เป็นอันปิดฉากการต่อสู้ระหว่างผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำระดับโลก ฟอร์ด (Ford) กับกลุ่มผู้บริโภคกว่า 300 ชีวิต

    เป็นอันปิดฉากการต่อสู้ระหว่างผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำระดับโลก ฟอร์ด (Ford) กับกลุ่มผู้บริโภคกว่า 300 ชีวิต ด้วยบทสรุปที่ปรากฏรอยยิ้มบนใบหน้าของเหล่าผู้บริโภค ภายหลังศาลแพ่งสั่งบริษัทฟอร์ด ชดใช้ค่าเสียหายแก่เหยื่อรถยนต์เป็นจำนวนเงิน 23 ล้านบาท

 

 

ปิดฉากคดี "ฟอร์ด" เปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการพิจารณาคดีแบบกลุ่ม

 

    เมื่อเวลา 10.00  วันที่ 21 ก.ย. 2561 ที่ห้องพิจารณา 1005 ชั้น 10 ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ถ.เจริญกรุง 63 นายโอภาส อนันตสมบูรณ์ อธิบดีอัยการผู้พิพากษาศาลแพ่งกรุงเทพใต้ นายรัฐวิชญ์ อนันตวิทยานนท์ เลขานุการศาลแพ่งกรุงเทพใต้ พร้อมองค์คณะ 3 คน อ่านคำพิพากษาคดีผู้บริโภค หมายเลขดำ ผบ.492/2560  ที่กลุ่มผู้ใช้รถยนต์ฟอร์ดรุ่นเฟียสต้าและรุ่นโฟกัส จำนวน 308 ราย ยื่นฟ้องบริษัท ฟอร์ด เซลส์ แอนด์เซอร์วิสแห่งประเทศไทย จำกัด จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในการสั่งผลิตและจำหน่ายรถยนต์ฟอร์ดในประเทศไทย เป็นจำเลยเรื่องสั่งผลิตและจำหน่ายรถยนต์ชำรุดบกพร่อง สินค้าไม่ปลอดภัย  ไม่ได้มาตรฐาน ไม่เป็นไปตามคำโฆษณา ทำให้ผู้บริโภคเสี่ยงอันตราย โดยเรียกค่าเสียหายตามราคารถยนต์ ค่าซ่อม ค่าขาดประโยชน์การใช้รถ ค่าเสียหายเชิงลงโทษ และค่าเสียหายต่อจิตใจ สำหรับสมาชิกร่วมฟ้องทั้ง 308 ราย รวมเป็นเงินค่าเสียหายที่เรียกร้องประมาณ 600 ล้านบาท

 

 

ปิดฉากคดี "ฟอร์ด" เปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการพิจารณาคดีแบบกลุ่ม

 

    ภายหลังศาลอ่านคำพิพากษาเสร็จสิ้น ในเวลา 11.15 มีคำสั่งให้จำเลยคือ ฟอร์ด ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์และสมาชิกกลุ่ม จำนวน 291 ราย ที่ได้รับความเสียหายโดยกำหนดค่าเสื่อมราคาจากการเข้าซ่อม และค่าขาดประโยชน์ในการใช้รถตามจำนวนวันที่เข้าซ่อม รายละตั้งแต่ 20,000 บาทเศษ - 200,000 บาทเศษ กับระดับความเสียหายของรถแต่ละคัน พร้อมชำระดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 นับแต่วันฟ้อง รวมการชดเชยเป็นเงินประมาณ 23 ล้านบาทเศษ และให้จำเลยชำระค่าทนายความแทนโจทก์ 1.5 แสนบาท พร้อมเงินรางวัลแก่ทนายความ 800,000 บาท ตามกฎหมายด้วย และให้บังคับคดีตามคำพิพากษาให้เสร็จภายใน 7 วัน ทว่าศาลให้ยกฟ้องผู้เสียหายจำนวน 12 ราย เนื่องจากมีการนำรถยนต์ไปดัดแปลงติดตั้งแก๊สหรือไม่เคยนำรถเข้าซ่อมเพื่อเปลี่ยนชุดคลัตช์และกล่องควบคุมเกียร์

    ต้นสายปลายเหตุของคดีในครั้งนี้ เริ่มจากมีผู้ใช้รถฟอร์ดเฟียสต้าบางรายพบว่ารถยนต์ของตนที่ซื้อมานั้น ไม่ได้มาตรฐาน เช่น เกิดไฟไหม้ห้องเครื่องและตัวรถ ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบคือ ระบบเกียร์และคลัทช์ ทำให้รถมีอาการสั่น กระตุก กระชาก เร่งไม่ขึ้น เครื่องร้อน ไม่ได้มาตรฐาน เช่น เกิดไฟไหม้ห้องเครื่องและตัวรถ มีเสียงดังผิดปกติ ปัญหารถยนต์เสื่อมสภาพ และชำรุดเสียหายเร็วกว่าปกติ เมื่อเทียบกับรถยนต์ยี่ห้ออื่นทั่วไปในท้องตลาด รวมถึงปัญหา พวงมาลัยเบรก สายพาน หม้อน้ำ โช๊ค และประตูที่ไม่สามารถปิดล็อกได้ แทบจะเรียกได้ว่ามีปัญหาแทบจะทุกส่วนประกอบในรถยนต์ เหล่านี้ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาความผิดพลาดที่มีต้นตอมาจากสายการผลิต แต่ผลกรรมกลับตกมาอยู่ที่บริโภค

 

 

 

    ทว่าก่อนหน้านี้การฟ้องคดีผู้บริโภคจะเป็นการฟ้องคดีแบบปัจเจกบุคคล ต่างคนต่างร้องเรียนต่อ สคบ. แต่ก็ยังไม่ได้รับความสนใจและไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด เป็นเหตุให้ในเวลาต่อมาผู้เสียหายจึงได้ทำการรวมกลุ่มกันในนาม "กลุ่มเหยื่อรถยนต์" เพราะปรากฏว่าผู้ใช้รถยนต์ฟอร์ดรุ่นเดียวกันในหลายประเทศ มีปัญหาแบบเดียวกัน และศาลต่างประเทศก็รับเป็นคดีแบบกลุ่ม

 

 

 

 

ปิดฉากคดี "ฟอร์ด" เปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการพิจารณาคดีแบบกลุ่ม  

 

    แน่นอนว่าการฟ้องร้องคดีแบบกลุ่มในลักษณะนี้ ย่อมมีพลังมากกว่าการพิจารณาแบบเดิมอีกทั้งยังช่วยปลุกกระแสสังคมให้เกิดความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับคดีนี้มากขึ้น อีกประการคือผลจากการพิจารณาจะครอบคลุมผู้บริโภคทั้งหมด รวมถึงผู้ที่ไม่ใช่โจทก์ยื่นฟ้องแต่แรกด้วย ที่สำคัญจะช่วยย่นระยะเวลาการสืบพยานให้สั้นลง เพราะไม่ต้องสืบทุกคนเหมือนการฟ้องคดีแบบเดี่ยว คดีครั้งนี้นับได้ว่าเป็นคดีแบบกลุ่มผู้บริโภคแรกๆ ของประเทศไทยที่พบผู้เสียหายเป็นจำนวนมาก และยังสร้างบทเรียนให้แก่กลุ่มผู้ผลิตตลอดจนผู้ประกอบการได้ตระหนักถึงความสำคัญในมาตรฐานของสินค้าก่อนจะตกมาถึงมือผู้บริโภค

    ถึงแม้ว่าบทสรุปของคดีนี้ไม่ถือว่าเป็นการบรรลุเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้แต่แรก เนื่องจากผู้เสียหายต้องการให้ทางฟอร์ดซื้อรถคืนแต่อย่างไรแล้วก็ถือว่าการปฏิบัติการ "เชิงรุก"  ในครั้งนี้ก็ได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพึงพอใจในระดับหนึ่ง แน่นอนว่ายังมีกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ในยี่ห้อที่แตกต่างกันไปอีกจำนวนไม่น้อยที่กำลังประสบปัญหาในทำนองนี้ แต่ยังไม่มีความคืบหน้าในรูปคดี

 

    ทว่าคดีนี้ได้เป็นเสมือนการนำร่องในการสร้างบรรทัดฐานการพิจาณาคดี รวมถึงแนวทางปฏิบัติให้แก่ผู้บริโภคเพื่อรักษาไว้ซึ่งสิทธิ์ที่ตนพึงมี วิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดในเวลานี้อาจไม่ใช่มุ่งหน้าเข้าร้องเรียน สคบ. แต่เพียงอย่างเดียว แต่ควรจะเป็นการรวมกลุ่มเพื่อเร่งนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการทางกฏหมายต่อไป

 

 

ปิดฉากคดี "ฟอร์ด" เปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการพิจารณาคดีแบบกลุ่ม

 

 

ปิดฉากคดี "ฟอร์ด" เปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการพิจารณาคดีแบบกลุ่ม

ขอบคุณคลิปจากเฟสบุ๊ก เหยื่อรถยนต์