ชนเสาก่อนเทคออฟ ย้อนดูเหตุเคยเกิดเที่ยวบินมรณะ "ไลอ้อนแอร์" ทำระทึกต่อเนื่อง ถามหามาตรฐานความปลอดภัย

สืบเนื่องจากอุบัติเหตุสลด เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2561 ที่ผ่านมา กรณีเครื่องบินโบอิ้ง 737 เที่ยวบิน JT-610 ของ สายการบินไลอ้อนแอร์ ที่มีเส้นทางการบินจากกรุงจาการ์ตา ไปยังเมืองปังกัล ปีนัง เมืองใหญ่บนเกาะบังกา เบลิตุ

ชนเสาก่อนเทคออฟ ย้อนดูเหตุเคยเกิดเที่ยวบินมรณะ "ไลอ้อนแอร์" ทำระทึกต่อเนื่อง ถามหามาตรฐานความปลอดภัย

 

    สืบเนื่องจากอุบัติเหตุสลด เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2561 ที่ผ่านมา กรณีเครื่องบินโบอิ้ง 737 เที่ยวบิน JT-610 ของ สายการบินไลอ้อนแอร์ ที่มีเส้นทางการบินจากกรุงจาการ์ตา ไปยังเมืองปังกัล ปีนัง เมืองใหญ่บนเกาะบังกา เบลิตุ ได้เกิดเหตุข้องตกทะเลนอกชายฝั่งเกาะสุมาตรา จากปฏิบัติการกู้ภัยมาเป็นเวลามากว่าสัปดาห์ จากเศษซากเครื่องที่พบทำให้ผู้เชี่ยวชาญสามารถสรุปได้ว่า
 

 

    เครื่องยนต์ยังทำงาน ขณะดิ่งลงทะเลชวาด้วยความเร็วสูง ก่อนที่จะปะทะผิวน้ำอย่างรุนแรงจนแตกออกเป็นเสี่ยง ผิดกับที่สันนิษฐานไว้ในเบื้องต้นว่าสาเหตุน่าจะมาจากหักกลางอากาศเพราะความล้าของโลหะ แต่จากรูปการณ์สามารถยืนยันได้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น ขณะนี้ยังไม่พบกล่องดำที่บันทึกการสนทนาของนักบินที่อาจเป็นกุญแจไขปริศนาทั้งหมดว่าเกิดอะไรขึ้นก่อนที่เครื่องจะตก อย่างไรก็ตามจะมีการเปิดเผย ผลสอบสวนเบื้องต้นใน 1 เดือน ส่วนรายงานฉบับสมบูรณ์อาจจะต้องใช้เวลาราว 6 เดือน ด้านรายงานผู้เสียชีวิตขณะนี้สามารถเก็บกู้ศพได้ 138 ราย แต่ระบุอัตลักษณ์บุคคลได้เพียง 14 รายเท่านั้น
 

 

    เรียกได้ว่าสาเหตุของโศกนาฏกรรมยังไม่ทันจะคลี่คลาย แต่ล่าสุด 8 พ.ย. 2561 ได้เกิดเหตุระทึกขวัญขึ้นอีกครั้ง เมื่อมีรายงานว่าสายการบินไลอ้อนแอร์โบอิ้ง 737-900ER เที่ยวบินที่ JT633 เกิดอุบัติเหตุปลายปีกชนเสาไฟจนเกิดความเสียหาย เหตุเกิดภายในสนามบินบันดารา ฟัทมาวาตี เมืองเบงกูลู อินโดนีเซีย ทั้งนี้มีรายงานเพิ่มเติมว่าเที่ยวบินดังกล่าว มีผู้โดยสารบนเครื่องทั้งหมด 143 คนและลูกเรืออีก 7 คน อย่างไรก็ตามทางไลอ้อนแอร์ได้ส่งเครื่องบินอีกลำบินมารับผู้โดยสารที่ตกค้าง เดินทางไปยังจุดหมายปลายทางเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

ชนเสาก่อนเทคออฟ ย้อนดูเหตุเคยเกิดเที่ยวบินมรณะ "ไลอ้อนแอร์" ทำระทึกต่อเนื่อง ถามหามาตรฐานความปลอดภัย

 

 

ชนเสาก่อนเทคออฟ ย้อนดูเหตุเคยเกิดเที่ยวบินมรณะ "ไลอ้อนแอร์" ทำระทึกต่อเนื่อง ถามหามาตรฐานความปลอดภัย

    เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันทำให้เกิดการตั้งคำถามไปยังสายการบินไลอ้อนแอร์ถึงมาตรฐานความปลอดภัย และต้นตอของปัญหาที่มาจากเครื่องบินหรือบุคลากรการบิน แต่เมื่อตรวจสอบกลับพบว่าสายการบินไลอ้อนแอร์ซึ่งเป็นสายการบินราคาประหยัดประสบปัญหาด้านความปลอดภัยต่อเนื่องในช่วงหลายปีมานี้ 
 

 

    ย้อนกลับไปเมื่อปี 2556 เครื่องบินโดยสารโบอิ้ง 737 ลำใหม่เอี่ยมที่เพิ่งจะถูกนำมาประจำการกำลังร่อนลงจอดในสนามบินเมืองเดนปาซาร์ของเกาะบาหลี เกิดพลาดไม่ได้แตะพื้นรันเวย์ แต่กลับตกลงทะเลข้างๆ สนามบินทำให้ลำตัวหักกลาง จนผู้โดยสารต้องว่ายน้ำกลับเข้าฝั่งกันตามยะถากรรม แต่นับว่าเป็นความโชคดีที่ไม่มีผู้ใดเสียชีวิต มีเพียงรายงานถึงผู้บาดเจ็บประมาณ 40 คน โดยมีทั้งผู้ที่ขาหัก ศีรษะแตก และอาการตกใจจนช็อก

 

 

ชนเสาก่อนเทคออฟ ย้อนดูเหตุเคยเกิดเที่ยวบินมรณะ "ไลอ้อนแอร์" ทำระทึกต่อเนื่อง ถามหามาตรฐานความปลอดภัย  
 
    ต่อมาในปี 2559 เหตุเกิดขึ้นในประเทศไทย เมื่อสายการบิน ไทย ไลอ้อนแอร์ เส้นทางเชียงราย-ดอนเมือง ลงจอดฉุกเฉินที่สนามบินเชียงใหม่ หลังระบบความดันอากาศในตัวเครื่องเกิดขัดข้อง หลังจากนำเครื่องขึ้นไปได้เพียง 20 นาที ทำให้ผู้โดยสารหายใจลำบาก เป็นลม 2 คน โดยทางสายการบินยืนยันว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นเรื่องปกติของการบินเพราะนักบินได้มีการวางแผนการบินอยู่แล้ว หากเครื่องบินมีปัญหาก็สามารถขอลงได้ฉุกเฉิน ยังสนามบินที่ใกล้เคียงได้ตลอดเวลา

    และในปีเดียวกัน เครื่องบินโดยสารโบอิ้ง 737 ของสายการบินบาติกแอร์ ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัทไลออนแอร์ ที่กำลังจะทะยานขึ้นจากสนามบินฮาลิม เปอร์ดานากุสุมา ทว่าปีกของเครื่องบินได้ไปเกี่ยวกับหางของเครื่องบินอีกลำหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่า และกำลังถูกลากออกไปจากรันเวย์ เป็นเหตุให้ปีกของเครื่องบินโบอิ้งของสายการบินบาติก แอร์ เกิดไฟลุกไหม้ ทำให้พนักงานดับเพลิงต้องรีบระงับเหตุเพลิงไหม้อย่างเร่งด่วน ขณะที่มีรถพยาบาลหลายคันเตรียมพร้อมสำหรับนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล ต่อมาทางการได้ออกแถลงว่าผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมดลงจากเครื่องบินได้อย่างปลอดภัย โดยไม่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต

 

 

ชนเสาก่อนเทคออฟ ย้อนดูเหตุเคยเกิดเที่ยวบินมรณะ "ไลอ้อนแอร์" ทำระทึกต่อเนื่อง ถามหามาตรฐานความปลอดภัย

 

    อย่างไรก็ตามทางสายการบินก็ได้พัฒนามาตรฐานความปลอดภัยมาโดยตลอดอย่างที่ออกมาชี้แจงหลังเกิดอุบัติเหตุทุกครั้ง แต่จะเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่เพราะสองเหตุการณ์ล่าสุดที่เพิ่งเกิดขึ้นย่อมกระทบต่อความน่าเชื่อถือของสายการบินไลอ้อนแอร์อย่างแน่นอน ส่วนผลสอบสวนและรายงานนฉบับสมบูรณ์ของ เที่ยวบิน JT-610 อาจจะต้องใช้เวลาราว 6 เดือน บทสรุปจะเป็นอย่างไรนั้นต้องติดตามกันต่อไป