สรรพากรยิ้มร่า เก็บภาษีแรกปีงบประมาณ 62 ทะลุเป้า เปิดแผนรุกหนักใช้ระบบดิจิทัลเชื่อมข้อมูลทั่วถึงตั้งเป้า 2 ล้านล้านบาท

วันนี้ 7 พ.ย. 2561 นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เผยข้อมูลหลังจากประชุมผู้บริหารกระทรวงการคลัง ระบุว่า มีการรายงานแผนจัดเก็บรายได้และรายจ่ายของกรมฯ ให้นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง ได้รับทราบ

สรรพากรยิ้มร่า เก็บภาษีแรกปีงบประมาณ 62 ทะลุเป้า เปิดแผนรุกหนักใช้ระบบดิจิทัลเชื่อมข้อมูลทั่วถึงตั้งเป้า 2 ล้านล้านบาท

 

 

    วันนี้ 7 พ.ย. 2561 นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เผยข้อมูลหลังจากประชุมผู้บริหารกระทรวงการคลัง ระบุว่า มีการรายงานแผนจัดเก็บรายได้และรายจ่ายของกรมฯ ให้นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง ได้รับทราบ โดยเดือนแรกของการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรประจำปีงบประมาณ 2562 ทะลุเป้าหมายถึง 4.7%  มากกว่าปี 2561 จำนวน 83,912 ล้านบาท ซึ่งมาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ทั้งจากการบริโภคภายในประเทศและจากการนำเข้า และยืนยันว่าตลอดปีจะสามารถเก็บได้กว่า 2 ล้านล้านบาท
 

 

    ทั้งนี้ตามแผนการจัดเก็บภาษีจะเน้นการนำระบบดิจิทัลมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บภาษี และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ด้วยวิธีเชื่อมโยงข้อมูล งบการเงินกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นข้อมูลการเงินเดียวกัน รวมถึงข้อมูลการลดหย่อนภาษี ซึ่งในอนาคตอันใกล้จะมีการเชื่อมโยงข้อมูลกับสมาคมประกันชีวิตไทย ในการส่งข้อมูลการทำประกันชีวิตที่ใช้ในการลดหย่อนภาษี รวมถึงข้อมูลการเป็นสมาชิกผ่านกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เพื่อเป็นการลดภาระและระยะเวลาการตรวจสอบจากการใช้ใบอนุโมทนามาใช้เป็นหลักฐาน เพราะมีความยุ่งยากและซับซ้อน

 

    นอกจากนี้กรมสรรพากรยังยืนยันให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีสำหรับมาตรการลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดาในการซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF จนถึงปี 2562 ตามมาตรการของคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนเช่นเดิม และพร้อมพิจารณามาตรการใหม่ของทางสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เกี่ยวกับการออกโครงการสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้กับการลงทุนอื่นเป็นการทดแทน ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการนำเสนอแต่อย่างใด

 

สรรพากรยิ้มร่า เก็บภาษีแรกปีงบประมาณ 62 ทะลุเป้า เปิดแผนรุกหนักใช้ระบบดิจิทัลเชื่อมข้อมูลทั่วถึงตั้งเป้า 2 ล้านล้านบาท

 

 

สรรพากรยิ้มร่า เก็บภาษีแรกปีงบประมาณ 62 ทะลุเป้า เปิดแผนรุกหนักใช้ระบบดิจิทัลเชื่อมข้อมูลทั่วถึงตั้งเป้า 2 ล้านล้านบาท

    นายเอกนิติ กล่าวว่า กรมสรรพากรเป็นกรมแรกๆ ที่ยกเลิกใช้สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน ซึ่งก็ได้เล่าให้ที่ประชุมฟังถึงแผนดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น โดยตอนนี้สิ่งที่เราทำไปแล้ว คือ เชื่อมโยงข้อมูลงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กับกรมสรรพากร ตรงนี้ก็จะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน

 

    ส่วนการยื่นอุทธรณ์เกี่ยวกับการขออนุมัติเป็นตัวแทนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรในเมือง (Downtown VAT Refund for Tourists) ของทางสมาคมผู้ค้าปลีกไทยนั้น ได้มีการยื่นเรื่องเข้ามาตั้งแต่วันที่ 22 ต.ค. 2561 ตอนนี้ได้มอบหมายให้ฝ่ายกฏหมายพิจารณา ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุป ทั้งนี้ การพิจารณาอุทธรณ์มีเวลา 30 วัน

 

    สำหรับการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือแวตนั้นยังไม่มีความจำเป็นต้องขึ้นภาษีในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวได้ดี โดยการเพิ่มภาษีแวตจะทำเมื่อมีปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจและเศรษฐกิจมีความร้อนแรงมากเกินไปเท่านั้น 
 

 

    ด้านกฏหมายทางกรมฯ มีการแก้กฎหมายขยายฐานภาษี เช่น การเก็บภาษีอี-คอมเมิร์ซ เพื่อเป็นการสร้างความเท่าเทียมในกลุ่มผู้ประกอบการโดยจะมีการเก็บภาษีจากผู้ประกอบการต่างประเทศที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทยแต่ไม่เสียภาษี เช่นเดียวกับผู้ประกอบการในประเทศ

 

 

สรรพากรยิ้มร่า เก็บภาษีแรกปีงบประมาณ 62 ทะลุเป้า เปิดแผนรุกหนักใช้ระบบดิจิทัลเชื่อมข้อมูลทั่วถึงตั้งเป้า 2 ล้านล้านบาท

    อย่างไรก็ตามกรมสรรพากรยังคงต้องเร่งเก็บภาษีคงค้างที่มีอยู่มากกว่า 1 แสนล้านบาท ให้รวดเร็วขึ้น โดยให้วิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อให้เก็บภาษีคงค้างได้รวดเร็วมากขึ้น พร้อมทั้งเร่งประชาสัมพันธ์ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจให้ทำบัญชีเดียว ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งที่ทำให้การเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น โดยในปี 2562 หากประสงค์จะขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน จะต้องใช้บัญชีที่ยื่นกับกรมสรรพากรเท่านั้น
 

 

    แผนการดำเนินงานนั้น กรมสรรพากรได้ทำการปรับเปลี่ยนตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการเป็นกรมสรรพากรดิจิทัล หรือ Digital RD ได้ภายในปี 2563 โดยจะเริ่มจากการยื่นแบบแสดงรายการในระบบดิจิทัล เช่น การนำระบบ e-Filing มาใช้งาน การยื่นแบบแสดงรายการในระบบอิเล็กทรอนิกส์ และนำระบบ e-Tax Invoice และ e-Receipt มาใช้เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว

 

 

สรรพากรยิ้มร่า เก็บภาษีแรกปีงบประมาณ 62 ทะลุเป้า เปิดแผนรุกหนักใช้ระบบดิจิทัลเชื่อมข้อมูลทั่วถึงตั้งเป้า 2 ล้านล้านบาท