
การมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นกระบวนการที่นำเอาความห่วงกังวลของสาธารณชน ความต้องการและค่านิยมผนวกเข้ไปกับการดำเนินการตัดสินใจของรัฐ กระบวนมีส่วนร่วมของสาธารณชนจึงเป็นสื่อกลางสองทาง มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีกว่าที่สาธาณชนโดยส่วนราชการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Public Participation in EIA)เป็นกิจกรรมที่จัดให้มีขึ้นในกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน ตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการสามารถเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น นำเสนอข้อมูล ข้อโต้แย้ง หรือข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
 
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Public participation in EIA) เป็นกิจกรรมที่จัดให้มีขึ้นในกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการสามารถเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น นำเสนอข้อมูล ข้อโต้แย้ง หรือข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบ
สิ่งแวดล้อม